svasdssvasds
เนชั่นทีวี

โซเชียล

"เด็กเล็ก" เสี่ยงป่วย "กรมการแพทย์" แนะวิธีป้องกัน หลังฝุ่น PM 2.5 เพิ่ม

"เด็กเล็ก-มีโรคประจำตัว" เสี่ยงป่วยสูงกว่าผู้ใหญ่ "กรมการแพทย์" แนะ วิธีป้องกัน หลังค่าฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

14 มกราคม 2568 เพจเฟซบุ๊ก "กรมการแพทย์" โพสต์ข้อความว่า

 

\"เด็กเล็ก\" เสี่ยงป่วย \"กรมการแพทย์\" แนะวิธีป้องกัน หลังฝุ่น PM 2.5 เพิ่ม

 

 

ส.เด็ก กรมการแพทย์ แนะแนวทางให้เด็กและผู้ปกครองป้องกันภัยจาก ฝุ่น PM 2.5   กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี  ชี้ ค่าฝุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและเด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที

นายแพทย์อัครฐาน จิตนุยานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กล่าวว่า เพื่อลดความเสี่ยงของฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นอันตรายต่อเด็ก ผู้ปกครองควรติดตามสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในเว็บไซต์กรมอนามัยหรือแอพพลิเคชั่น Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ 

 

 

\"เด็กเล็ก\" เสี่ยงป่วย \"กรมการแพทย์\" แนะวิธีป้องกัน หลังฝุ่น PM 2.5 เพิ่ม

เมื่อระดับ PM 2.5มากกว่า 37.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ควรสวมหน้ากากอนามัยและไม่ควรออกกำลังกายกลางแจ้ง เมื่อค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงของ PM 2.5 มากกว่า 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร

ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้ง และพิจารณาให้ควรหยุดเรียน หากระดับ PM 2.5 มากกว่า 90 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรติดต่อกันเกิน 3 วันหรือ 151 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรในวันนั้น  

 


ในกรณีเด็กที่มีโรคประจำตัวควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิดและสังเกตอาการ หากพบว่ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอบ่อย หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจไม่ออกให้รีบไปพบแพทย์

 


นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ฝุ่นละออง PM 2.5 คือฝุ่นมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมมนุษย์ถึง 25 เท่า ทำให้สูดเข้าไปในร่างกายได้โดยตรง ความรุนแรงของฝุ่น PM 2.5 มีอันตรายต่อเด็กเพราะสามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกาย และทำลายระบบต่างๆ ได้ โดยเฉพาะเด็กเล็กเป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงที่อาจได้รับผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้ 

 

 

เด็กเล็กเสี่ยงอันตรายสูง กรมการแพทย์แนะ วิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5

 

 

เด็กที่สัมผัสกับมลพิษทางอากาศในระดับสูง อาจมีความเสี่ยงต่อปอดของเด็ก เนื่องจากยังพัฒนาไม่เต็มที่ มีอัตราหายใจที่ถี่กว่าผู้ใหญ่และสูดอากาศที่มีมลพิษเข้าไปมากกว่าผู้ใหญ่ ยิ่งเด็ก อายุน้อยเท่าไรอัตราการหายใจเข้าต่อนาทีก็ยิ่งถี่มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้น พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรดูแลเด็กทั้งกลุ่มปกติทั่วไปและเด็กที่มีโรคประจำตัวโดยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด

 

อย่างไรก็ตาม กรมการแพทย์ โดยสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผยค่าฝุ่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและเด็กที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคหอบหืด โรคภูมิแพ้ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพบแพทย์ทันที

 

 

โดยวิธีป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่ทำได้ทันที

 

 

1.การสวมใส่หน้ากากอนามัยที่สามารถกรองฝุ่น PM 2.5 ได้ 


2.งดกิจกรรมที่ก่อให้เกิด PM2.5 เช่น การเผาใบไม้ เผาขยะและสูบบุหรี่

 
3.ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิดโดยระวังไม่ให้ห้องร้อนจนเกินไป 


4.ถูพื้นโดยใช้ผ้าเปียกเพื่อลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นละออง 


5.ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 6 – 8 แก้วต่อวัน 


6.ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศ ที่สามารถกำจัดฝุ่น PM 2.5 ภายในบ้านหรือที่พักอาศัยได้ 


7.ไม่ควรใช้เครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่มีการผลิตโอโซน เพราะโอโซนในปริมาณมากเป็นมลพิษอย่างหนึ่ง 

 

 

 #กรมการแพทย์ #สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี #PM 2.5 ฝุ่นร้ายอันตรายต่อเด็ก    

 

 

\"เด็กเล็ก\" เสี่ยงป่วย \"กรมการแพทย์\" แนะวิธีป้องกัน หลังฝุ่น PM 2.5 เพิ่ม

 

 

ข้อมูลและภาพจาก www.thaihealth.or.th / เพจเฟซบุ๊ก กรมการแพทย์