svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

"มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ" คร่าชีวิต ภัยร้ายที่พบยาก

จากข่าวเศร้าวงการบันเทิง จากการสุญเสียดาราหนุ่มชื่อดัง “อ๋อม อรรคพันธ์” หลัง “มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ" ภัยร้ายที่พบยาก คร่าชีวิต

"มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ" จัดอยู่ในประเภทมะเร็งกล้ามเนื้อ (Muscle tissue cancer) ซึ่งคือโรคที่เกิดจากเซลล์

 

 

เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อมัดใดก็ได้เกิดกลายพันธ์เจริญเติบโต แบ่งตัว รวดเร็วผิดปกติที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมการเจริญแบ่งตัวนี้ได้ จนเกิดเป็นก้อนมะเร็ง / แผลมะเร็ง ลุกลามทำลายเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อนั้นๆ จนสูญเสียการทำงาน หรือ ลุกลามทำลายเนื้อเยื่อ / อวัยวะข้างเคียง เช่น กล้ามเนื้อข้างเคียง กระดูก ลุกลามเข้าทำลายต่อมน้ำเหลือง และในที่สุดจะแพร่กระจายเข้าสู่ระบบน้ำเหลืองไปทำลายต่อมน้ำเหลืองทั่วตัว และหรือรุกรานเข้ากระแสโลหิต/เลือดเข้าลายอวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ที่พบบ่อยคือ ปอด

 

 

มะเร็งกล้ามเนื้อเป็นโรคที่พบทั่วโลก แต่พบน้อย พบในทุกอายุ ทั้ง 2 เพศ และมีหลากหลายชนิดย่อย บางชนิดพบบ่อยในเด็ก บางชนิดพบในผู้ใหญ่

 

ทั้งนี้ กล้ามเนื้อ (Muscle) จัดเป็นเนื้อเยื่อกลุ่มเนื้อเยื่ออ่อน ดังนั้นจึงจัดอยู่ในมะเร็ง มะเร็งเนื้อเยื่ออ่อน โดยเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อประกอบด้วย เนื้อเยื่อตัวกล้ามเนื้อเอง เนื้อเยื่อเอ็นกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อพังผืด (Fibrous tissue, เนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มกล้ามเนื้อ) ซึ่งทุกชนิดพบเกิดเป็นมะเร็งได้

 

 

 

โดย เนื้อเยื่อตัวกล้ามเนื้อ แบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่

1. กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ติดกับกระดูก ทำงานร่วมกับกระดูก(จึงเรียกอีกชื่อว่า Skeletal muscle)เพื่อการเคลื่อนไหวร่างกายโดยเฉพาะ แขน ขา มือ นิ้ว เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงาน/เคลื่อนไหวตามคำสั่งของสมอง จึงมีอีกชื่อว่า ‘Voluntary muscle’ เป็นกล้ามเนื้อที่คิดเป็นประมาณ 36% ของกล้ามเนื้อทั้งหมดในผู้หญิง แต่ประมาณ 42% ในผู้ชาย

 

 

2. กล้ามเนื้อเรียบ(Smooth muscle) เป็นกล้ามเนื้อของผนังอวัยวะภายในทั้งหมด(จึงมีอีกชื่อว่า Visceral muscle)โดยเฉพาะอวัยวะที่มีลักษณะเป็นท่อ เช่น ระบบทางเดินอาหาร ระบบทางเดินปัสสาวะ ผนังมดลูก เป็นกล้ามเนื้อที่ทำงาน/เคลื่อนไหวโดยประสาทอัตโนมัติ จิตใจ/สมองไม่สามารถควบคุมการทำงานของมันได้ เช่น การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้ เป็นต้น จึงมีอีกชื่อว่า ‘Involuntary muscle’

 

 

3. กล้ามเนื้อหัวใจ(Cardiac muscle)เป็นกล้ามเนื้อในกลุ่มกล้ามเนื้อเรียบ แต่มีลักษณะคล้ายกล้ามเนื้อลายด้วย เป็นกล้ามเนื้อที่มีการบีบตัวโดยอัตโนมัติเช่นกัน และเป็นชนิดมีอยู่เฉพาะที่หัวใจ

@โรคมะเร็งกล้ามเนื้อเกิดได้อย่างไร? มีปัจจัยเสี่ยงไหม?

โรคมะเร็งกล้ามเนื้อ เป็นโรคไม่ทราบสาเหตุและปัจจัยเสี่ยง น้อยรายที่พบ มีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมผิดปกติที่ส่วนใหญ่เป็นพันธุกรรมชนิดไม่ถ่ายทอด

 

@มะเร็งกล้ามเนื้อมีกี่ชนิด?

เนื้อเยื่อในกลุ่มกล้ามเนื้อทุกชนิด เกิดเป็นมะเร็งได้ทุกชนิดในทั้ง 2 เพศ และมีหลากหลายชนิดย่อย อย่างไรก็ตาม ทุกชนิดเป็นโรคพบยาก

 

มะเร็งกล้ามเนื้อชนิดพบบ่อยกว่าชนิดอื่นๆ แต่ก็ยังเป็นชนิดพบน้อย ได้แก่ ได้แก่

 

1. มะเร็งกล้ามเนื้อลาย

2. มะเร็งกล้ามเนื้อเรียบ

3. มะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ เป็นโรคพบทุกอายุ แต่พบน้อยมากๆ ในเด็ก ทั่วไปเป็นโรคของผู้ใหญ่

4.เนื้องอกเดสมอยด์(Desmoid tumor) 5. Malignant fibrous histiocytoma ย่อว่า MFH 6. Myxofibrosarcoma และ 7. Fibrosarcoma

 

สำหรับอาการของมะเร็งกล้ามเนื้อหัวใจ อาการที่พบจะเป็นอาการของโรคหัวใจ เช่น เหนื่อยง่าย เป็นลมบ่อย หัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตต่ำ บวมเนื้อตัว แขน ขา จนถึงอาการของหัวใจวาย

 

แพทย์วินิจฉัยมะเร็งกล้ามเนื้อได้จา

 

1.การสอบถาม/ซักถามประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วย ที่สำคัญคือ ประวัติอาการ

2.การตรวจคลำก้อนเนื้อ

3.การตรวจร่างกาย

4.การตรวจคลำต่อมน้ำเหลือง

5.และที่ได้ผลแน่นอนคือ การตัดชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้อหรือถ้าก้อนขนาดเล็ก ก็จะผ่าก้อนนั้นออกทั้งก้อนและนำไปตรวจทางพยาธิวิทยา

 

ซึ่งถ้าผลออกมาเป็นมะเร็ง แพทย์จะตรวจสืบค้นเพิ่มเติมเพื่อประเมินสุขภาพผู้ป่วยและระยะโรค เช่น การตรวจเลือดซีบีซี, การตรวจปัสสาวะ, การตรวจเลือด เช่น ดูการเป็นเบาหวาน ดูการทำงานของตับ และดูการทำงานของไต, การตรวจภาพก้อนเนื้อด้วยเอกซเรย์ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ และ/หรือเอมอาร์ไอ

 

อนึ่ง ทั่วไปมะเร็งกล้ามเนื้อ เป็นเซลล์มะเร็งที่ไม่สร้างสารมะเร็ง แพทย์จึงไม่มีการตรวจหาสารมะเร็ง

 

@โรคมะเร็งกล้ามเนื้อมีวิธีรักษาอย่างไร?

– วิธีรักษาหลักของมะเร็งกล้ามเนื้อ คือ ‘การผ่าตัด’

– ส่วนรังสีรักษาและยาเคมีบำบัด แพทย์จะพิจารณารักษาในผู้ป่วยเป็นรายๆไป เพราะเซลล์มะเร็งกล้ามเนื้อ ทั่วไปมักตอบสนองได้ไม่ดีทั้งต่อรังสีรักษาและยาเคมีบำบัด

– ส่วน ยารักษาตรงเป้า/ ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง มีการรักษาที่ได้ผลเฉพาะในมะเร็งกล้ามเนื้อบางชนิด เช่น เนื้องอกจีสต์ ส่วนชนิดอื่นๆ ยังอยู่ในการศึกษา

 

 

ขอคุณภาพและข้อมูลจาก “หาหมอ” และ "bangkokhearthospital"