svasdssvasds
เนชั่นทีวี

คืนสิทธิ์ทำกินบนที่ดินส.ป.ก. ยุติปมขัดแย้งชาวบ้านรุกที่อุทยานฯทับลาน | สืบสวนความจริง | 17 มิ.ย. 66 | PART 3

คืนสิทธิ์ทำกินบนที่ดินส.ป.ก. ยุติปมขัดแย้งชาวบ้านรุกที่อุทยานฯทับลาน | สืบสวนความจริง | 17 มิ.ย. 66 | PART 3

คืนสิทธิ์ทำกินบนที่ดินส.ป.ก. ยุติปมขัดแย้งชาวบ้านรุกที่อุทยานฯทับลาน

 

กว่า 26 ปี ที่ปัญหาที่ดินทำกินของชาวบ้านชาวอำเภอวังน้ำเขียว ปักธงชัย ครบุรี และเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา และชาวบ้านอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี มีข้อพิพาทแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ที่ประกาศทับซ้อนกับที่ดิน ส.ป.ก. และที่ทำกินของชาวบ้าน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีชาวบ้านถูกดำเนินคดีข้อหาบุกรุกอุทยานฯ มากกว่า 400 คดี

 

จนกระทั่งปี พ.ศ. 2543 คณะรัฐมนตรี ในขณะนั้นพยายามช่วยเหลือราษฎร โดยให้เจ้าหน้าที่ และภาคประชาชน ร่วมสำรวจและกันแนวเขต แต่ไม่สามารถประกาศออกเป็นกฎหมายได้ ประชาชนจึงมาร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน และดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

 

สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน  กล่าวว่า กรณีการจัดตั้ง อุทยานฯทับลาน อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่มีหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการปฎิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐหรือว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีทับลานเป็นกรณีที่พี่น้องประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากการออกพ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติทับลาน ทับซ้อนกับที่ทำกินที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน ผู้ตรวจการเมื่อได้รับข้อร้องเรียนได้ ประสานหน่วยงานเร่งแก้ไข

 

 

ชุณห์ ศิริชัยคีรีโกศล ตัวแทนภาคประชาชน กล่าวว่า ปัญหา ความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน การจับกุมชาวบ้านเป็นการกระทำที่ขาดคุณธรรม มีการทำแนวเขตปี 37 แก้หลายครั้งจนกระทั่งปี 43 มีการปักเสาแนวเขตร่วมกัน

 

ห้วงเวลาที่ผ่านมา ทั้งอุทยานฯ และ ส.ป.ก. พยายามร่วมกันแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ด้วยการสำรวจและปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน ให้ตรงตามสภาพความเป็นจริง โดยสำรวจ รังวัดแนวเขตอุทยานฯ การใช้ GPS รังวัดหาค่าพิกัด และฝังหลักแนวเขตให้ชัดเจน

 

มีพื้นที่ต้องกันออกจากแนวเขตอุทยานฯ 270,000 ไร่ และมีพื้นที่ที่มีสภาพป่าไม้ที่ต้องผนวกกลับมาเป็นพื้นที่อุทยาน 110,000 ไร่ แต่ก็ยังไม่ได้ตราเป็นกฎหมาย แต่อย่างใด

 

ประคอง มาตย์สำโรง ผู้ใหญ่บ้าน อ.ทับลาน กล่าวว่า หลักหมุดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 31 มิถุนายน 2541 ทีนี้ปัจจุบันทางคณะผู้ร้องเรียนความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนยืนยันขอใช้หลักแนวเขตปี 43ขอใช้พื้นที่และแนวเขตเป็นหลักแนวเขตที่แยกพื้นที่ทำกินของราษฎรและพื้นที่ป่าไม้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ในการที่เราได้ยื่นเรื่องไปกำลังจะเกิดผลสำเร็จกรณีพี่น้องที่มีความเดือดร้อนในเรื่องของที่ทำกิน หากรัฐบาลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามข้อร้องเรียนของชาวบ้านให้ใช้แนวเขตปีสี่สามเป็นหลักในการปรับปรุงแนวเขตความเดือดร้อนของพี่น้องจะหมดไป

 

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีนโยบายแก้ไขปัญหาการทับซ้อนกันของที่ดินรัฐ ด้วยการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินใหม่ ใช้มาตราส่วน 1 : 4000 หรือ OneMap ปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ ลดปัญหาที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากการทับซ้อนของที่ดินตามแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน โดยสามารถจำแนกปัญหาการทับซ้อน

 

และกำหนดกระจายการถือครองที่ดินให้กับผู้ยากไร้หรือเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองอย่างถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ ไม่มีการออกเอกสารสิทธิในที่ดินรัฐ ไม่มีการเอื้อประโยชน์ต่อนายทุนที่บุกรุกหรือซื้อขายที่ดินรัฐ

 

ภายหลังจากการแก้ไขปัญหาการทับซ้อนของที่ดินแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลานจะมีประชาชนที่ได้รับประโยชน์มากกว่า 20,000 ครัวเรือน

 

สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน  กล่าวว่า สคทช.ดำเนินโครงการแนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ วันแมป กำหนดแนวเขตชัดเจนปัญหาที่ดินจะหมดไป กรณีมีการเปลี่ยนมือไปสู่ในทุนไปทำนอกเหนือวัตถุประสงค์ก็คงต้องมีการดำเนินการตามกฏหมาย

 

สมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าฯ จ.นครราชสีมา กล่าวว่า มติ ครม.ชัดเจนเห็นชอบดำเนินคดีผู้ที่ทำผิดกฏหมาย ให้ดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป

 

14 มีนาคม 2566 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยยึดพันธสัญญาเมื่อปี 2543 ที่เคยสำรวจและกันแนวเขตอุทยานฯ มาเป็นทางออกและประกาศใช้แนวเขต ปี 2543 ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เร่งสำรวจความถูกต้องภายใน 3 เดือน ซึ่งครบกำหนดเมื่อวันที่ 13 มิ.ย.ที่ผ่านมา สร้างความดีใจให้แก่ชาวบ้านที่เคยได้รับผลกระทบจากปัญหานี้มาอย่างยาวนาน

 

แต่ถึงกระนั้น ชาวบ้าน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ยังคงเดือดร้อนกรณีที่ถูกกรมป่าไม้ ขับไล่ออกจากที่ดินทำกินซึ่งแต่เดิมเป็นพื้นที่บรรพบุรุษ จึงร้องขอหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ความเป็นธรรมคืนพื้นที่ทำเกษตรกรรมให้แก่ชาวบ้าน เพราะหากยิ่งล่าช้า ชาวบ้านกลัวว่าจะไม่เกิดความเป็นธรรม

 

สมศักดิ์ สุวรรณสุจริต  ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน  กล่าวว่า สำนักงานพูดตรวจการแผ่นดิน เข้าใจหัวอกพี่น้องประชาชนที่ถูกดำเนินคดี แนวเขตปี 43 ชาวบ้านมีหลักยึดน่าจะเป็นประโยชน์กับชาวบ้านในการดำเนินคดี

 

สมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าจ.นครราชสีมา กล่าวว่า บ้านที่ถูกดำเนินคดีต้องอยู่ในขบวนการยุติธรรมมีการให้คำปรึกษาศูนย์ดำรงธรรมช่วยเหลือดำเนินคดี