4 ธันวาคม 2567 เป็นอีกคดีของ "บิ๊กโจ๊ก" พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล อดีตรอง ผบ.ตร. ที่สังคมให้ความสนใจ หลังมีรายงานว่า คณะอนุกรรมการ ป.ป.ช.ตีตกคำร้องกล่าวหา "บิ๊กโจ๊ก" สมัยดำรงตำแหน่ง ผู้กำกับการ3 ปคม.กับพวกรวม 4 คน เรียกรับส่วยคาราโอเกะในพื้นที่ภาคอีสาน
คดีนี้เริ่มจากการที่ พ.ต.อ.กฤษณะพงศ์ กัญจน์ชัยกิจ ยื่นหนังสือต่อประธาน ป.ป.ช. ให้พิจารณาสำนวนกล่าวหาพล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ กรณีเรียกรับส่วยร้านคาราโอเกะ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อครั้ง ดำรงตำแหน่ง ผกก.3 บก.ปคม. เมื่อปี 2553 ขึ้นมาใหม่ หลังเคยมีมติตีตกไม่มีมูลความผิดเมื่อปี 2555
สำหรับสำนวนการไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็น คดีหมายเลขดำที่ 01- 2- 244/2555 กรณีกล่าวหา พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล (ชื่อเเละยศในขณะนั้น) ผกก.3กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ 2.ดาบตำรวจ สถาพร ศรีโลรัมย์ ผู้บังคับหมู่กองกำกับการ 3กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ 3.จ่าสิบตำรวจ ศรีสุวรรณ วงศ์ศิริ ผู้บังคับหมู่กองกำกับการ3กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ 4.นายบุญเลี้ยง หรือธนากร แปลนดี หรือชื่อเล่น "จ่าดำ"
กระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกรณี ร่วมกันใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านคาราโอเกะ ในเขตพื้นที่จังหวัดนครพนม หนองคาย อุดรธานี และสกลนคร จ่ายเงินให้ หากผู้ประกอบการรายใดไม่ยอมจ่ายเงิน หรือไม่ให้ความร่วมมือจะถูกกลั่นแกล้ง จับกุม ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ อันเป็นการแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการและทางราชการได้รับความเสียหาย
โดยจะมีการวินิจฉัย
1.ในส่วนฐานความผิดทางวินัย กระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง ฐานฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยมิชอบ เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ และกระทำการกับชื่อใต้ว่า "อย่างร้ายแรง ตาม พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มาตรา 79(1) (5)"
2.ทางอาญากระทำความผิดอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงาน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ เพื่อกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดในตำแหน่งไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือมิชอบด้วยหน้าที่ และเป็นเจ้าพนักงาปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้ผิดความเสียหายเเก่ผู้หนึ่งผู้ใด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 149 เเละ 157
โดยพฤติการณ์ในการกระทำความผิด สรุปว่า เมื่อวันที่ 7 ม.ค.2555 นายเขตสยาม เนาวรังสีอายุ 40 ปี เข้ารัองทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน สภ.อ.ธาตุพนม ขอให้ดำเนินคดีอาญากับ พันตำรวจเอก สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่ง ผกก.3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้านุษย์ กับพวก รวม 4 คน เมื่อประมาณเดือน ก.พ.-ต.ค.2553
พนักงานสอบสวน สภ.อ.ธาตุพนม ได้รับคำร้องทุกข์ไว้ ต่อมาผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มีคำสั่งสั่งลงวันที่ 19 ให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 4 โอนคดีมาให้พนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ ทำการสอบสวนและดำเนินการตามกฎหมาย และคดีนี้เป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษ ให้ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการ จึงส่งคำร้องทุกข์กล่าวโทษ มายังคณะกรรมการ ป.ป.ช ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่
นายเขตสยาม เนาวรังสี ผู้กล่าวหา ให้การว่า ผู้กล่าวหารับโอนกิจการ หรือเซ้งร้านคาราโอเกะ ชื่อร้าน "โบว์ลิ่งเบียร์" มาจากญาติเพื่อประกอบกิจการต่อ โดยดำเนินการถูกต้องตามกฎหมาย มีใบอนุญาต ประกอบการเมื่อประมาณต้นเดือน ก.พ.2553 ได้มี ด.ต.สถาพร ศรีไลรัมย์ หรือ "ดาบถา" และด.ต.ศรีสุวรรณ วงศ์ศิริ หรือ "ดาบแอ๋" มาแสดงตัวต่อผู้กล่าวหาว่า เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจประจำกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดต่อเด็กและสตรี หรือ ปดส. ในขณะนั้น (ปัจจุบันคือ ปคม.)
