svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าวทั่วไทย

"ผู้เชี่ยวชาญน้ำ" เตือนพายุดีเปรสชั่นลูกใหม่พัดถล่ม "เหนือ-อีสานตอนบน"

"ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำ ประเทศไทย" เตือนวิกฤติอีก "ภาคเหนือ-อีสานตอนบน" เตรียมเจอ เจอพายุดีเปรสชั่นลูกใหม่-หย่อมฝนกำลังแรง เคลื่อนตัวผ่านลาวเข้ามา เกิดฝนตกหนัก 19-21 กย.นี้ ซ้ำเติมพื้นที่น้ำท่วมเดิม

วันที่ 17 กันยายน 2567 นายชวลิต จันทรรัตน์ วิศวกรแหล่งน้ำ และกรรมการ บมจ. ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ (TEAMG) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องน้ำของประเทศไทย แจ้งเตือนพายุดีเปรสชัน หย่อมฝนกำลังแรง 

 

 

\"ผู้เชี่ยวชาญน้ำ\" เตือนพายุดีเปรสชั่นลูกใหม่พัดถล่ม \"เหนือ-อีสานตอนบน\"

 

 

โดยระบุว่า "มีการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงขึ้น ในพื้นที่ตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์  ซึ่งจะเพิ่มกำลังแรงขึ้น แล้วจะเคลื่อนที่มาทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย จากตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ ผ่านทะเลจีนใต้ จะมาขึ้นฝั่งที่เมืองดานัง (เวียดนาม)"

วันที่ 19 ก.ย.67 จะให้ฝนตกหนักถึงหนักมาก ที่เมืองดานัง(เวียดนาม) ท่าแขก(ลาว) และพื้นที่ใกล้เคียง


วันที่ 20 ก.ย. 67 จะทำให้ฝนตกหนักมากที่ นครพนม และฝนตกหนักที่สกลนคร บึงกาฬหนองคาย อุดรธานี และพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงฝนตกหนักมากในตอนกลางของประเทศลาว


วันที่ 21 ก.ย.67 จะทำให้ฝนตกหนักมากที่น่านตอนบน  และฝนตกหนักที่แพร่ตอนบน ลำปางตอนบน พะเยา เชียงราย และเชียงใหม่ตอนบน


วันที่ 22 ก.ย.67 ทำให้ฝนตกหนักในตอนกลางของประเทศเมียนมา แล้วเคลื่อนที่ต่อไปสลายตัว ที่ชายแดนของประเทศเมียนมากับบังคลาเทศ

 


         
ส่วนพายปูลาซัน (14:Pulasan=เงาะมาเลเซีย) ก่อตัวขึ้นเป็นพายุลูกที่ 14 ของปีนี้ เคลื่อนที่ไปทางทิศเหนือค่อนไปทางตะวันตก จะไม่มีผลต่อไทย


วันที่ 18 ก.ย.67 ทำให้ฝนตกหนักมากที่ไต้หวัน


วันที่ 19 ก.ย.67 ทำให้ฝนตกหนักมากที่เมืองเซี้ยเหมิน มลฑลฝูเจี้ยน และพื้นที่ใกล้เคียง


วันที่ 20 ถึง 21 ก.ย.67 ทำให้ฝนตกหนักที่มณฑลเจียงสี แล้วสลายตัวไป

 

 

นอกจากนี้ ผู้ใช้เพจเฟซบุ๊ก "ฝ่าฝุ่น" 

ได้ออกมาอัปเดตสถานการณ์ของดีเปรสชัน 98W ที่ขณะนี้ออกจากชายฝั่งฟิลิปปินส์มุ่งหน้าเวียดนามแล้ว และกำลังผ่านน่านน้ำที่มีศักยภาพในการขุนพายุได้ดีที่สุดในโลกตอนนี้ ทำให้เราต้องเฝ้าติดตามพายุลูกนี้ให้ดี เส้นทาง คือ 

 

 

