29 มีนาคม 2568 ส่งกระทบกับประเทศไทย และคนไทยแบบไม่น่าเชื่อ สำหรับเหตุ “แผ่นไหวเมียนมา” ที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (28 มี.ค.) โดยเฉพาะพื้นที่ กทม. มี ตึกถล่ม และได้รับความเสียหายจำนวนมาก ทั้งที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวไปกว่า 1,100 กิโลเมตร
โดยเหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ เป็นเหตุแผ่นดินไหวบนบก ขนาด 8.2 มาตราริกเตอร์ (ตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา) หรือขนาด 7.7 มาตราโมเมนต์ (ตามรายงานของ USGS) จุดศูนย์กลางอยู่บริเวณ เมือง มัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของ อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน ประมาณ 326 กม.
ต้นเหตุเกิดจากการเคลื่อนที่ของ “รอยเลื่อนสะกาย” ในเมืองมัณฑะเลย์ ห่างไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ค่อนไปทางเหนือของเมืองสะกาย ของเมียนมาเพียง 16 กม.
สำหรับ "รอยเลื่อนสะกาย" ถือเป็นรอยเลื่อนมีพลังมากที่สุด ในผืนแผ่นดินใหญ่ประเทศในอาเซียน เทียบเท่ากับ รอยเลื่อนซานแอนเดรียส (San Andreas Fault) ของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยรอยเลื่อนสะกายมีความยาว 1,500 กิโลเมตร และพาดผ่านตอนกลางของเมียนมา เทือกเขาหิมาลัย ผ่านลงมาถึงกรุงย่างกุง ยาวลงในอ่าวเบงกอล และทะเลอันดามัน
ในทางธรณีแปรสัณฐาน นักธรณีวิทยาเชื่อว่ารอยเลื่อนสะกายเป็นขอบหรือรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกย่อยโบราณ 2 แผ่น คือ แผ่นซุนดา และ แผ่นพม่า ซึ่งปัจจุบันถือเป็นส่วนหนึ่งของ แผ่นเปลือกโลกยูเรเซีย (Eurasian Plate)
ที่มาภาพ: Mitearth
ในอดีต "รอยเลื่อนสะกาย" เคยเกิดแผนดินไหวใหญ่ ในช่วงต้นรัชกาลที่ 3 กรุงรัตนโกสินทร์ ขนาด 8.0 ในด้านตะวันตกของเมืองมัณฑะเลย์ ที่ทำให้เจดีย์สำคัญพังถล่ม และแรงสะเทือนรับรู้ถึงภาคเหนือ และ กทม.
สำหรับ "รอยเลื่อนสะกาย" เคยก่อให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในอดีตเมื่อปี พ.ศ.2473 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขนาด 7.3 และทำให้มีผู้เสียชีวิตในเมียนมามากกว่า 500 คน
ในรอบ 50 ปี ช่วง 2516-2566 ได้เกิดแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนสะกาย ทั้งหมด 668 ครั้ง ขนาดตั้งแต่ 2.9-7.0 ครั้งใหญ่สุดรอบ 50 ปีขนาด 7.0 เมื่อวันที่ 5 ส.ค.2534 ที่เมือง Mogok ในมัณฑะเลย์
โดยเหตุการณ์ล่าสุดคือ เมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2566 เคยเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.0 เมื่อเวลา 08.40 น.ที่ระดั ความลึก 10 กม.บริเวณตอนเหนือของทะเลอันดามัน ประเทศเมียนมา ห่างจาก กทม. 490 กม. ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้พบว่า เกิดจากการเคลื่อนตัวของแนว "รอยเลื่อนสะกาย" ในเมียนมา ตามแนวระนาบแบบเหลื่อมขวา ซึ่งมีอัตราการเคลื่อนตัวประมาณ 2 ซม.ต่อปี
ภาพมุมสูงของรอยเลื่อนสะกาย (ที่มา : https://twitter.com/wangyu_1979)
ก่อนหน้านี้ ดร.อรนุช หล่อเพ็ญศรี อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เคยได้ให้ข้อมูลไว้ว่า อีกประมาณ 5-10 ปี "รอยเลื่อนสะกาย" มีโอกาสแผลงฤทธิ์อาจทำแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ได้อีก! เพราะรอยเลื่อนสะกาย ยังเป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง
และหากเกิดเแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ขึ้น สำหรับประเทศไทยแล้ว ความเสี่ยงจะอยู่ในระดับ 4 ทำให้ปูนแตกร้าว แต่จะไม่กระทบโครงสร้างอาคารขนาดใหญ่ เพราะอาคารส่วนใหญ่ จะใช้ค่าความเร่งในการออกแบบอาคารที่สูงกว่า พร้อมการขยายเพื่อรองรับแผ่นดินไหวแล้ว และเป็นไปตามกฎกระทรวงที่กำหนดไว้
แต่จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ที่เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนสะกาย วานนี้ (28 มี.ค.68 ) ที่มีขนาดถึง 8.2 ก็เป็นการยืนยันแล้วว่า จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยได้มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะกับพื้นที่ กทม. ที่มีตึกสูงเป็นจำนวนมาก จากปัจจัยเหล่านี้
สำหรับความเสี่ยงที่พื้นที่ กทม.จะได้รับผลกระทบจากการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนนั้น หลักๆ มีอยู่คือ
1. กทม.ตั้งอยู่บนชั้นดินเหนียวอ่อน (ดินเหนียวกรุงเทพ) ซึ่งสามารถขยายคลื่นแผ่นดินไหวให้แรงขึ้นได้อีก 3-4 เท่า จึงทำให้อาคารสูงสั่นโยก และอาจจะเสียหายได้
2.อาคารสูงที่ก่อสร้างก่อนปี พ.ศ. 2550 หลายแห่ง ไม่ได้ออกแบบให้ต้านแรงแผ่นดินไหว
3.กรุงเทพฯ และภาคกลาง มีโอกาสได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว ทั้งที่เป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวระยะใกล้ (เช่น รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์) และแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวระยะไกล (เช่น รอยเลื่อนสะกายในเมียนมา) หากเกิดแผ่นดินไหวจากแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ทั้งระยะใกล้และระยะไกล ชั้นดินเหนียวในพื้นที่แอ่งที่ราบลุ่มภาคกลาง สามารถขยายคลื่นแผ่นดินไหวสูงถึง 3 เท่า
สิ่งหลายคนกังวลคือ ข้อมูลที่มีการระบุว่า ประเทศไทยเอง ก็มีรอยเลื่อนอยู่หลายแห่ง และมีจำนวนไม่น้อยที่ยังเป็นรอยเลื่อนที่ยังทรงพลัง นั่นจะทำให้เกิดโอกาสมีแผ่นดินไหวขึ้นหรือไม่ ซึ่งจากข้อมูลจากกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่า ประเทศไทยมี 16 รอยเลื่อนที่ยังทรงพลังที่ต้องเฝ้าระวัง ประกอบด้วย
ข้อมูลจาก : กรมทรัพยากรธรณี / Mitearth, / springnews