25 มีนาคม 2568 นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อและในฐานะรองหัวหน้าพรรคประชาชน กล่าว ภายหลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี ที่ซื้อหุ้นต่อมาจากมารดาและเครือญาติรวม 5 ราย ในรูปแบบ "ตั๋วสัญญาใช้เงิน" หรือ "ตั๋ว PN" มูลค่า 4.4 พันล้านบาท โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าเป็นช่องโหว่ทางกฎหมาย เลี่ยงมิให้มารดาและเครือญาติต้องจ่ายภาษีกว่า 218 ล้านบาท ว่า ประชาชนยังรอฟังคำตอบจาก นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ยอมรับว่า ได้มีการซื้อตั๋วสัญญา PN จริง และจะมีการจ่ายเงินภาษีในปีหน้า หากตนไม่ออกมาเปิดเผยจะมีการชำระหรือไม่
นอกจากนี้ประชาชนยังรอคำตอบจากอธิบดีกรมสรรพากร ว่า เป็นเรื่องปกติของคนในแวดวงธุรกิจที่ทำกันอย่างที่นายกรัฐมนตรีกล่าวอ้างหรือไม่ และหากเป็นเรื่องปกติขอให้คนที่ทำเช่นนี้ช่วยแสดงตัว แต่จากการที่ตนสอบถามไม่มีใครแสดงตัว โดยให้เหตุผลว่า กลัวสรรพากร จึงเป็นที่มาของคำถามว่าของแพทองธาร นำ ตั๋ว PN และที่ไม่มีกำหนดวันจ่ายและดอกเบี้ย แลกกับหุ้นบริษัท ของคนในกงสี เป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่เหตุใดจึงไม่กล้าแสดงตัว ทำไมถึงกลายเป็นนิรนาม
เป็นสิ่งที่ นายปิ่นสาย สุรัสวดี อธิบดีกรมสรรพากรต้องตอบ ว่า พฤติกรรมของนางสาวแพรทอง ทำได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันมีเจ้าของห้างร้านจำนวนมาก จะโอนหุ้นในทรัพย์สินให้กับลูกจะได้ยึดโมเดลแพทองธาร ตนยังรอความชัดเจน จากอธิบดีกรมสรรพากร ว่าจะมีระเบียบ ออกมาชี้แจงที่ชัดเจนหรือไม่ เพื่อให้การจัดเก็บภาษี การรับ- ให้ อัตรา 5% เสมอภาคทั้งประเทศ
นายวิโรจน์ ยังกล่าวอีกว่า ทราบว่ามีสื่อมวลชนพยายามติดต่ออธิบดีกรมสรรพากร เพื่อขอความชัดเจนในเรื่องนี้ แต่ยังไม่มีความเห็นในเรื่องดังกล่าว
ทั้งนี้ นายวิโรจน์ ยังยกคำพิพากษาของศาลฎีกา ถ้าใช้ ตั๋ว PN ในลักษณะเช่นนี้จำแลง การซื้อขายที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ตามเจตนา มีความผิดตามกฎหมาย สามารถเทียบเคียงเอาผิดด้านจริยธรรมของนายกรัฐมนตรีได้ เจตนารมณ์ "ภาษีรับให้" เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับการรกระทำแบบนางสาวแพทองธารใช่หรือไม่
คนที่ตอบได้ดีที่สุดคือ อธิบดีกรมสรรพากร และตนจะไปยื่นเรื่องกับอธิบดีกรมสรรพากรในเร็วๆนี้ หากเรายอมรับว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องปกติ จะมีผลกระทบการจัดเก็บภาษีของประเทศ ซึ่งคน ที่เป็นระดับผู้นำของประเทศ ควรทำพฤติกรรมเช่นนี้หรือไม่ และมองว่า พฤติกรรมเช่นนี้ไม่ควรจะเกิดกับใครทั้งสิ้น ประชาชนควรได้รับความเสมอภาค ในการบังคับใช้กฎหมาย