26 มีนาคม 2568 สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมาก กรณี น.ส.กัญจน์รัตน์ หรือ พี่ไก่ หญิงบ้านโป่ง ทุ่มเงินกว่า 6 ล้านบาท เพื่อโคลนนิ่ง “พะแพง” สุนัขพันธุ์เฟรนช์บูลด็อก ที่เธอรักและผูกพันเหมือนลูก ให้กลับมาอยู่ด้วยกันอีกครั้ง ซึ่ง “พะแพง” เป็นสุนัขโคลนนิ่ง ที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรมตัวแรกของประเทศไทย
ภายหลังเรื่องราวสุดฮีลใจนี้ได้รับการเปิดเผย ผู้สื่อข่าว เนชั่นทีวี ได้ไปคุยกับ สัตวแพทย์ ศุภเสกข์ ศรจิตติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสัตว์คริสตัลเพ็ท สัตวแพทย์ที่สามารถโคลนนิ่งสุนัขได้เป็นรายแรกของไทย ได้รับการเปิดเผยว่า "พะเเพง" เป็นสุนัขตัวเเรกที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม เป็นสุนัขตัวเเรกที่ใช้เทคนิคตัดต่อยีนส์
แตกต่างกับในช่วง 6-7 ปี ที่ผ่านมา ที่ไม่มีการตัดต่อยีนส์ โดยที่ผ่านมาจะใช้กระบวนการการเดียวกันในเกาหลีใต้ ตัดชิ้นส่วนผิวหนัง ใบหู ของสุนัขที่ตายไม่เกิน 5 วัน แช่ไว้อุณหภูมิติดลบ กว่า 160 องศาเซลเซียส นำเซลล์ฝากไว้กับเเม่สุนัขอุ้มบุญ เเต่เจ้า "พะแพง" เป็นการโคลนนิ่งที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม
โดยเจ้า "พะเเพง" ต้องทำถึง 7 ครั้ง เกิดมา 7 ตัว ตัวนี้ประสบความสำเร็จตัวที่ 8 สำหรับนิสัยใจคอของสุนัขที่ได้ เป็นการรับรู้มาตั้งเเต่ต้น เจ้าของเก่าทุกคนจะบอกว่า เขามีความรู้สึกเหมือนเดิมทุกประการ มีพฤติกรรมเหมือนเดิมทุกประการ เช่นเดียวกับพะเเพง ไปเจอคนชาติที่เเล้วไม่ชอบ กลับมาชาตินี้ก็ไม่ชอบ
พะแพง สุนัขโคลนนิ่งตัวแรกของไทย
สำหรับการโคลนิ่ง ตนไม่ได้ดำเนินการเเต่เพียงผู้เดียว 100% เเต่เป็นการร่วมมือกับสัตวเเพทย์ในเกาหลีใต้ "ดร.หวัง" เเต่ปัจจุบัน ดร.หวัง ย้ายไปอยู่ที่ UAE สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ในเเต่ละปีจะมีผู้ที่ติดต่อโคลนนิ่ง 3-4 ตัว
ปัจจุบันความต้องการยังเท่าเดิม เพราะค่าใช้จ่ายค่อนข้างเเพง เเต่ด้วยราคาของเขา หากไม่มีการตัดต่อยีนส์ จะอยู่ที่ 1 เเสนดอลลาร์สหรัฐฯ เเต่หากทำในจีน ราคาจะอยู่ 50,000 ดอลลาร์ เเต่ของ “พะเเพง” ที่ราคาสูง 6 ล้าน เพราะทำหลายครั้ง ทำเเล้วไม่ได้เสียที จึงต้องขอเก็บค่าตัดต่อยีนส์ เเต่หากเป็นสมัยก่อน จะอยู่ที่ 3.5 ล้านบาท
สำหรับความรู้สึกของผู้ที่ทำโคลนนิ่ง เวลาได้เห็นเจ้าของสุนัข ได้สุนัขกลับมาเหมือนเดิม ทุกคนจะมีความรู้สึกที่ดีมาก ได้เห็นสุนัขตัวเดิมเขากลับมา มันเหมือนเดิมทุกประการ เช่น “พะเเพง” พากลับมาจากต่างประเทศพร้อมกัน เเต่เขามีความทรงจำทุกอย่าง เขารู้ว่าที่เขากลับมาคือบ้านเขา ไปกินน้ำห้องเดิม ไม่เข้าห้องนั้น ห้องนี้ ไม่มีความตื่นตระหนกใดใดทั้งสิ้น
สัตวแพทย์ ศุภเสกข์ มองว่า ในอนาคตเทคโนโลยีการโคลนนิ่ง มีโอกาสที่ราคาจะปรับลดลงได้อีก เเต่ที่ UAE สาเหตุที่เขาไม่ปรับลดราคา เพราะไม่ได้ต้องการเเข่งกับใคร เพราะเขามั่นใจ ตอนนี้ในหลายประเทศมีการทำโคลนนิ่ง ราคาค่อนข้างต่ำ มองว่าการทำโคลนิ่ง เป็นทางผ่านในการตัดต่อยีนส์ ในการพัฒนาให้สัตว์ต่างๆ ในอนาคต ไม่ได้มองว่าการโคลนนิ่งคือความสุข เเต่มองว่าการโคลนนิ่ง คือการพัฒนาเทคโนโลยี
พะแพง ร่างต้นแบบ
สัตวแพทย์ ศุภเสกข์ กล่าวอีกว่า ในส่วน พะเเพง สุนัขของ คุณไก่ ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน เเต่มีการติดต่อเข้ามาโดยตรงภายหลัง พะเเพง เสียชีวิต ถามว่าจะทำโคลนนิ่งให้ได้ไหม สำหรับการโคลนนิ่งส่วนตัวมองว่า เป็นทางเลือก ที่ช่วยบรรเทาจิตใจ สำหรับผู้ที่มีกำลังทรัพย์ที่จะจ่าย คนเรามีความชอบ ทางออกที่ไม่เหมือนกัน เพราะการซื้อรถเบนซ์คันนึง 5 ล้านบาท ซื้อสุนัขตัวนึง 4-5 ล้านบาท อยู่ได้นานกว่ารถ
ในส่วนของตนเอง ก็เลี้ยงสุนัข เพราะมีสุนัขจรจัด ที่เลี้ยงไว้ในโรงพยาบาล 30 ตัว เเต่ตัวที่รักมาก คือ อย่างเจ้า "บุฟฟี่" ที่จะอยู่ด้วยกัน 24 ชม. เวลาทำงานก็จะมานอนเฝ้า ตอนนี้อายุ 9 ขวบ ถ้าเป็นคนก็อายุ 50-60 ปี เเล้ว
นักข่าวถามว่า หากเจ้า "บุฟฟี่" เสียชีวิต จะทำโคลนิ่งไหม นายสัตวเเพทย์บอกว่า ขอคิดนิดนึง เพราะตนเองก็อายุเยอะเเล้ว ถ้าเขาตายอีก 2 ปีข้างหน้า ตนเองก็จะอายุ 50 ปี เเต่เขาตายครั้งหน้า ตนเองจะยังมีชีวิตอยู่หรือเปล่า เเต่ถ้ายังคิดว่าเราสามารถที่จะดูเเลเขาต่อได้ ก็คิดว่าจะทำโคลนิ่งเขา ส่วนการจะหาตัวใหม่มาเลี้ยง จะดีกว่าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความพอใจของเเต่บุคคล เเต่ตนกับสุนัขรักอยู่ด้วยกัน 24 ชั่วโมง ถ้าเราขาดเขา เราก็มีความรู้สึกอย่างหนึ่ง เเต่ถ้าเราได้เขากลับมาไม่ต้องสอนอะไรทั้งสิ้น เขาจะเหมือนเดิมทุกประการ
ขณะที่ ผศ.สพ.ญ.ดร.จันทร์จิรา ภวภูตานนท์ อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกสัตว์เลี้ยง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ให้ข้อมูลว่า การโคลนิ่งมีมานานเเล้วประมาณ 27 ปี นับตั้งเเต่มีการโคลนนิ่ง "แกะดอลลี่" หลังจากนั้นก็มีการโคลนนิ่งมาเรื่อยๆ ซึ่งเเมวเป็นสัตว์ เป็นสัตว์เลี้ยงชนิดเเรก ที่มีการโคลนิ่ง ในปี 2002 จากนั้นมีการโคลนนิ่ง สุนัข สำเร็จในปี 2005
โดยกระบวนการโคลนนิ่งจะต่างจากการผสมพันธ์ตามธรรมชาติ ใช้ไข่กับ สเปิร์ม ผสมพันธ์กัน เเต่การโคลนิ่งใช้เซลล์ร่างกายที่โตเต็มวัยเเล้ว มีการไข่ฝากในส่วน DNA กระบวนการโคลนนิ่งเอาดีเอ็นเอ ในส่วนนิวเคลียสไปใช้ โคลนนิ่ง เก็บจากไข่ของสุนัข เอาส่วนนิวเคลียสของไข่ออก เเล้วใส่ ดีเอ็นเอ ของตัวตัวที่เราต้องการโคลนนิ่งเข้าไปเเทน กระตุ้นให้เซลล์เข้าไปอยู่ข้างในเเล้วเกิดการเเบ่งตัว เเล้วนำตัวอ่อนไปฝากอีกที
ส่วนการโคลนนิ่งของ "พะเเพง" ที่เป็นการตัดต่อพันธุกรรม เป็นการเพิ่มกระบวนการขึ้นมา หาก DNA ไม่สมบูรณ์ ก็จะมีกระบวนการที่ทำให้สมบูรณ์ขึ้น โดยการตัดเเต่งสารพันธุกรรม
