ความคืบหน้าคดี "ดิไอคอน" จากกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาในการดำเนินคดีอาญากับ บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก ในฐานความผิด พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 และ พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545 และคดีพิเศษที่ 115/2567 การดำเนินคดีฟอกเงินทางอาญาของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด
ก่อนหน้านี้ คณะพนักงานสอบสวนมีมติเอกฉันท์สั่งฟ้องผู้ต้องหา ในฐานความผิด 4 ข้อกล่าวหา ก่อนสรุปสำนวน และส่งสำนวนให้พนักงานอัยการคดีพิเศษ ในวันที่ 25 ธ.ค.2567 โดยแจ้งความผิด ได้แก่
ล่าสุด วันนี้ (8 ม.ค.) อัยการพิจารณา สั่งฟ้อง ดังนี้
ทั้งนี้ สั่งไม่ฟ้อง นายยุรนันท์ ภมรมนตรี หรือ บอสแซม ผู้ต้องหาที่ 17 และ น.ส.พีชญา วัฒนามนตรี หรือ บอสมิน ผู้ต้องหาที่ 18
นายศักดิ์เกษม นิไทรโยค โฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวถึงสาเหตุที่อัยการสั่งไม่ฟ้อง นายยุรนันท์ หรือ บอสแซม และ น.ส.พีชญา หรือ บอสมิน ว่า เหตุผลที่อัยการสั่งไม่ฟ้องขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะยังมีส่วนของผู้ต้องหาที่ถูกสั่งฟ้องและคำสั่งไม่ฟ้องยังไม่เด็ดขาด ต้องเสนอต่ออธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อพิจารณาว่าจะเห็นชอบหรือเห็นแย้ง จึงไม่สามารถกล่าวถึงรายละเอียดทั้งหมดได้
"ผู้ต้องหาทั้งสอง มีพยานหลักฐานไม่พอรับฟังได้ว่า ทั้งคู่ร่วมกระทำความผิด ในข้อหาดังกล่าวกับผู้ต้องหาอื่น"
นายศักดิ์เกษม กล่าวอีกว่า ในทางปฏิบัติเมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้อง ต้องยื่นคำร้องต่อศาลให้ปล่อยผู้ต้องหาที่สั่งไม่ฟ้อง หลังจากนั้นต้องปล่อยตัว ไม่ว่าจะครบกำหนดฝากขังหรือไม่ ส่วนประเด็นการสั่งไม่ฟ้องเด็ดขาดหรือไม่ ต้องรอเสนออธิบดีดีเอสไออีกครั้ง
เมื่อถามว่าหากกรณีดีเอสไอมีคำแย้งมา สำนักอัยการสูงสุดจะเป็นผู้ชี้ขาดตามกฎหมายหรือไม่ นายชาญชัย ชลานนท์นิวัฒน์ อัยการอาวุโส ทีปรึกษาสํานักงานคดีอาญา กล่าวว่า ในกระบวนการดำเนินคดีอาญาของใครก็แล้วแต่ จะมีหลักประกันต่อผู้ถูกกล่าวหาและให้ความเป็นธรรมกับผู้เสียหาย การเป็นคนพิจารณาสำนวนการสอบสวนสำนวนจากดีเอสไอ ถือเป็นการกลั่นกรองในเบื้องต้นว่าการรวบรวมหลักฐานของดีเอสไอจะนำมาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง และความเห็นของดีเอสไอในขั้นแรกถือเป็นดุลพินิจของดีเอสไอ
หลังจากที่อัยการนำมาพิจารณาอีกรอบถือว่าเป็นความเห็นของทางฝั่งอัยการ ซึ่งมีความเห็นตรงกันในส่วนของผู้ต้องหาทั้ง 17 รายว่าควรสั่งฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 17 ราย ส่วนอีก 2 รายมีความเห็นแตกต่างว่าพยานหลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะรับฟัง ในกระบวนการนี้จะกลับไปสู่อธิบดีดีเอสไออีกครั้ง
"ต้องเรียนต่อสื่อมวลชนว่าการทำงานของพนักงานอัยการ ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานอัยการคดีประเภทใดจะมีการสั่งควบคุมคดีอยู่แล้ว เมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องกระบวนการจะไม่จบตรงนี้ จึงต้องไปยังอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ"
เมื่อถามว่าความเห็นของการร้องขอความเป็นธรรมที่ฝั่งดิไอคอน บอกว่าไม่มีการสอบพยานที่ต้องการทั้งหมด ฝั่งอัยการรับฟังส่วนนี้อย่างไรบ้าง นายชาญชัย กล่าวว่า ในส่วนนี้ตนต้องเรียนว่าในส่วนนี้ยังไม่ได้ลงในเนื้อใน แต่โดยหลักการ พยาน 10 ปากมีข้อเท็จจริงเหมือนกัน แต่พนักงานสอบสวน สอบไปแล้ว 8 อีก 2 อาจจะใช้ดุลพินิจว่ามีความเหมือนกันก็ได้ แต่ถ้าเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่เหมือน ทางเราจะสอบสวนให้
เมื่อถามว่าผู้เสียหายสามารถฟ้องผู้ต้องหาทั้ง 2 ที่อัยการสั่งไม่ฟ้องอีกได้หรือไม่ นายชาญชัย กล่าวว่า ถ้าเป็นการแจ้งข้อหาเดิมที่ผู้ต้องหาทั้ง 2 ได้รับก่อนหน้านี้ ไม่สามารถทำได้ แต่ถ้ามีพยานหลักฐานที่สามารถฟ้องในข้อหาใหม่อีกครั้ง สามารถทำได้
รายงานข่าวแจ้งว่า สาเหตุการสั่งไม่ฟ้อง มิน พีชญา กับ แซม ยุรนันท์ ในข้อกล่าวหาที่บอสทั้ง 2 คนถูกพนักงานสอบสวนดีเอสไอได้แจ้งข้อหา ตัวการร่วมกระทำความผิดนั้น เคยมีการท้วงติงในที่ประชุมร่วมพนักงานสอบสวนดีเอสไอและอัยการ เพราะคำให้การของผู้เกี่ยวข้องและพยานหลักฐานที่ได้ เชื่อได้ว่า แซมไม่ได้มีส่วนรู้เห็นว่ามีการกระทำผิด ตามกฎหมายแชร์ลูกโซ่ เนื่องจากมีหลักฐานการทำสัญญาเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับดิไอคอนกรุ๊ป ในเดือนต.ค.2566
เช่นเดียวกับ บอสมิน ที่ทำสัญญาว่าจ้างเป็นพรีเซ็นเตอร์ ในเดือนเม.ย.2566 ทว่าบริษัทดิไอคอนกรุ๊ป เริ่มจดทะเบียนก่อตั้งกิจการตั้งแต่ปี 2564 อีกทั้งยังไม่มีข้อบ่งชี้หรือพยานหลักฐานอื่น พิสูจน์ได้ว่ามีส่วนรู้เห็นเกี่ยวกับการกระทำผิดเกี่ยวกับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ร่วมกันประกอบธุรกิจขายตรงโดยไม่ได้รับอนุญาต”
ต่างจากกรณีของ กันต์ กันตถาวร หรือ "บอสกันต์" ที่มีพยานหลักฐานชัดเจนว่ามีส่วนรู้เห็นตั้งแต่ช่วงก่อตั้งบริษัทดิไอคอนกรุ๊ป