svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ศาลรัฐธรรมนูญ" มีมติ "ไม่รับคำร้อง" คดี "ทักษิณล้มล้างการปกครองฯ"

"ศาลรธน." มีมติ ไม่รับคำร้อง "คดีทักษิณ ปมล้มล้างการปกครองฯ เผยมติเอกฉันท์ชี้ คำร้องไม่มีพยานหลักฐาน ประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึง 6 ส่วนประเด็นที่ 2 มีมติ 7ต่อ 2 เสียง ไม่รับคำร้อง

22 พฤศจิกายน  2567    "ศาลรัฐธรรมนูญ"  ประชุมพิจารณา คำร้อง ที่ "นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร" ทนายความอิสระ ร้อง"นายทักษิณ" และ"เพื่อไทย"  6 ประเด็น เข้าข่ายล้มล้างการปกครองฯ ขอให้หยุด เลิกการกระทำ เข้าสู่ที่ประชุม 

โดยการอภิปรายแล้วเห็นว่า คดีนี้แม้ผู้ร้องจะใช้สิทธิยื่นคำร้องต่ออัยการ สูงสุดแล้วและอัยการสูงสุดไม่ดำเนินการภายใน 15  วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ อันทำให้ผู้ร้องมีสิทมีสิทธิยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ก็ตาม แต่การพิจารณาว่าบุคคลใดจะใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49  วรรคหนึ่ง จะต้องปรากฏ  ข้อเท็จจริงชัดเจนเพียงพอที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งหมายและความประสงค์ระดับที่วิญญูชนคาดเห็นได้ว่าน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปโตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

โดยการกระทำนั้นจะต้องกำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุข้อกล่าวอ้างในประเด็นที่ 1และประเด็นที่  3  ถึงประเด็นที่ 6 ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐาน เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิบไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง


ดังนั้น กรณีไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา  49  วรรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นที่ 1 และประเด็นที่ 3 ถึงประเด็นที่ 6

สำหรับประเด็นที่ 2  "ศาลรัฐธรรมนูญ" มีมติโดยเสียงข้างมาก ( 7 ต่อ  2) มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้ พิจารณาวินิจฉัย  ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมาก จำนวน 7 คน คือ

นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ 
นายปัญญา อุดชาชน 
นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม 
นายวิรุฬห์ แสงเทียน 
นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์ 
นายอุดมรัฐอมฤต 
และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ 

เห็นว่า ยังไม่มีน้ำหนักพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำ ของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผลเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิบไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธธรรมนูญ มาตรา  49 วรรคหนึ่ง


ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย จำนวน 2 คน คือ

นายจิรนิติ หะวานนท์ 

และนายนภดล  เทพพิทักษ์ 

เห็นว่า มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งสองน่าจะทำให้เกิดผล เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49  วรรคหนึ่ง ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะรับไว้พิจารณาวินิจฉัยได้

เอกสารข่าวศาลรธน. มีมติ ยกคำร้อง คดีทักษิณ ล้มล้างการปกครองฯ

อนึ่ง คำร้องของ "นายธีรยุทธ" ที่ร้องต่อศาลรธน.มีด้วยกันทั้งสิ้น 6 ประเด็น  ก่อนที่ "ศาลรธน."มีมติยกคำร้อง ดังนี้

กรณีที่ 1 ปมชายชั้น 14

ผู้ถูกร้องที่ 1 ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาอภัยลดโทษให้นักโทษเด็ดขาดชาย ทักษิณ ชินวัตร เหลือโทษจำคุกต่อไปอีก 1 ปี โดยพบว่าผู้ถูกร้องที่ 1 ใช้พรรคผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นเครื่องมือควบคุม การบริหารรราชการแผ่นดินสั่งการรัฐบาลผ่านกระทรวงยุติธรรม กรมราชทัณฑ์ โรงพยาบาลตำรวจ ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ให้เอื้อประโยชน์แก่ผู้ถูกร้องที่ 1 ระหว่างต้องโทษจำคุกได้พักอาศัยอยู่ห้องพัก ชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ เพื่อไม่ต้องรับโทษอยู่ในเรือนจำแม้แต่วันเดียว เป็นการฝ่าฝืนไม่น้อมรับโทษจำคุกในเรือนจำตามพระบรมราชโองการ การกระทำของผู้ถูกร้องที่ 1 เป็นการกระทำที่ไม่บังควรอย่างยิ่งทำให้ระคายเคืองเบื้องพระยุคลบาทและหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ส่งผลให้เกิดการเซาะกร่อน บ่อนทำลายพระเกียรติยศของสถาบันพระมหากษัตริย์ในที่สุด

กรณีที่ 2 พื้นที่ทับซ้อนทางทะเล

ผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติกรรมฝักใฝ่คบหาร่วมคิดกับสมเด็จฯฮุน เซน ซึ่งเป็นผู้นำทางการเมืองประเทศกัมพูชา ซึ่งมีระบบการปกครองที่ฝ่ายการเมืองมีอำนาจเหนือสถาบันพระมหากษัตริย์ และผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สั่งการ ผู้ถูกร้องที่ 2 เป็นเครื่องมือควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินสั่งการรัฐบาลให้เอื้อประโยชน์กับสมเด็จฯฮุน เซน ให้ประเทศกัมพูชาละเมิดอธิปไตยทางทะเลของไทย โดยให้มีการเจรจาพื้นที่ที่ฝ่ายกัมพูชาอ้างว่าเป็นเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล (MOU 2544) เพื่อแบ่งผลประโยชน์ก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรใต้ทะเลในเขตอธิปไตยทางทะเลของไทยให้แก่ประเทศกัมพูชา

กรณีที่ 3 สมคบคิดร่วมกันแก้ไขรธน.

ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมมือเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคประชาชนซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งโดยกลุ่มการเมือง (พรรคก้าวไกลเดิม) ที่ต้องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2567 ว่ามีพฤติการณ์ล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สั่งการ ให้ผู้ถูกร้องที่ 2 เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อผู้ถูกร้องที่ 1 และพวก

กรณีที่ 4 เปิดบ้านเจรจาตั้งนายกฯคนใหม่

ผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สั่งการแทน ผู้ถูกร้องที่ 2 ในการเจรจากับแกนนำของพรรคการเมืองอื่นที่ร่วมรัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี เพื่อหารือการเสนอบุคคลผู้สมควรเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่ เหตุเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ที่บ้านพักส่วนตัวของผู้ถูกร้องที่ 1 (บ้านจันทร์ส่องหล้า)

กรณีที่ 5 สั่งเพื่อไทยเขี่ยพลังประชารัฐ

ผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สั่งการ ให้ผู้ถูกร้องที่ 2 มีมติขับพรรคพลังประชารัฐออกจากพรรคร่วมรัฐบาลโดยผู้ถูกร้องที่ 2 ยินยอมกระทำการตามที่ ผู้ถูกร้องที่ 1 สั่งการ

กรณีที่ 6 สั่งเพื่อไทยนำวิสัยทัศน์ไปเป็นนโยบายรัฐบาล

ผู้ถูกร้องที่ 1 มีพฤติการณ์เป็นเจ้าของ ผู้ครอบครอง ผู้ครอบงำ และ เป็นผู้สั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 2 ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล ให้นำนโยบายของผู้ถูกร้องที่ 1 ที่แสดงวิสัยทัศน์ไว้เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 ไปดำเนินการให้เป็นนโยบายคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภาในวันที่ 12 กันยายน 2567