โดย "นาย" ไห้มาเก็บเงินจากร้านของผู้กล่าวหา ในช่วงแรกเรียกเก็บเดือนละ 1,000 บาท และจะมาเก็บระหว่างวันที่ 15-20 ของทุกเดือน โดยเป็นที่รู้กันอยู่ว่า หากร้านใดในพื้นที่ไม่ยอมจ่ายหรือไม่ให้ความร่วมมือจะถูก ด.ต.สถาพรฯ กับพวก กลั่นแกล้งจับกุม ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้ ด้วยความกลัวผู้กล่าวหาจึงจำใจจ่ายเงินให้แก่ ด.ต. สถาพรฯ กับพวก นับตั้งแต่เดือน ก.พ.2553 เดือนละ 1,000บาท เรื่อยมาโดยจ่ายเป็นเงินสด
ต่อมาประมาณเดือน ก.ย.2553 ด.ต.สถาพรฯ และ ด.ต.ศรีสุรรณฯ ได้แจ้งกับผู้กล่าวหาว่า "นาย" ขอเรียกเก็บเงินเพิ่มจากเดือนละ 1,000 บาท เป็น 3,000 หากไม่ได้ตามที่ขอ ก็จะถูกกลั่นแกล้ง ยัดข้อหาตลอดจนเข้มงวดกับร้านของผู้กล่าวหา เพื่อให้ประกอบกิจการไม่ได้ ด้วยความกลัวผู้กล่าวหาจำใจต้องจ่ายเงินในเดือน ก.ย. ให้จำนวน 3,000 บาท ตามที่เรียกร้อง และเมื่อเดือน ต.ค.2553 ต.ต.สถาพรฯ และ ด.ต.ศรีสุวรรณฯ และนายบุญเลี้ยง หรือ ธนากร แปลนดี หรือ จ่าดำ มาพบผู้กล่าวหาและ บอกว่า "นาย" ขอเรียกเก็บเงินเพิ่มขึ้นจาก 3,000 บาท เป็น 5,000 บาท
แต่เนื่องจากในเดือนดังกล่าวเกิดภาวะน้ำท่วม กิจการขาดทุนไม่มีเงินจะจ่ายให้ผู้กล่าวหาจึงแจ้งต่อ ด.ต. สถาพรฯ กับพวกว่า ขอผัดจ่ายเงินไปเดือนหน้าได้หรือไม่ ด.ต.สถาพรฯ จึงบอกผู้กล่าวหาว่า "งั้นคุยกับ ผู้กำกับเองแล้วกัน" และได้โทรศัพท์ติดต่อไปยัง "ผู้กำกับ" และให้ผู้กล่าวหาพูดคุยทางโทรศัพท์กับ "ผู้กำกับ" โดยผู้กล่าวหาบอกกับผู้กำกับว่า "เดือนนี้ผมขอได้ไหม" แต่กลับถูบถูก "ผู้กำกับ" ด่าทอและข่มขู่จะสั่งปิดร้าน เป็นเหตุให้ผู้กล่าวหาเกิดความเกรงกลัว ต้องไปขอกู้ยืมเงินจำนวน 5,000 บาท มาจ่ายให้กับ ด.ต.สถาพรฯ และ ด.ต.ศรีสุวรรณฯ ต่อหน้าจ่าดำ โดยเงินที่ผู้กล่าวหาจ่ายให้แก่ ด.ต.สถาพรฯ กับพวก ตั้งแต่เดือน ก.พ.-ต.ค.2553 รวมจำนวนทั้งสิ้น 25,000บาท
หลังจากนั้นผู้กล่าวหาจึงได้ร้องขอความเป็นธรรมต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง นอกจากนี้ยังมีหนังสือกล่าวหาร้องเรียนที่เป็นบัตรสนเท่ห์ ของผู้ประกอบการร้านคาราโอเกะในเขตพื้นที่จังหวัดหนองคาย อุดรธานี สกลนคร กล่าวหาว่า พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล กับพวก มีพฤติการณ์ เรียกเก็บเงิน "ส่วย" เป็นรายเดือน
โดย พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ จะส่ง ด.ต.สถาพรฯ กับพวก ลงไปเรียกเก็บเงินเป็นรายเดือน หากร้านใดในพื้นที่ไม่ยอมจ่ายหรือไม่ให้ความร่วมมือ จะถูกกลั้นแกล้งจับกุม ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจการได้
ป.ป.ช. ทำการรวบรวมพยานหลักฐานไต่สวนข้อเท็จจริง
คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ทำการไต่สวนข้อเท็จจริง โดยได้รวบรวมพยานหลักฐานทั้งปวง ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามที่กล่าวหา โดยคดีมีข้อเท็จจริงและรายละเอียด คดีมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่า
ประเด็นแรก พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ มีพฤติการณ์กระทำความผิดเป็นตัวการ หรือผู้ใช้ให้ ด.ต.สถาพรฯ และ จ.ส.ต.ศรีสุวรรณฯ และนายบุญเลี้ยงฯ เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะตามที่ถูกกล่าวหา หรือไม่ อย่างไร
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า แม้จะปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังว่า ก.ตร. ในการประชุมครั้งที่ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๕๕๘ ได้พิจารณาแล้วมีมติสรุปได้ว่า พล.ต.ท.สมคิด บุญถนอม จตร.ในขณะนั้นไม่มีอำนาจสืบสวนข้อเท็จจริงซึ่งเป็นการดำเนินการทางวินัย ตามมาตรา 84 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติฯ และตามกฎ ก.ตร. ว่าด้วยการสืบสวนข้อเท็จจริง กับตำรวจหน่วยงานอื่นได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่ ผบ.ตร. หรือผู้รับมอบหมายจะสั่งการให้ ทำการสืบสวนข้อเท็อจริง ซึ่งกรณีกล่าวหา พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ กับพวก ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผบ.ตร. ได้สั่งการแต่อย่างใด
การแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าว มิได้ดำเนินการโดยผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจ กระบวนการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งดังกล่าว ตลอดจนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนข้อเท็จจริง จึงเป็นการดำเนินการโดยไม่มีอำนาจไปด้วยก็ตาม แต่ไม่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงกงานจเรตำรวจ รวบรวมพยานหลักฐานโดยการล่อลวง จูงใจหรือขู่เข็ญ แต่อย่างใด อีกทั้งพยานหลักฐานต่างๆ ที่รวบรวบมานั้น จะเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความยุติธรรม มากกว่าผลเสียอันเกิดจากผลกระทบต่อระบบงานยุติธรรมทางอาญา หรือสิทธิเสรีภาพของประชาชน
ดังนั้น ในการพิจารณาว่า พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ กับพวกได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ นั้น จึงต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานที่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจได้รวบรวมไว้ รวมถึงการรวบรวมพยานหลักฐานของคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ตามคำสั่งกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์
และผลการพิจารณาของกองบัญชาการตำรวจจสอบสวนกลาง ซึ่งจากการไต่สวนข้อเท็จจริงพบว่า กรณีกล่าวหา พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ กับพวก เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะดังกล่าว ผลการสืบสวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจ ได้มีการสอบปากคำพยานบุคคลอันได้แก่ผู้ประกอบการคารคาราโอเกะ ประกอบด้วย นายเขตสยาม เนาวรังสี เจ้าของกิจการโบว์ลิ่งเบียร์ คาราโอเกะ ซึ่งให้การว่าถูก เรียกเก็บเงินส่วยเพิ่มขึ้นโดยมีการอ้างว่า เป็นคำสั่งของ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ
และมีพยาน นายทองแดง อองโนนยาง และนางสุณิสา ผงพิลา ผู้ประกอบการร้าน คาราโอเกะ จังหวัดหนองคาย นางประนอม มายุรส ผู้ประกอบการร้านคาราโอเกะในอำเภอพรเจริญ จังหวัดบึงกาฬ เท่านั้นที่อ้างว่าถูก ด.ต.สถาพรฯ และนายบุญเลี้ยงฯ หรือธนกร หรือจ่าดำ เรียกรับเงินในขณะที่การตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า ได้มีการสอบปากคำผู้ประกอบการคาราโอเกะ ในเขตจังหวัดสกลนคร อุดรธานี หนองคาย จำนวน 73 ราย โดยพยานทั้งหมดได้ให้การสอดดคล้องต้องกันว่า ระหว่างประกอบกิจการไม่เคยมีตำรวจสังกัดกองบังคับการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ มาเรียกรับเงินโดยมิชอบแต่อย่างใด และไม่ได้เป็นผู้ร้องเรียน และไม่เคยพบเห็นหรือรู้จักกับนายเขตสยาม รวมทั้งจากการแสวงหาข้อเท็จจริงในเรื่องกล่าว
ซึ่งได้สอบปากคำพยานซึ่งเป็นผู้ประกอบการคารคาราโอเกะในเขตภาคอีสาน ต่างให้การสอดคล้องต้องกันว่า ไม่เคยรู้จัก พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ และนายบุญเลี้ยงฯ หรือธนกร หรือจ่าดำ มาก่อน ประกอบกับไม่ปรากฎข้อเท็จจริงจริงจากพยานบุคคลรายใดว่า เคยติดต่อพูดคุยกับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ โดยตรง และถูก พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ เรียกรับเงิน นอกจากพยานรายนายเขตสยามในเรื่องกล่าวหานี้ แต่คำให้การของนายเขตสยามยังมีข้อน่าสงสัย ในการรับฟังเป็นพยานหลักฐานว่านายเขตสยามเป็นเจ้าของกิจการโบว์สิ่ง เบียร์ คาราโอเกะ และถูกกลุ่มผู้ถูกกล่าวหาเรียกรับเงินจริง
เนื่องจากปากคำพยานนายวีระพงษ์ แสนพรม และนางพันธ์ลีมา แสนพรม ได้ให้การว่า เป็นเจ้าของร้านโบว์ลิ่ง เบียร์ ซึ่งขอนุญาตเมื่อวันที่ 9 ต.ค.2544 อีกทั้งในภายหลังนายเขตสยาม ยังได้ให้การต่อศาลในคดีอาญา คดีหมายเลขดำที่รับสารภาพว่า ได้แจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่า ด.ต.สถาพรฯ (โจทก์) กับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ ส.ต.ศรีสุวรรณฯ และนายบุญเลี้ยง หรือธนกร แปลนดี หรือจ่าดำ ร่วมกันเรียกรับเงิน รวมทั้งกล่าวอ้างว่า เป็นเจ้าของกิจการร้านโบว์ลิ่งเบียร์โดยมิได้เป็นเจ้าของกิจการโบว์สิ่งเบียร์แต่อย่างใด
ส่วนกรณีการสืบสวนข้อเท็จจริงของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจ ได้มีการสอบปากคำพยานรายนางโสภา ชมมี ด.ต.ต.ชัยยง เมฆวัน ด.ต.บุญเลี้ยง แม้นศิริ และ ด.ต.ภควุฒิ โคตรชมภู ซึ่งคำให้การของพยานกลุ่มนี้มีรายละเอียดสรุปได้ว่า ด.ต.สถาพร ได้เคยเรียกรับเงินจากนางโสภา ชมมี โดยนางโสภาฯ เป็นบุคคลที่มีพฤติการณ์กระทำความผิดเกี่ยวข้องกับการขายหวยใต้ดิน และนางโสภาได้เคยจ่ายเงินให้กับ ด.ต.สถาพรฯ ด้วยการโอนเงินเข้าบัญชีเดือนละ 2,000 บาท อันเป็นการแสดงให้เห็นว่า กลุ่มของผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์เรียกรับเงินจากผู้ที่กระทำผิดกฎหมายและแหล่งอบายมุขอื่นๆ อีก นอกจากเรียกเรียกเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะ นั้น
