svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กษ.สั่งเร่งสำรวจ-เยียวยาความเสียหายน้ำท่วมเกษตรกร

โฆษก กษ.ย้ำกระทรวงฯ เร่งสำรวจ-เยียวยาความเสียหายน้ำท่วมเกษตรกร พร้อมวางแนวทางป้องกันโรคพืชระบาดหลังน้ำลด

กษ.สั่งเร่งสำรวจ-เยียวยาความเสียหายน้ำท่วมเกษตรกร เอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง)

นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) กล่าวถึงความคืบหน้าการสำรวจพื้นที่เกษตรกร ที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เพื่อเยียวยาเกษตรกรว่า นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งเร่งสำรวจพื้นที่เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมอย่างละเอียด และโปร่งใส เพื่อเยียวยาเกษตรกรให้สามารถกลับมาทำการเกษตรได้ตามปกติต่อไป โดยล่าสุด ได้สั่งการให้กรมวิชาการเกษตร วางแนวทางการป้องกันการระบาดโรคและแมลงศัตรูพืช และเชื้อราหลังน้ำลด พร้อมกับเร่งให้หน่วยงานในพื้นที่ ระดมกำลัง เพื่อเร่งสกัดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชในพื้นที่ประสบอุทกภัย ที่ได้รับความเสียหายจากมวลน้ำที่ท่วมขังในพื้นที่เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และสุโขทัย

กษ.สั่งเร่งสำรวจ-เยียวยาความเสียหายน้ำท่วมเกษตรกร กษ.สั่งเร่งสำรวจ-เยียวยาความเสียหายน้ำท่วมเกษตรกร

นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายเอกภาพ ยังยืนยันว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์พายุอย่างใกล้ชิด และบูรณาการบริการจัดการน้ำ เพื่อให้เพียงพอต่อการทำการเกษตร พร้อมสรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ สถานะวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ในเวลา 07.00 น.ว่า ยังมีสถานการณ์น้ำท่วม ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่

  • จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ในอำเภอ: เสนา เมืองพระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ และบางไทร)
  • จังหวัดสุพรรณบุรี (ในอำเภอ: บางปลาม้า อู่ทอง และสองพี่น้อง)
  • จังหวัดนครปฐม (ในอำเภอ: นครชัยศรี บางเลน และสามพราน)

กษ.สั่งเร่งสำรวจ-เยียวยาความเสียหายน้ำท่วมเกษตรกร (แฟ้มภาพ)

 

ขณะที่ ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงสูงสุด ได้แก่ ในพื้นที่ภาคเหนือที่จังหวัดอุทัยธานี (87 มม.), ภาคตะวันออกที่จังหวัดตราด (86 มม.), ภาคกลางที่กรุงเทพมหานคร (80 มม.), ภาคใต้ที่จังหวันครศรีธรรมราชด (48 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น (36 มม.) และภาคตะวันตก ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (28 มม.)

 

ส่วนคาดการณ์ช่วงวันที่ 23 - 27 ตุลาคมนี้ ความกดอากาศสูงจากประเทศจีน ยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ขณะที่ ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีฝนลดลง  แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคใต้

 

พายุดีเปรสชันบริเวณด้านตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน “จ่ามี” (TRAMI) แล้ว คาดว่า จะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ตอนบนในช่วงวันที่ 23 – 24 ตุลาคม 2567

สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม

  • ปริมาณน้ำรวม 80% ของความจุเก็บกัก (64,717 ล้าน ลบ.ม.)
  • ปริมาณน้ำใช้การ 70% (40,520 ล้าน ลบ.ม.) 

กษ.สั่งเร่งสำรวจ-เยียวยาความเสียหายน้ำท่วมเกษตรกร (แฟ้มภาพ)

ด้านกรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา 22 ตุลาคม 2567 ณ เวลา 07.00 น.

  • สถานี C2 อำเภอเมืองนครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,646 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเพิ่มขึ้น ระดับน้ำเพิ่มขึ้นจากเมื่อวาน 19 ซม. แต่ยังต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 3.82 ม.
  • สถานี C13 เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ปริมาณน้ำไหลผ่าน 1,300 ลบ.ม/วินาที แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ระดับน้ำท้ายเขื่อนต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 4.24 ม. ซึ่งเนื่องจาก มีปริมาณฝนตกเพิ่มบริเวณพื้นที่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา จึงต้องปรับเพิ่มการระบายจาก 1,300 ลบ.ม./วินาที เป็น 1,350 ลบ.ม./วินาที ภายในเวลา 11.00 น. วันนี้ (22 ต.ค.)
  • สถานี C29A อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 972 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย