svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ชัยวัฒน์" วอน ปชช. ร่วมค้านแบ่งพื้นที่ อช.ทับลาน เชื่อไม่ได้พัฒนา ศก. แต่เป็นการเอื้อทุน

"ชัยวัฒน์" วอนประชาชนร่วมค้านแบ่งพื้นที่ อช.ทับลาน เป็นพื้นที่ทำกิน เชื่อไม่ได้พัฒนาเศรษฐกิจ แต่เป็นการเอื้อทุนอนาคต คนไทยจะลำบากเป็นเพียงลูกจ้าง ลั่นหากโหวตแพ้จะขอพึ่งศาล

8 กรกฎาคม 2567 จากกรณี มูลนิธิสืบนาคะเสถียร กังวลที่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ และพันธ์ เปิดรับฟังความคิดเห็น การเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน จำนวน 265,286.58 ไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ เป็นที่การเกษตร ระหว่างวันที่ 28 มิ.ย. - 12 ก.ค. 2567 หวั่นกระทบต่อระบบนิเวศของสัตว์ป่า ด้านโซเชียลต่างพากันติดแฮชแท็ก Saveทับลาน 
\"ชัยวัฒน์\" วอน ปชช. ร่วมค้านแบ่งพื้นที่ อช.ทับลาน เชื่อไม่ได้พัฒนา ศก. แต่เป็นการเอื้อทุน

กรณีดังกล่าว นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ให้ความเห็นว่า อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นพื้นที่ที่อยู่ในมรดกโลก คำถามแรกเลยคือ ทางคณะกรรมการชุดเดิม ๆ ได้มีการหารือ กับองค์กร UNESCO แล้วหรือยังว่า เห็นด้วยหรือไม่ ในการที่จะเฉือนที่ดิน 265,286.58 ไร่ ออกไปจากพื้นที่มรดกโลก 

คำถามที่ 2 คือ ก่อนหน้านี้เรามีการจับกุมดำเนินคดี กลุ่มนายทุนที่มีการซื้อขายที่ดินเปลี่ยนมือ จำนวน 406 คดี ซึ่งถือว่า คนพวกนี้มีความผิด คุณจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ ถูกกฎหมายด้วยใช่หรือไม่ 

คำถามที่ 3 คือเราได้มีการสำรวจพื้นที่ตามมาตรา 64 พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562(ฉบับใหม่)  พบว่า ราษฎรที่มีการถือครองมีตัวตนจริง มีการมาทำมาหากินตั้งแต่เดิม เขาพึงพอใจกับเรื่องนี้อยู่แล้ว จึงเกิดคำถามว่า แล้วทำไมมีเหตุผลอะไรที่จะต้องเฉือนที่ดินตรงนี้ออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์
นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติฯ
 

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติมีทั้งหมด 156 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีก 79 แห่ง มีวนอุทยาน 65 แห่ง ทำไมต้องไม่ไปทำที่อื่น ทำไมถึงต้องเป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน , อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด , อุทยานแห่งชาติสิรินาถ และ อุทยานแห่งชาติเกาะช้าง ซึ่งจะเห็นได้ว่า โปรเจคเหล่านี้มันอยู่ในทุนเศรษฐกิจทั้งหมด มันเป็นกลุ่มทุนและกลุ่มผู้มีอิทธิพลทั้งหมด มีทั้งอำนาจเงิน รวมไปถึงเงินที่ไม่ถูกต้อง ตามกฎหมาย ที่หลายคนเรียกว่าเงินเทา เข้ามาแทรก และซ้อนในระบบนี้เยอะแยะมากมาย ดังนั้นการที่เลือกเจาะจงในพื้นที่เหล่านี้ ไม่ใช่ทำเพื่อสาธารณชนหรือประโยชน์ต่อประเทศชาติ

ซึ่งก่อนหน้านี้กรมอุทยานแห่งชาติฯ ได้มีการออกระเบียบใหม่ ซึ่งราษฎรก็พึงพอใจอยู่แล้วในเรื่องที่ดินทำกิน ราษฎรในพื้นที่ไม่มีการซื้อขายเปลี่ยนมือ ไม่มีการอพยพย้ายถิ่น และยังคงอยู่ในพื้นที่ด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี แต่ถ้ามีการทำให้ที่ดินเป็นส.ป.ก. ธนารักษ์ หรือนิคมสร้างตนเอง คนถือครองที่ดินจะไม่ใช่คนดังเดิมในพื้นที่อีกต่อไป

เมื่อมีการเปลี่ยนมือการครอบครองที่ดิน กลายเป็นกลุ่มทุนเข้ามา มันจะเป็นความลำบากของราษฎร เพราะจะมีการนำที่ดินเปลี่ยนเป็นสินทรัพย์เงินทุน หรือว่าเป็นการจำนองที่ กลุ่มทุนจะเข้ามาแทรกทันที ราษฎรที่เคยถือที่ดินดั้งเดิมก็จะกลายเป็นเพียงลูกจ้าง หรือกลายเป็นนอมินีให้กับนายทุนอีกทีหนึ่ง ซึ่งโมเดลนี้มันมีให้เห็นมาโดยตลอดอยู่แล้ว ในขณะเดียวกันประเทศที่ 3 พยายามเข้ามาซื้อที่ดิน สร้างธุรกิจ และครอบงำประเทศไทย ใช้เงินที่ไม่ถูกต้องมาซื้อข้าราชการในประเทศไทย ดังนั้นถ้าจะมองว่า การกระทำแบบนี้เป็นการพัฒนาประเทศ ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่ มันจะทำให้ราษฎรของเราลำบากขึ้น
\"ชัยวัฒน์\" วอน ปชช. ร่วมค้านแบ่งพื้นที่ อช.ทับลาน เชื่อไม่ได้พัฒนา ศก. แต่เป็นการเอื้อทุน
 

นายชัยวัฒน์ ยังให้ความเห็นกรณีที่อ้างว่า เป็นการแบ่งแยกพื้นที่ 2 แสนกว่าไร่ออกมาจากป่าอนุรักษ์  จะช่วย ให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้นนั้นว่า อย่างแรกต้องหันไปมองว่า รายได้หลักสำคัญของประเทศไทยคือการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเกิดจากการที่ประเทศไทยมีทรัพยากร ด้านโบราณสถาน มีทรัพยากรธรรมชาติด้านสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์  แต่จู่ ๆ จะมาเอาธรรมชาติออกไป คำถามคือมันจะเป็นการพัฒนาประเทศไปได้อย่างไร ป่าเท่านั้นที่จะรักษาความอุดมสมบูรณ์ และรักษาประเทศให้มีอนาคตและมีรายได้ที่สูงขึ้น เพราะคนที่มาเที่ยวเขาชอบโบราสถาน ชอบป่า ชอบธรรมชาติ ปัญหาของการลดป่าลงให้เหลือไม่ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ นอกจากจะไม่ทำให้ประเทศชาติยังยืน หรือเศรษฐกิจดีขึ้นแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องโลกร้อน น้ำป่าไหลหลาก นอกจากนี้การเอาป่าออกไป ยังต้องมีการชดเชยให้กับเกษตรกร ที่ได้รับความเดือดร้อน ผลเสียตามมากมาย
\"ชัยวัฒน์\" วอน ปชช. ร่วมค้านแบ่งพื้นที่ อช.ทับลาน เชื่อไม่ได้พัฒนา ศก. แต่เป็นการเอื้อทุน

ทั้งนี้ได้มีการพูดคุยกับกลุ่ม สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , สมาคมศิษย์เก่า คณะวนศาสตร์ , มูลนิธิสืบนาคะเสถียร , และกลุ่มเครือข่ายภาคีที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์ทั้งหลายว่า เราต้องสู้ให้ได้ เราต้องสร้างความตระหนักและความสำนึกให้กับคนไทย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งข้าราชการ นักการเมือง และที่สำคัญคือพี่น้องประชาชน แต่ถ้าท้ายที่สุดแล้วเราสู้ไม่ได้ เราก็ต้องพึ่งศาลยุติธรรมในการให้ศาลรับไต่สวนคดีของเรา

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า ส่วนตัวมองว่า ประชาชนทั่วไปไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ และอยากจะวอนขอพี่น้องประชาชน ช่วยกันมาโหวตไม่เห็นด้วย กับการที่จะนำพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลาน จำนวน 2 แสนกว่าไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยเข้าไปที่ลิงค์ของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จากนั้นให้มีการลงรายชื่อ อายุ และลงความเห็นว่า คัดค้านหรือไม่คัดค้านกับกรณีนี้ เพื่อที่จะช่วยเป็นปากเป็นเสียง ในการอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติของประเทศไทย
\"ชัยวัฒน์\" วอน ปชช. ร่วมค้านแบ่งพื้นที่ อช.ทับลาน เชื่อไม่ได้พัฒนา ศก. แต่เป็นการเอื้อทุน

เปิดหลักเกณฑ์กฎหมายอุทยานฯ ปมแปลงพื้นที่ป่าเป็นที่ดินทำกิน

สำหรับ พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 (ฉบับใหม่) ซึ่งได้รับการปรับปรุงให้กับเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และได้ประกาศบังคับใช้ไปเมื่อปลายปี พ.ศ.2562 โดยเน้นสาระสำคัญของ พ.ร.บ. กำหนดในบทเฉพาะกาล มาตรา 64 ให้กรมอุทยานแห่งชาติฯ สำรวจการถือครองที่ดินของประชาชน ที่ทำกินภายในเขตอุทยานแห่งชาติภายใน 240 วัน นับตั้งแต่กฎหมายประกาศใช้ 

หลังจากนั้นรัฐบาลก็จะต้องมีนโยบาย ในการช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกิน ผ่านการตราเป็น พ.ร.ฎ. สำหรับประชาชนที่จะได้รับความช่วยเหลือตาม พ.ร.ฎ. มาตรา 64 วางหลักเกณฑ์ไว้ว่า จะต้องเป็นบุคคลที่ไม่มีที่ดินทำกิน และอยู่อาศัยตามกรอบเวลาตามมติ ครม. วันที่ 30 มิ.ย. 41 หรือคำสั่ง คสช. ที่ 66/2557

กล่าวคือ ประชาชนที่จะได้รับอนุญาต ก็ต่อเมื่ออยู่อาศัยในพื้นที่ก่อนวันที่ 30 มิ.ย. 41 ซึ่งกำหนดให้มีการสำรวจการถือครองที่ดินของประชาชน ที่อยู่อาศัยหรือทำกินในพื้นที่อุทยานแห่งชาติก่อน พ.ร.บ. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ เพื่อนำไปสู่การจัดทำโครงการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตอุทยานแห่งชาติ โดยชุมชนที่อาศัยในพื้นที่อุทยานฯ จะไม่มีสิทธิในที่ดินนั้น หากแต่สามารถอยู่อาศัยทำกินได้ตามกรอบที่กฎหมายกำหนด
\"ชัยวัฒน์\" วอน ปชช. ร่วมค้านแบ่งพื้นที่ อช.ทับลาน เชื่อไม่ได้พัฒนา ศก. แต่เป็นการเอื้อทุน