\"ผู้เชี่ยวชาญน้ำ\" เตือนพายุดีเปรสชั่นลูกใหม่พัดถล่ม \"เหนือ-อีสานตอนบน\"

 

 

ผ่านตอนกลางของเวียดนาม มายังลาว เข้าสู่อีสานเหนือ ไปยัง น่าน พะเยา และ เชียงราย (อีกแล้ว)

 

 

\"ผู้เชี่ยวชาญน้ำ\" เตือนพายุดีเปรสชั่นลูกใหม่พัดถล่ม \"เหนือ-อีสานตอนบน\"

 

ในอนาคตเมื่อโลกเดือดขึ้นเรื่อยๆ เราจะประสบกับความเหวี่ยงของฝน จากแล้งๆ จะเป็นฝนบอมป์หรือพายุที่รุนแรงทวี โดยมีกำลังได้เร็วมาก และสภาพฝนเหวี่ยงแบบนี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เราคงหยุดโลกร้อนไม่ได้มาก เพราะมันตั้งอยู่พื้นฐานของความรักสบาย เห็นแก่ตัว และทุนนิยม 

 

สำหรับคนไทยมีวิธีสร้างภูมิคุ้มกัน มีดังนี้


1. ปรับตัวกับสภาพที่ต้องอยู่กับน้ำคงเหมือนสมัยปู่ย่าตายายที่เราอยู่กับคลอง หรือน้ำท่วม ฯลฯ ได้โดยไม่เดือดร้อนเท่าไร น้ำเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต 


2. บริหารจัดการน้ำให้เก่ง เริ่มจากระบบเล็กๆ ด้วยการบริหารห้วยหลังหมู่บ้าน ขุดบ่อเก็บน้ำ (ทำโดยชาวบ้าน) ไปจนถึงระบบขนาดกลางและใหญ่ (ทำโดยราชการ) ให้มีความสามารถในการเก็บและชะลอน้ำไว้ได้ ให้มันลงเก็บใต้ดิน เพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหารและทรัพยากรน้ำ 


3. รักษาป่าไม้ให้สมบูรณ์ข้อมูลจากกรมอุทยานฯ พบว่า สัดส่วนป่าเต็งรังนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หมายความว่า ป่าเบญจพรรณกำลังเปลี่ยนมาเป็นป่าเต็งรังมาขึ้นเรื่อยๆ หรือในภาษาชาวบ้าน ป่าโดยรวมกำลังลดความสมบูรณ์ชุ่มชื้นลงจากน้ำที่ป่าเก็บกักไว้ลดลงเรื่อยๆ

 

ขั้นต่อไปคือ ป่าเต็งรังจะกลายมาเป็นทุ่งหญ้าซึ่งเป็นเชื้อไฟอย่างดี เราควรรักษาป่าให้สมบูรณ์ที่สุดด้วยการไม่ “ตอแย” การจุดเผาป่าเป็นการตอแยที่แย่ที่สุด โชคดีแค่ไหนแล้วที่ป่ายังฟื้นฟูตัวเองให้หายป่วยได้เอง ป่านั้นจะเป็นกันชนกับการเหวี่ยงของฝน ทั้งน้ำเยอะเกินและน้ำแล้ง มันจะทำให้เรามีน้ำใช้ตลอดปี 


อย่างไรก็ตาม ณ จุดนี้เห็นใจคนเชียงรายมาก ว่าบางคนยังไม่ทันได้ล้างบ้านเลย หรือเข้าบ้านก็ไม่ได้ น้ำก็ยังไหลเชี่ยวหรือมีโคลนหนาเป็นฟุตๆ มีโอกาสจะโดนอีกลูกซะแล้ว พนักงานบริษัทผมรวมตัวกันจะขึ้นไปช่วยชาวแม่สาย เสาร์-อาทิตย์นี้ อาจจะไปพบกับพายุลูกนี้พอดี ส่วนผมบริจาคเงินไปกับมูลนิธิเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก