svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

“บิ๊กโจ๊ก” ในกำมือ ก.พ.ค.ตร. ส่งซิกย้ำอีกครั้ง ก.พ.ค.ตร. ต่างที่มาแต่มีบทสวดเดียวกัน

“บิ๊กโจ๊ก” ในกำมือ ก.พ.ค.ตร. ส่งซิกย้ำอีกครั้ง ก.พ.ค.ตร. ต่างที่มาแต่มีบทสวดเดียวกัน
31 กรกฎาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

ลุ้น ก.พ.ค.ตร.ลงมติชี้ขาดปม "บิ๊กโจ๊ก" พรุ่งนี้ "ธวัชชัย ไทยเขียว" เผย หากกรรมการลงมติเสียงเท่ากัน ให้ ปธ.ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มอีกหนึ่งเสียงชี้ขาด

31 กรกฎาคม 2567 นายธวัชชัย ไทยเขียว หนึ่งในคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมข้าราชการตำรวจ หรือ ก.พ.ค.ตร. ในฐานะรองโฆษก ก.พ.ค.ตร. โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วน ตัวเกี่ยวกับการพิจารณาวินิจฉัยอุทรณ์ร้องทุกข์ของ พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ที่ถูกให้ออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งจะมีการพิจารณาลงมติว่าการลงนามคำสั่งดังกล่าวที่ลงนามโดย พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รอง ผบ.ตร. ชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในวันพรุ่งนี้ (1 ส.ค.) ว่า

#เมื่อน้ำกับน้ำมันเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน หลายท่านอาจะไม่ทราบว่า มันมีสารตัวหนึ่ง คือ Emulsifier หรือสารที่ช่วยให้น้ำกับน้ำมันเข้าเป็นเนื้อเดียวกันครับ
พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร.

นักวิเคราะห์หลายท่านมีจินตนาการ ก.พ.ค.ตร. ว่าหลังจากกรรมการท่านหนึ่ง คือ ท่านพลตำรวจเอกวิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ขอถอนตัวงดกรณีอันอาจถูกคัดค้านได้ตามข้อ 34 ของกฎ ก.พ.ค.ตร. ฯ เลยทำให้ ก.พ.ค.ตร. ที่นั่งพิจารณาเหลือ 6 ท่าน นั้น ก็จะเหลือเป็นอดีตตำรวจ 3 ท่าน และบุคคลที่มิใช่ตำรวจ 3 ท่าน ดังนั้น ถ้าเสียงออกมาเท่ากันจะทำอย่างไร เสมือนกำลังแยกน้ำมันออกไปจากน้ำ

ขอเรียนเบื้องต้นไว้ก่อนว่า การปฎิบัติงานของ ก.พ.ค.ตร. ทุกท่านในทุกๆสำนวนนั้น จะไม่มีใครพรากความถูกต้องเป็นธรรมตามข้อเท็จจริงและข้อกฏหมายไปจากคู่กรณีไม่ว่าฝ่ายใดไปได้ เพราะ ก.พ.ค.ตร. ทุกท่านยึดคาถาบทเดียวกันเป็นสรณะที่เป็นสารช่วยให้น้ำกับน้ำมันเข้าเป็นเนื้อเดียวกัน คือ

“พวกเราเป็นวัยที่ไม่มีอนาคตแล้ว เหลือแต่เวลาในช่วงชั้นสุดท้ายของชีวิตเท่านั้น” ครับ 

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีคำถามจำนวนมากว่า ถ้าเสียงเท่ากันจะทำอย่างไร ก็ถือโอกาสเผยแพร่ความรู้กรณีดังกล่าวไปเสียด้วยว่า… ตามระเบียบ ก.พ.ค.ตร.. ว่าด้วยการประชุมของ ก.พ.ค.ตร. พ.ศ.2567 ข้อ 16 วรรคสอง  
ที่ประชุม ก.พ.ค.ตร. ที่ประชุม ก.พ.ค.ตร.
 

“กรรมการ ก.พ.ค.ตร. คนหนึ่งให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน และห้ามมิให้งดออกเสียง ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด และในกรณีที่มีความเห็นแย้งให้ทำความเห็นแย้งไว้ก็ได้ เว้นแต่เป็นการลงมติ โดยวิธีการลงคะแนนลับ”  ซึ่งก็สอดคล้องกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 82 วรรคสอง “กรรมการหนึ่งคนให้มีหนึ่งเสียงในการลงคะแนน ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด”

นั่นหมายความว่า ในวิธีการทางปกครอง ถ้าเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาดได้ครับ

 

logoline