โดยวันนี มีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 89 ราย และพบผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มอีก 104 ราย รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,875 จำแนกเป็น กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 60 ราย มีรายละเอียด ประกอบด้วยสนามมวย 1 ราย, สถานบันเทิง 10 ราย, พิธีกรรมทางศาสนา ประเทศอินโดนีเซีย 8 ราย, เป็นผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 41 ราย
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 36 ราย แบ่งเป็น เดินทางจากต่างประเทศ/ชาวต่างชาติ 14 ราย (เป็นคนไทย 11 ราย /ต่างชาติ 3 ราย), สัมผัสผู้เดินทางจากต่างประเทศ 2 ราย, ไปสถานที่ชุมชน 1 ราย, อาชีพเสี่ยง 8 ราย, บุคลากรทางการแพทย์ 2 ราย (สะสม 27 ราย) และ อื่น ๆ 9 ราย
กลุ่มที่ 3 ได้รับผล lab ยืนยันพบเชื้อ อยู่ระหว่างรอประวัติและสอบสวนโรค 8 ราย
ล่าสุด มีผู้ป่วยอาการรุนแรง จำนวน 23 ราย อาการอยู่ในภาวะวิกฤต ต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด และได้รับรายงานผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่ม 3 ราย รายที่ 1 เป็น ชายไทย อายุ 57 ปี มีประวัติเดินทางจากสุไหงโกลก ไปปากีสถาน เสียชีวิตวันที่ 31 มีนาคม 2563 ผลการตรวจหลังเสียชีวิตพบติดเชื้อโควิด-19 และ รายที่ 2 เป็นชายไทย อายุ 77 ปี มีประวัติเป็นผู้สัมผัสของผู้ป่วยยืนยัน เข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลยะลัง จังหวัดปัตตานี ด้วยอาการไข้ ไอ เจ็บคอ เสียชีวิตวันที่ 31 มีนาคม 2563 ส่วนรายที่ 3 เป็นชายไทย อายุ 55 ปี อาชีพขับรถสาธารณะ เข้ารับรักษาที่โรงพยาบาลราชวิถี เสียชีวิตวันที่ 1 เมษายน 2563 โดยสรุปวันนี้ มีผู้ป่วยกลับบ้านแล้ว 505 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 1,355 ราย เสียชีวิตรวม 15 ราย
ด้านนพ.โสภณ เปิดเผยว่า จากตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นว่า จำนวนผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มสนามมวยมีแนวโน้มลดลง เบื้องต้น เชื่อว่า สถานการณ์ของผู้ป่วยกลุ่มนี้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ นอกจากนี้ยังพบว่าสัดส่วนของผู้ป่วย ปัจจุบัน เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่กทม. และ ต่างจังหวัด แต่การเพิ่มขึ้นก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ
รศ. พิเศษ นพ. ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ระบุว่า สถานการณ์โควิด-19 ปัจจุบัน ยอดจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อทั่วโลกทะลุไปไกลมาก แบ่งเป็น2กลุ่มหลัก คือ กลุ่มยุโรป อเมริกา ที่ตอนนี้เป็นผู้ป่วยหลักไปแล้ว กับอีกส่วน กลุ่มคนเอเชีย ที่ตอนนี้ อยู่ในระดับผู้ป่วยหลักพัน
เมื่อวิเคราะห์สภาพตอนนี้ ระหว่าง กลุ่มยุโรป อเมริกา มีความแตกต่างอย่างมากกับประเทศไทย เนื่องจาก ชาวต่างชาติ พฤติกรรมไม่ค่อยเชื้อเรื่องการใส่หน้ากากอนามัยฯ โดยจะใส่ต่อเมื่อป่วย แต่พฤติกรรมของคนไทย มีการใส่หน้ากากอนามัยฯ เกือบร้อยละ90 และมีการตั้งดจลแอลกอฮอล์ตามสถานที่ต่างๆ และการณรงค์ให้ล้างมือบ่อยๆ ซึ่ง 2 จุดสำคัญนี้ ที่ประเทศไทยรณรงค์ ทำให้ระดับผู้ป่วยขยับไปเรื่อยๆ ไม่ได้พุ่งสูงแบบก้าวกระโดด
และอยากจะฝากย้ำ ประชาชนในมาตรการป้องกันตัวเองที่ยังคงต้องเข้มข้นอยู่ เช่น การใส่หน้ากากอนามัยฯ การล้างมือ เช่น เมื่อ เข้าบ้าน ให้ล้างมือทันที อาบน้ำ ถ้าวันไหนเราออกไปเจอคนเยอะๆ ไปหลายสถานที่ กลับบ้านให้รีบ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที
นพ. ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค ระบุเพิ่มเติมว่าในช่วง 3เดือนกว่าที่ผ่าน เราได้ข้อมูลการเจ็บป่วยของผู้ป่วยเพิ่มขึ้น โดยผู้ป่วยด้วยโรคนี้ วันแรก ร้อยละ31 จะไม่มีไข้อะไรเลย แต่เมื่อเชื่อเริ่มลงปอด จะเริ่มมีไข้ ไอ ซึ่งจุดนี้เอง จะสามารถตรวจจากการอาการไข้ได้
ส่วนกรณี ผู้ป่วยที่เสียชีวิตรายนี้บนรถไฟ เบื้องต้น ไม่มีไข้จริงๆ ผ่านทุกด่านมาได้ ตอนไปซื้อตั๋วยังเดินได้ ขณะอยู่บนรถไฟ มีไอบ้าง ระหว่างทาง มีอาการอาเจียนร่วมด้วย เริ่มเหนื่อย จากการประเมิน ไม่น่าใช่จาการติดเชื้อที่ปอดเป็นหลัก หากการตายปุปปัป จะเดินแบบนี้ไม่ได้ เมื่อหลังเสียชีวิต ผลตรวจพบเชื้อไวรัส ค่อนข้างสูง แต่การเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน จากการประเมินเบื้องต้น เหมือนกับว่า มีโรคหัวใจด้วย ผู้เสียชีวิต มีประวัติ เบาหวาน มีการฉีดยาเพื่อคุมระดับน้ำตาล ซึ่งถือว่าหนัก รวมถึงอาจจะมาจากการคุมน้ำตาลได้ไม่ดีส่วนโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัวสูงสุดของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โดยเบาหวานเป็นโรคที่มีอายุยืนยาว อยู่ที่ผู้ป่วย แต่ละราย จะควบคุมน้ำตาลในร่างกายให้ดีแต่ไหน โดยถือเป็นโรคหนึ่งที่ทำให้ภูมิในร่างกายลดลง
ทั้งนี้ จาการอ่านรายงานทางการแพทย์ หากป่วยอาการหนักด้วยโควิด-19 ต้องใช้เวลาหลายวัน ก่อนที่จะเสียชีวิต / กรณีผู้เสียชีวิตรายนี้ ประวัต มีโรคประจำตัวร่วมด้วย อาจจะเป็นส่วนหนึ่งในการทำเสียชีวิตเฉียบพลัน
ขณะนี้ สถานการณ์โควิด-19 ที่เราพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้น เราเดินมาถึงจุดที่ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ เหมือนกับหลายประเทศ มีการใช้ซ้ำแน่นอน ตอนนี้ทาง รพ.รามาธิบดี มีการศึกษาวิจัย การใช้ซ้ำของอุปกรณ์ป้องกัน ในการ ฉายเครื่องUV ซึ่งอยู่ระหว่างการรอผลทดสอบ คาดว่าสัปดาห์หน้าจะชัดเจน
ในส่วนที่บุคลากรทางการแพทย์ ใส่ชุดกันฝนในการดูแลผู้ป่วย เบื้องต้นป้องกันได้แต่ไม่ทั้งหมด ย้อนไป เมื่อ13ปีแล้ว ตอนเกิด ไข้หวัดนก มีการใช้เหมือนกัน เพียงแต่ต้องรวบชุดให้เรียบร้อยรัดกุม แต่ตามหลักมาตรฐานในการป้องกันเชื้อโรคถือว่าต่ำมาก โดยชุดป้องกันเชื้อโรค ยังคงต้องเป็นชุด PPE