svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าวทั่วไทย

มวลน้ำจากสุโขทัยเริ่มถึงพิจิตรแล้ว ส่วนที่พิษณุโลกแม่น้ำน่านสูงขึ้น

มวลน้ำเหนือจากสุโขทัยและพิษณุโลก เข้าสู่พื้นที่จังหวัดพิจิตรแล้ว ขณะที่ผู้ว่าฯพิจิตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งบริหารจัดการน้ำและล่องเรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อำเภอสามง่าม ขณะที่พิษณุโลก แม่น้ำน่านขึ้นสูง ยังไม่มีผลกระทบตัวเมือง

จากเหตุกการณ์ฝนถล่มภาคเหนือ ส่งผลให้เกิดน้ำท่วม ดินถล่มในหลายพื้นที่ทางภาคเหนือช่วง และมวลน้ำจำนวนมากไหลจากภาคเหนือลงมาท่วมจังหวัดพิจิตร เมื่อช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมา


30 สิงหาคม 2567 ที่จังหวัดพิจิตร สถานการณ์น้ำเหนือจากจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ได้ไหลทะลักมาตามลำน้ำยม ไหลเข้าสู่พื้นที่ตอนล่าง หลายหมู่บ้านของตำบลรังนก อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตรแล้ว 

 

มวลน้ำจากสุโขทัยเริ่มถึงพิจิตรแล้ว ส่วนที่พิษณุโลกแม่น้ำน่านสูงขึ้น

โดยวันนี้ นายอดิเทพ กมลเวชช์  ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร พร้อมด้วยนายกเหล่ากาชาดจังหวัดพิจิตร ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิจิตร นายอำเภอสามง่าม  กอ.รมน.จังหวัดพิจิตร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์มวลน้ำเหนือที่บ้านจระเข้ผอม ตำบลรังนก อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร 

 

มวลน้ำจากสุโขทัยเริ่มถึงพิจิตรแล้ว ส่วนที่พิษณุโลกแม่น้ำน่านสูงขึ้น

 

 

มวลน้ำจากสุโขทัยเริ่มถึงพิจิตรแล้ว ส่วนที่พิษณุโลกแม่น้ำน่านสูงขึ้น

ซึ่งบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่รับน้ำยมจากตอนบนเป็นจุดแรกของจังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำและทุกๆปีจะเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก โดยพบว่าระดับน้ำยมได้เริ่มเอ่อล้นตลิ่งไหลท่วมบ้านเรือนประชาชน  ถนนหนทางต่างๆ ในหลายหมู่บ้านของตำบลรังนก เช่นบ้านจระเข้ผอม บ้านเกาะสาลิกา บ้านปากคลอง และบ้านรักนก พร้อมสั่งการให้หน่วยงานชลประทานจังหวัดพิจิตร ผันนมวลน้ำยมระบายลงสู่แม่น้ำน่าน ที่คลอง DR 2.8 บ้านท่าแห ตำบลกำแพงดิน อำเภอสามง่าม เพื่อลดความรุนแรงของกระแสน้ำท่วมให้เบาบางลง และลดปัญหาอุทกภัยในลุ่มน้ำยมตอนล่าง รวมถึงแม่น้ำน่านในพื้นที่อำเภอบางมูลนาก ก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาในจังหวัดนครสวรรค์ต่อไป   

 


     
นายอดิเทพ กมลเวชช์  ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร กล่าวว่า จังหวัดพิจิตรมีวิธีการบริหารจัดการน้ำโดยเราต้องรีบผลักดันน้ำไปแม่น้ำเจ้าพระยาให้เร็วที่สุด ในส่วนของโรงเรียนต้องเปิดเรียนให้ได้ เราจะทำการตั้งกระสอบทรายล้อมรอบโรงเรียนเพื่อให้น้ำไม่เข้าไปในเขตโรงเรียนแล้วจัดเตรียมเครื่องสูบน้ำเพื่อระบายน้ำให้ไปอยู่ในแม่น้ำ สำหรับจังหวัดพิจิตรสามารถเตรียมความพร้อมรองรับน้ำไว้ได้ ที่ต้องระวังคือเดือนกันยายน ในพื้นที่นี้เราได้สำรวจดูแล้วว่าระดับน้ำไม่ได้เยอะมาก เราจะตั้งแนวกระสอบทรายเพื่อบล็อคน้ำแล้วจัดหาเครื่องสูบน้ำมาสูบออก 

