svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

รมว.กษ.เร่งเยียวยาเกษตรกรภายใน 45 วัน-เล็งเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นเงินสด

รมว.กษ.เร่งเยียวยาเกษตรกรภายใน 45 วัน-เล็งเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นเงินสด เอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง)

นายเอกภาพ พลซื่อ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ฝ่ายการเมือง) เปิดเผยความคืบหน้าการเยียวยาเกษตรกรที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคอีสานว่า นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงฯ เพื่อกำชับให้เร่งสำรวจความเสียหายจากอุทกภัย และให้ประสานกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปความเสียหาย และเร่งช่วยเหลือเยียวยา เร่งดำเนินการช่วยเหลือผ่านศูนย์ป้องกันภัยในจังหวัดโดยเร็วที่สุด

รมว.กษ.เร่งเยียวยาเกษตรกรภายใน 45 วัน-เล็งเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นเงินสด นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

รมว.กษ.เร่งเยียวยาเกษตรกรภายใน 45 วัน-เล็งเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นเงินสด

อัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รมว.กษ.เร่งเยียวยาเกษตรกรภายใน 45 วัน-เล็งเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นเงินสด

นายเอกภาพ ระบุว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ย้ำให้ต้องเร่งลงพื้นที่ที่น้ำท่วม อย่าให้เกิดเหตุการณ์เกษตรกรประสบน้ำท่วมปีนี้ แต่เงินเยียวยาไปชดเชยในปีถัดไป ซึ่งตามกฎหมาย เมื่อเกิดอุทกภัย แล้ว จะต้องชดเชยเยียวยาให้เกษตรกรภายใน 60 วัน แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ขอให้ลดระยะเวลาจาก 60 วัน เหลือไม่เกิน 45 วัน และในกรณีการช่วยเหลือปัจจัยการผลิต อาทิ เมล็ดพันธุ์พืช เป็ด ไก่ ให้ลองพิจารณาหาระเบียบรองรับ เพื่อจ่ายชดเชยเป็นเงินสดแทน โดยจะมีการประสานกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังต่อไปว่า จะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้สามารถช่วยเหลือเกษตรกรให้ได้มากที่สุด และเร็วที่สุด ที่สำคัญจะต้องดูแลผู้ที่ประสบภัยพิบัติ ทั้งอาหาร และน้ำดื่มรวมถึงการเร่งประสานหน่วยงานที่มีอุปกรณ์เครื่องมือระดมไปช่วยทำความสะอาดในพื้นที่ที่มีดินโคลนถล่ม เพื่อให้พื้นที่ให้กลับมาสู่สภาพปกติอย่างเร็วที่สุด

รมว.กษ.เร่งเยียวยาเกษตรกรภายใน 45 วัน-เล็งเปลี่ยนปัจจัยการผลิตเป็นเงินสด

นายเอกภาพ ยังเปิดอีกว่า กรมชลประทานได้รายงานสถานการณ์น้ำว่า ประมาณปลายเดือนกันยายน ถึงต้นเดือนตุลาคมนี้ จะมีพายุลูกใหม่เข้าในช่วงตอนกลางของประเทศ หรือช่วงจังหวัดเพชรบูรณ์ และนครราชสีมา ซึ่งพายุที่มาตอนกลางของประเทศนั้น เชื่อว่า จะไม่น่ากังวล เพราะในภาคอีสานแถบลำตะคอง มีน้ำเพียง 28-30% ของความจุเขื่อน และอีกหลายเขื่อน ยังมีปริมาณน้ำไม่มาก หากพายุเข้ามา ก็จะช่วยเติมเต็มน้ำในเขื่อน เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้าได้