svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"คลัง"เปิดไทมไลน์ ปมธุรกิจ”ดิไอคอน”ชี้"พ.ร.ก.กู้ยืมฉ้อโกง" ฟันได้หรือไม่

"สศค."สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดไทม์ไลน์ ปมปัญหา"ดิไอคอนกรุ๊ป" ชี้ช่องกฎหมาย ดำเนินการตาม พ.ร.ก.กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 ได้อย่างไร

 
17  ต.ค. 67  ผู้สื่อข่าว รายงานจากทำเนียบรัฐบาล หลังเกิดกรณี "ธุรกิจดิไอคอนกรุ๊ป" ที่ทำให้มีประชาชนร้องเรียนได้รับความเสียหายจำนวนมาก และสูญเงินเกินหลายร้อยล้านบาท  กระทั่งในที่ประชุมครม.เมื่อวันอังคารที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ที่มี "น.ส.แพทองธาร ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้มีการหยิบยกปัญหาดังกล่าวมาหารือ โดยมอบหมายให้ กระทรวงการคลัง ได้ตรวจพิจารณาในแง่ปัญหาข้อกฎหมาย จะเข้าข่ายในการนำ "พรก.กู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527" มาดำเนินการได้หรือไม่  

ล่าสุด กระทรวงการคลัง โดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค. ) ออกคำชี้แจงต่อกรณีดังกล่าว โดยลำดับเหตุการณ์"ดิไอคอน" ตั้งแต่ มีหนังสือสคบ.ถึง สศค. เมื่อปี 2561  และผ่านมาถึงสถานการณ์ปัจจุบันดำเนินการอย่างไร  

1) ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือของ สคบ. ถึง "สศค." สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) มีหนังสือถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 เพื่อขอให้ "สศค."พิจารณาข้อหารือลักษณะการประกอบธุรกิจและได้ส่งแผนธุรกิจและ แผนการตลาด พร้อมสำเนาเอกสารหลักฐานของบริษัท "ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด" (บริษัทฯ) เพื่อหารือการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ มีข้อเท็จจริง ดังนี้

\"คลัง\"เปิดไทมไลน์ ปมธุรกิจ”ดิไอคอน”ชี้\"พ.ร.ก.กู้ยืมฉ้อโกง\" ฟันได้หรือไม่

1.1) บริษัทฯ ได้จดทะเบียนจัดตั้งกับกระทรวงพาณิชย์ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 โดยในช่วงปี 2561 บริษัทฯ ยังมิได้มีการดำเนินธุรกิจหรือมีผู้เสียหายที่เกิดจากการประกอบธุรกิจของบริษัทฯ ประกอบกับในขณะนั้น "สศค."ไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว


1.2) จากการตรวจสอบในระบบจดทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรงของสำนักงาน คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พบว่า บริษัทฯ ได้จดทะเบียนธุรกิจตลาดแบบตรงกับ "สคบ." เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2562


1.3) "สศค." มิได้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาแผนธุรกิจของบริษัทฯ หรือผู้ประกอบธุรกิจรายใด ๆ ที่จะมา ขอจดทะเบียนขายตรงหรือตลาดแบบตรงกับ สดบ. เนื่องจากในทางปฏิบัติ สศค. มิได้เข้าตรวจหรือหารือกับบริษัทโดยตรงหากให้ความเห็นในประเด็นดังกล่าวไป อาจจะเกิดควาคลาดเคลื่อน และส่งผลให้มีผู้นำความเห็นนั้นไปใช้โดยไม่ถูกต้องในภายหลัง

ทั้งนี้ "สศค." มีหน้าที่รับผิดขอบในการดำเนินการรับเรื่องร้องเรียนผู้ใด้รับความเสียหายจากธุรกิจการเงินนอกระบบ รวมทั้งการดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ต่อพนักงานสอบสวน ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินงานของผู้ประกอบธุรกิจการเงินนอกระบบเพื่อตรวจสอบการกระทำความผิดในเบื้องตันประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการฟ้องร้องและต่อสู้คดี ศึกษา วิเคราะห์และเสนอความเห็นในการยึดและอายัดทรัพย์สิน

\"คลัง\"เปิดไทมไลน์ ปมธุรกิจ”ดิไอคอน”ชี้\"พ.ร.ก.กู้ยืมฉ้อโกง\" ฟันได้หรือไม่

\"คลัง\"เปิดไทมไลน์ ปมธุรกิจ”ดิไอคอน”ชี้\"พ.ร.ก.กู้ยืมฉ้อโกง\" ฟันได้หรือไม่

1.4 ) ในส่วนของแนวทางปฏิบัติของ"สศค."ในเรื่องการตอบข้อร้องเรียนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนั้น"สศค."จะดำเนินการตอบข้อร้องเรียนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากเอกสารที่ได้รับเท่านั้น ถ้าในข้อร้องเรียนใดพิจารณาแล้วน่าจะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม"พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินฯ"หรือร้องเรียนนั้นอาจจะเข้าข่ายเป็นความผิดตาม "พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินฯ" และมีผู้เสียหายเกิดขึ้น "สศค."จะดำเนินการส่งเรื่องดังกล่าวให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการสืบสวน สอบสวน หาพยานหลักฐานเพิ่มเติมเพื่อดำเนินคดีต่อไปโดยตรง และจะมีหนังสือตอบกลับหน่วยงานที่ส่งเรื่องร้องเรียนดังกล่าว เช่น สคบ. เป็นต้น

2 ) พฤติการณ์ที่เข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 4 วรรคแรก แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการอ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ ต้องเข้าองค์ประกอบทั้ง 3 ข้อ ดังนี้

2.1) มีการโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฎแก่บุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ซึ่งการโฆษณาหรือประกาศจะกระทำด้วยวิธีการใด ๆ ก็ได้ เช่น การแจกเอกสารการเผยแพร่ทางสื่อต่าง ๆ หรือเป็นการบอกล่าวระหว่างกันของบุคคลในลักษณะปากต่อปาก เป็นต้น


2.2 ) มีการให้สัญญาว่าจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนจากการเข้าร่วมการลงทุนซึ่งการจ่ายผลตอบแทนจะจ่ายเป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดก็ได้ โดยผลประโยชน์ตอบแทนที่จะจ่ายให้นั้นเป็นอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้

2.3 ) ผู้ชักชวนหรือบุคคลอื่นนำเงินจากผู้เข้าร่วมลงทุนรายใหม่มาหมุนเวียนจ่ายให้กับผู้ลงทุนรายก่อนหรือผู้ชักชวนหรือบุคคลอื่นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำมาจ่ายในอัตรานั้นได้


**นอกจากนี้ ในการพิจารณาว่าเป็นการประกอบธุรกิจที่อาจเข้าข่ายเป็นการชายตรงแอบแฝงแบบแชร์ ลูกโซ่ที่อาจจะเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินฯ นั้น จะต้องมีการสัญญาว่าจะจ่ายผลตอบแทน หรือเสนอผลตอบแทนจากการหาสมาชิก มิใช่การได้ผลตอบแทนจากการขายสินค้า และมีการชักจูงว่าจะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนในอัตราที่สูง ทั้งนี้การพิจารณาว่าจะเข้าข่าข่ายเป็นการกระทำความผิดตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินฯ ต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและรายละเอียดเป็นรายกรณี ๆ ไป **

 

สศค.แนะแก้กม. ให้ รมว.ยุติธรรมรักษาการ ตามพรก.กู้ยืมฉ้อโกงฯ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "สศค."ยังได้ ชี้ประเด็นทางข้อกฎหมาย "พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินฯ" โดยมีข้อสังเกตไว้อย่างน่าสนใจ  

1. บทบาทการดำเนินการตาม "พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินฯ" เป็นกฎหมายในลักษณะปราบปรามการกระทำความผิดในลักษณะเดียวกับประมวลกฎหมายอาญา

2. การปฏิบัติงานตามกฎหมายฉบับดังกล่าว เป็นการดำเนินการปราบปรามการกระทำความผิดโดยการแจ้งความ ร้องทุกข์ กล่าวโทษ สอบสวนดำเนินคดี รวมถึงมีการยึด อายัดทรัพย์สิน ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงในการกระทำความผิด ซึ่งปัจจุบันกรมสอบสวนคดีพิเศษ สังกัดกระทรวงยุติธรรมเป็นหน่วยงานที่ดำเนินการใช้บังคับกฎหมายโดยมีบุคลากรที่มีความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ด้วยเหตุผลข้างต้น เพื่อให้การปฏิบัติงานทั้งในรูปของการป้องปรามและการบังคับใช้กฎหมาย มีประสิทธิภาพ และปัจจุบันกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม ได้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการบังคับใช้  กฎหมายฉบับดังกล่าวได้อย่างดี ประกอบกับข้อจำกัดของบุคลากร และอัตรากำลังของ"สศค." ในการปฏิบัติงานสืบสวน ตรวจสอบให้ได้ข้อเท็จจริงในการกระทำความผิดตาม "พรก. การกู้ยืมเงินฯ"

ดังนั้น จึงเห็นควรเสนอปรับแก้กฎหมายโดยมีการกำหนดให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธธรรม เป็นผู้รักษาการตาม"พ.ร.ก. การกู้ยืมฯ" ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

\"คลัง\"เปิดไทมไลน์ ปมธุรกิจ”ดิไอคอน”ชี้\"พ.ร.ก.กู้ยืมฉ้อโกง\" ฟันได้หรือไม่

ที่มา สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.)