 

 

วิธีการแก้ปัญหาคือ บล็อค ล็อค แล้วก็สูบ การบล็อคคือใช้กระสอบทรายเพื่อบล็อคน้ำไม่ให้ไหลเข้าพื้นที่ การล็อคคือการล็อคให้น้ำอยู่แต่ในแม่น้ำลำคลอง แล้วเราก็จะสูบน้ำจากพื้นที่ลงไปในแม่น้ำยมแม่น้ำน่าน จังวัดพิจิตรเราสามารถรับน้ำได้แค่ 600 ลูกบาศเมตรต่อวินาที แต่น้ำมาจากสุโขทัยประมาณ 1500 ลูกบาศเมตรต่อวินาที เรากำลังติดต่อชลประทานเพื่อขอเครื่องพลักดันน้ำให้ระบายไปโดยเร็วที่สุด เราได้ประสานผู้ว่านครสวรรค์ น้ำทั้งหมดจะเข้าไปที่ชุมแสงแล้วเข้าแม่น้ำเจ้าพระยาต่อไป ซึ่งในวันนี้ได้ล่องเรือนำถุงยังชีพพระราชทานของพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยพสกนิกรที่ประสบอุทกภัยมามอบให้การช่วยเหลือบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนในพ้นที่ 4 หมู่บ้านของตำบลรังนก อำเภอสามง่าม จำนวน 84 ครัวเรือนเพื่อบรรเทาทุกข์

 


พิษณุโลก แม่น้ำน่านขึ้นสูง ยังไม่มีผลกระทบตัวเมือง

 

มวลน้ำจากสุโขทัยเริ่มถึงพิจิตรแล้ว ส่วนที่พิษณุโลกแม่น้ำน่านสูงขึ้น

 

ที่จ.พิษณุโลก สถานการณ์แม่น้ำน่าน ที่ไหลผ่านอำเภอเมืองพิษณุโลก สูงขึ้นจากเมื่อวานนี้ 1 เมตร โดยเช้านี้อยู่ที่ระดับ 6.81 เมตร ห่างจากระดับตลิ่งมาก(ระดับตลิ่ง 10.37 เมตร )  ไม่มีผลกระทบกับน้ำท่วมตัวเมือง 

 

 

มวลน้ำจากสุโขทัยเริ่มถึงพิจิตรแล้ว ส่วนที่พิษณุโลกแม่น้ำน่านสูงขึ้น

 

โดย 2 วันที่ผ่านมา เขื่อนสิริกิติ์จ. อุตรดิตถ์ งดการระบายน้ำ น้ำน่านพิษณุโลกที่เพิ่มขึ้นมาจาก ฝนที่ตกในจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และอีกส่วนระบายน้ำแม่น้ำยมมาจากอำเภอศรีสัชนาลัยจังหวัดสุโขทัย และระบายลงแม่น้ำน่านที่อำเภอพิชัยจังหวัดอุตรดิตถ์


         
ขณะที่แม่น้ำน่านช่วงไหลผ่านตัวเมืองพิษณุโลกขึ้นสูงนี้ ชาวพิษณุโลกต่างออกมาชมภาพบรรยากาศ และถ่ายภาพเก็บไว้ นับว่าเป็นการขึ้นสูงครั้งแรกในรอบปีนี้ บรรยากาศที่สวนชมน่านระดับน้ำเริ่มขึ้นมาถึงบริเวณทางวิ่งด้านล่าง เช้านี้บริเวณขอบปูนเต็มไปด้วยแมลงสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ หนีน้ำยั้วเยี้ยะไปหมด ทั้งมด กิ้งกือ ไส้เดือน และตะขาบ

 

 

มวลน้ำจากสุโขทัยเริ่มถึงพิจิตรแล้ว ส่วนที่พิษณุโลกแม่น้ำน่านสูงขึ้น


        
ส่วนสถานการณ์น้ำที่แม่น้ำยมสายเก่าและแม่น้ำยมสายหลัก บางส่วนระบายเข้าทุ่ง อีกบางส่วนล้นตลิ่ง มีผลกระทบกับบ้านเรือนประชาชนที่อยู่อาศัยริมฝั่งจำนวนหนึ่งในเขตอำเภอพรหมพิรามและอำเภอบางระกำ