svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ถ้าบิ๊กตู่ได้เป็นนายกฯ อีก จะอยู่แค่ 2 ปีจริงหรือ ?

สมมตินะ สมมติว่า บิ๊กตู่ได้เป็นนายกฯ ในสมัยที่ 3 และต้องการเป็นนายกฯ แบบยาวๆ เกินกว่าปี 2568 เกินโควต้าที่เหลืออยู่ จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ? ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว ก็พอมีช่องทางอยู่ แต่ก็เป็นท่ายากทางการเมือง ที่เข้าขั้นสุ่มเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง

ถึงแม้ในการเลือกตั้งปี 2566 ปัจจัยเกื้อหนุนให้ บิ๊กตู่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ สมัยที่ 3 จะลดลงฮวบฮาบกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อน แต่ก็ถือว่ายังคงเป็นหนึ่งในตัวเต็ง แม้จะมีสิทธิ์เป็นนายกฯ ได้ไม่เกินวันที่ 6 เม.ย. 2568 ก็ตามที

ซึ่งเงื่อนไขตรงนี้ ก็อาจทำให้ ส.ส. หลายคนเกิดอาการลังเลที่จะเข้าร่วมขบวนด้วย จนเป็นที่มาของกระแสข่าวเชิงยั่วล้อ “นายกฯ คนละครึ่ง” กับหัวหน้าพรรคการเมืองบางพรรค

แต่สมมตินะ สมมติว่า บิ๊กตู่ได้เป็นนายกฯ ในสมัยที่ 3 และสมมติอีกว่า ต้องการเป็นนายกฯ แบบยาวๆ เกินกว่าปี 2568 จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ? ซึ่งหากจะว่าไปแล้ว ก็พอมีช่องทางอยู่ แต่ก็เป็นท่ายากทางการเมือง ที่เข้าขั้นสุ่มเสี่ยงเป็นอย่างยิ่ง  

ถ้าบิ๊กตู่ได้เป็นนายกฯ อีก จะอยู่แค่ 2 ปีจริงหรือ ?

บทความการเมืองที่น่าสนใจ

ข้อกำหนด การดำรงตำแหน่งนายกฯ ในรัฐธรรมนูญปี 2560

รัฐธรรมนูญ ปี 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ได้กำหนดว่า “นายกรัฐมนตรีจะดำรงตำแหน่งรวมแล้วเกิน 8 ปีมิได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำรงตำแหน่งติดต่อกันหรือไม่ แต่มิให้นับรวมระยะเวลาในระหว่างที่อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปหลังจากพ้นจากตำแหน่ง” 

กล่าวโดยสรุปก็คือ ไม่ว่าจะเป็นนายกฯ กี่ครั้ง หรือเว้นวรรคกี่หน เมื่อนับระยะเวลารวมกันแล้ว ก็สามารถเป็นนายกฯ ได้ไม่เกิน 8 ปี เพื่อไม่ให้เกิดการผูกขาดอำนาจที่ยาวนานเกินไป ตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

แต่ในกรณีของบิ๊กตู่ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินจฉัยว่า ให้เริ่มนับระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ประกาศใช้ ส่งผลให้บิ๊กตู่มีสิทธิ์เป็นนายกฯ ได้ถึงปี 2568

ถ้าบิ๊กตู่ได้เป็นนายกฯ อีก จะอยู่แค่ 2 ปีจริงหรือ ?

ช่องทางการเป็นนายกฯ เกินโควต้าที่รัฐธรรมนูญกำหนด  

แต่สมมติว่า บิ๊กตู่ได้เป็นนายกฯ สมัยที่ 3 หลังการเลือกตั้งปี 2566 แล้วเมื่อถึงปี 2568 ถ้าจะอยู่ต่ออีก จะมีความเป็นไปได้หรือไม่ ?

ซึ่งถ้ายึดตามคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ก็เรียกได้ว่า คราวนี้หมดสิทธิ์จริงๆ หากต้องการไปต่อ ก็ต้องแก้รัฐธรรมนูญ เท่านั้น แต่ก็มีข้อกำหนดสุดหินนั่นก็คือ การแก้รัฐธรรมนูญต้องได้รับความเห็นชอบกึ่งหนึ่งของทั้ง 2 สภา (ส.ส. + ส.ว) และในจำนวนนี้จะต้องเป็นเสียงของ ส.ว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของ ส.ว.ทั้งหมด หรือประมาณ 84 คน โดย ส.ว. ชุดนี้ ชุดที่เทคะแนนให้บิ๊กตู่เป็นนายกฯ อย่างท่วมท้น เมื่อปี 2562 จะมีกำหนดครบวาระในช่วงกลางปี 2567

ดังนั้น หากมีการแก้รัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าว ก่อนที่ ส.ว. ชุดนี้จะครบวาระ ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว ตัวเลข ส.ว. 84 ขึ้นไป ไม่น่าจะเป็นปัญหาสำหรับบิ๊กตู่ แต่ผลที่ตามมาก็จะถูกมองว่า เป็นความพยายามสืบทอดอำนาจแบบไม่เห็นหัวประชาชน ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์ลุกลามบานปลาย นำไปสู่มหาวิกฤตทางการเมืองครั้งมโหฬาร