1 เมษายน 2568 ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เปิดเผยตอนหนึ่งทางช่อง TIKTOK : lifeandsciencenews ว่า แผ่นดินไหวในมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก เคยเกิดขึ้นเมื่อ 113 ปีที่แล้ว ครั้งนั้นทำลายมัณฑเลย์ทั้งเมือง ครั้งนี้มีผลคล้ายๆกัน เป็นแผ่นดินไหวที่รอยเลื่อนสะกาย
ในประเทศไทยโดยเฉพาะกรุงเทพฯ กลับได้รับผลกระทบรุนแรง อาจจะดูเปลี่ยนเรื่องแปลก ความจริงการมีแผ่นดินไหวใหญ่ๆไกลมากๆ และมีแรงสั่นสะเทือนต่ออาคารสูงในกรุงเทพฯ ไม่ใช่เรื่องใหม่
จากการศึกษาวิจัยเชิงลึก สรุปแล้วพบว่า ปัจจัยสำคัญสภาพแอ่งดินอ่อนใน กทม. ในเชิงวิศวกรรมสามารถขยายความรุนแรงได้มากกว่าปกติประมาณ 3-4 เท่า ปัญหาคือ ขยายเป็นคลื่นจังหวะช้าๆด้วย อาคารสูงจำนวนมาก ที่มีจังหวะในการโยกตัวก็เป็นจังหวะช้าๆ สอดคล้องกับการสั่นตัวของการสั่นของแอ่งดิน ทำให้เกิดการโยกไหวตัวที่รุนแรงในลักษณะสั่นพ้อง ทำให้อาคารสูงสั่นแรงเป็นพิเศษ ในขณะที่อาคารเตี้ยๆ อาคารสูงไม่กี่ชั้น มีผลกระทบน้อยกว่าเยอะ เพราะฉะนั้นความเสียหายที่เราเห็นปรากฏกับอาคารสูงๆมากเป็นพิเศษ ในขณะที่อาคารเตี้ยๆ คงต้องเป็นอาคารที่อ่อนแอจริงๆ ถึงมีความเสียหายรุนแรง
ในเชิงการเตรียมพร้อมรับมือ วิธีที่เราคิดว่าดีที่สุด คือ การออกแบบก่อสร้างอาคารสูง ให้พร้อมรับมือกับสถานการณ์พวกนี้ สถานการณ์ไม่ได้มีเฉพาะอย่างที่เจอเมื่อวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 จริงๆแล้วเราประเมินภาพรวม โอกาสเกิดแผ่นดินไหวได้หลายร้อยแบบ
1.แผ่นดินไหวขนาด 7-7.5 ที่ จ.กาญจนบุรี ตอนนี้มีรอยเลื่อนใหญ่ๆอยู่ที่กาญจนบุรี แต่อยู่ในสภาพหลับอยู่ เมื่อไหร่ฟื้นตื่นขึ้นมาเกิดระดับ 7-7.5 จะเกิดผลกระทบ กทม.ได้ เพราะระยะห่างแค่ 200 กิโลเมตร
2.รอยเลื่อนสะกาย ซึ่งมีแนวยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ของเมียนมา จาก มัณฑะเลย์ ประเทศพม่า ไล่ลงมา เนปิดอว์ เฉียดย่างกุ้ง ลงทะเล เป็นรอยเลื่อนที่ยาวเป็นพันกิโลเมตร ถ้าเกิดระดับ 8 ก็กระทบถึงกรุงเทพฯได้ เป็นสภาวะที่ประเมินไว้ล่วงหน้าก่อนเกิดเหตุการณ์นี้ 10 ปีแล้ว แต่ครั้งนี้ก็เกิดขึ้น ตามที่กล่าวไว้
3.แผ่นดินไหวขนาด 8.5 -9 ตามแนวมุดตัวทะเลอันดามัน อาจเกิดขึ้น ที่เรียกว่า แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือก แนวมุดตัวอารากัน อยู่ฝั่งตะวันตกของเมียนมาและฝั่งทะเลอันดามัน ห่างกทม.มากกว่ารอยเลื่อนสกาย แต่ตรงนี้มีศักยภาพเกิดแผ่นดินไหว 8.5 - 9 ริกเตอร์ เพราะฉะนั้น ผลกระทบรุนแรงไม่น้อยกว่า สกาย
คราวนี้ในอดีตมีการศึกษาโดยทีมผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ เช่น ดร.แครี ซี จากมหาวิทยาลัยคาลเท็กซ์ เขาศึกษา ดูประวัติการเกิดแผ่นดินไหวในอดีต พบว่าเคยเกิด 8.5 หรือใหญ่กว่านั้น หลายครั้ง ครั้งล่าสุดเมื่อประมาณ 260 ปีที่แล้ว
นอกจากนี้พบว่า บริเวณ อารากัน หลักๆสามารถผลิตแผ่นดินไหว วงรอบ 400-500 ปี โดยประมาณจะผลิตแผ่นดินไหวใหญ่สักครั้งหนึ่ง ตอนนี้หลับอยู่ประมาณ 260 ปี แล้ว เราไม่รู้ว่าจะตื่นขึ้นเมื่อไหร่ จังหวะของมันไม่แน่นอน บางทีจะเร็วกว่าที่คิดหรือช้ากว่าวงรอบปกติ ไม่ค่อยแน่นอน ไม่สามารถประเมินสถานการณ์ได้ เราประเมินได้แค่ว่ามีศักยภาพในการเกิดแบบนี้
ทั้ง 3 สถานการณ์ดังกล่าว เป็นสถานการณ์ที่คิดว่า จะส่งผลกระทบอาคาร ในกรุงเทพมหานคร เป็นสถานการณ์ที่เรานำมาประเมินผลกระทบที่รุนแรงที่สุด ที่เป็นไปได้ ในการเกิดแผ่นดินไหว และเราคำนวณระดับความรุนแรงที่จะเกิดขึ้นได้ต่ออาคารในกรุงเทพฯ เราก็กำหนดสถานการณ์ที่ร้ายแรงที่สุดไว้เป็นมาตรฐานในการออกแบบอาคารในกรุงเทพ
คลิกเพื่อชมคลิปคำอธิบายจาก ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย ผอ.ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