สำหรับนิสัยใจคอ ความทรงจำเดิม ของสัตว์สุนัขที่โคลนนิ่ง จะกลับมาเหมือนเดิม 100% หรือไม่ จากการติดตามศึกษา ในส่วนของนิสัย ปัจจุบันยังมีการโคลนนิ่งสัตว์เลี้ยงไม่มาก จึงยังไม่มีข้อมูลมากเท่าไหร่ เเต่นิสัยของสัตว์เลี้ยงจะมีสภาพเเวดล้อม การเลี้ยงดูเขามีมีผลต่อนิสัยของสัตว์พฤติกรรมสัตว์ด้วย เเต่ถ้าในส่วนของสุนัข จากการศึกษาพบว่า มีการวิจัยศึกษาในต่างประเทศ ล่าสุดเมื่อปีที่เเล้ว มีการศึกษาในกลุ่มสุนัขที่นำมาใช้งาน เช่น สุนัขตำรวจ สุนัขค้นหายาเสพติด สุนัขช่วยชีวิต สุนัขพวกนี้จะมีความสามารถพิเศษ จะต้องทำการฝึกฝน คัดเลือก กว่าจะได้สุนัขตัวตัวหนึ่งที่มีความสามารถตามที่ต้องการ ใช้เวลานาน เเละฝึกเเล้วความสำเร็จ จะอยู่ที่ 30-40% ด้วยความที่เกาหลีใต้ทำโคลนนิ่งเยอะ เขาจึงใช้สุนัขที่ผ่านเกณฑ์เเล้ว มาทำโคลนนิ่ง เเละพบว่ามีความสามารถ ผ่านทดสอบการประเมิน พบว่ากลุ่มที่นำมาโคลนิ่ง สามารถมันถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
ผศ.สพ.ญ.ดร.จันทร์จิรา ภวภูตานนท์ เปิดเผยด้วยว่า ตอนนี้ในเกาหลีใต้ มีการทำโคลนิ่งทำในหลายหน่วยงาน เพราะมันเพิ่มประสิทธิภาพมากๆ ในการนำสุนัขมาใช้งาน เเต่ในปัจจุบันค่าใช้จ่ายในการโคลนิ่ง มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ใช้เครื่องมือจำนวนมาก เเต่สำเร็จยาก การโคลนิ่งสุนัขที่จะเลี้ยง จึงเป็นเรื่องที่ไม่คุ้มสำหรับบุคคลทั่วไป เเต่สำหรับคนที่มีกำลังทรัพย์ ก็จะเป็นทางเลือก ของการเลี้ยงสัตว์ที่ ความรักประเมินค่าไม่ได้ เป็นคุณค่าทางใจคนที่มีความพร้อม
สำหรับความก้าวหน้าการทำโคลนนิ่งในประเทศไทย ของคณะสัตวเเพทย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สามารถทำโคลนนิ่ง "ปลากัดไทย" ได้สำเร็จ เเล้ว เเต่ค่าใช้จ่ายสูง เเต่ทำเพื่ออนุรักษ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยก็เคยโคลนนิ่ง ส่วนสัตว์ใหญ่อย่าง "วัว " ของกรมปศุสัตว์ เเละ สัตว์เเพทย์จุฬาฯ ก็เคยทำโคลนิ่ง ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยียังราคาสูง จึงยังไม่คุ้มค่ากับการทำโคลนนิ่งทั้งหลาย เเต่ในอนาคตหากการทำง่ายขึ้น ค่าใช้จ่ายถูกลง การโคลนนิ่งต่างๆ ก็อาจจะทำได้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน
นักข่าวยังได้คุยกับคนรักสุนัข คุณเเพน ซึ่งเป็นหนึ่งในคนที่เลี้ยงสุนัข มีความรักความผู้พันธ์กับสุนัขที่เลี้ยง สุนัขของเธอพันธ์ชิบะ เธอบอกว่า เป็นสุนัขตัวเเรกที่เลี้ยง เพราะไปเห็นสุนัขเพื่อนสนิท ที่เลี้ยงไว้ 3 ตัว เกิดชอบความเจ้า "เชลบี้" พ่อของของเจ้า "นาเบะ" จึงบอกเพื่อนไว้ถ้ามีลูกเมื่อไหร่ จะขอมาเลี้ยง ปรากฏว่า สุนัขตัวนี้เกิดวันเดียวกันตรงกับวันเกิดของเธอ
เพื่อนจึงโทรมาบอก ให้เลือกว่าจะเอาสีไหน เเต่เธอตัดสินใจ เลือกตัวที่เกิดใกล้กับเวลาเกิดของเธอมากที่สุด คือ เจ้า "นาเบะ"
คุณเเพนบอกว่า เพิ่งได้ยิน เรื่องการโคลนนิ่ง เป็นครั้งแรก รู้สึกทึ่งกับเทคโนโลยี ที่ดีมากๆ สามารถทำให้เขาอยู่กับเราได้ตลอด เป็นความรู้สึกที่ดี หากในอนาคต ราคาเข้าถึงง่าย จะเป็นทางเลือกให้ เเละคาดหวังว่า จะพัฒนาไปเรื่อยๆ