จากพยานหลักฐานที่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจได้รวบรวมไว้ ยังไม่ปรากฏพยานหลักฐานใดที่สามารถยืนยันได้ว่า พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ มีส่วนเกี่ยวข้องหรือเป็นผู้สั่งการให้ ด.ต.สถาพร ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว สำหรับกรณีที่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจได้ตรวจสอบข้อมูลการใช้โทรศัพท์พบว่า เมื่อวันที่ 24 พ.ย.2553 มีรายงานการใช้โทรศัพท์ของ ด.ต.สถาพร ระบุว่า อยู่ในพื้นที่จังหวัดนครพนม และได้ใช้ไทรศัพท์ติดต่อกับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ บ่อยครั้ง แต่ก็มิได้เป็นพยานหลักฐานยืนยันได้ว่า กรณีดังกล่าวเป็นกรณีที่ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ได้สั่งการให้ ด.ต.สถาพร เรียกรับจากผู้ประกอบการคาราโอเกะ
และกรณีดังกล่าวกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พิจารณาแล้วเห็นว่า ถือเป็นเรื่องปกติที่ผู้บังคับบัญชาได้มีการติดต่อประสานงานกับผู้ใต้บังคับบัญชา ซึ่งกำลังปฏิบัติหน้าที่ที่รับผิดชอบ กรณีที่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจ อ้างพยานบุคคลแวดล้อมซึ่งเป็นข้าราชการตำรวจสังกัด กก.3 บก.ปคม. ต่างให้การสอดคล้องกันว่า ด.ต.สถาพรฯ , ด.ต.ศรีสุวรรณฯ , นายธนกรฯ ,นายปิยะพงษ์ และนายทิวา เป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดและสนิทสนมกับ พ.ต.ต.สุรเชษฐ์ฯ ทราบกันดีเรื่องเป็นหน้าเสื่อเก็บเงินจากผู้กระทำผิดกฎหมายให้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ โดย พ.ต.พิชญ์เชษฐ์ และ ด.ต.สกล เคยได้ยิน ด.ต.สถาพร พูดให้ฟังเรื่องการเก็บเงินโดยมิชอบด้วยกฎหมาย นำมาให้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ โดยเฉพาะ ด.ต.วีระเดช เคยได้ยิน ด.ต.สถาพร พูดความใจเรื่องการเก็บเงินโดยมิชอบด้วยกฎหมายให้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ ขณะออกไปทำงานด้วยกันบ่อยครั้ง นั้น
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ได้พิจารณาในประเด็นดังกล่าวแล้วเห็นว่าคำให้การของพยานเหล่านี้ แม้จะนับได้เป็นประจักษ์พยานจากให้การว่า ตัวพยานเองได้เห็น ด.ต.สถาพร, ด.ต.ศรีสุรรณ,นายธนกร นายปิยะพงษ์ และนายทิวา เป็นบุคคลที่มีความใกล้ชิดและมีความสนิทสนมกับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์และได้ฟัง ด.ต.สถาพร พูดระบายความในใจ ถือเป็นการยืนยันว่า ได้เห็นพฤติการณ์และมีการพูดข้อความนั้น
แต่ไม่ได้หมายความว่า พฤติการณ์ที่พยานได้เห็นและได้รับฟังนั้น เป็นไปตามข้อสรุปที่พยานได้ให้การกับคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจแต่อย่างใด คำให้การดังกล่าวลักษณะเป็นข้อสรุป หรือความเห็นของพยานเอง โดยคาดการณ์หรือเดา และกรณีพยานให้การว่า ได้ฟัง ด.ต.สถาพร พูดว่าอย่างไรนั้น ก็เป็นเพียง การยืนยันว่ามีการพูดข้อความนั้นๆ เท่านั้น ไม่ใช่สิ่งที่พยานได้พบเห็นเหตุการณ์ตามคำบอกเล่ามาด้วยตนเองและคำพูดของ ด.ต.สถาพร ที่ได้พูดนั้นเป็นความจริงหรือไม่ อย่างไร เมื่อพิจารณาชั่งน้ำหนักคำพยานทั้งปวงไม่มีหลักประกันว่า พยานพูดความจริงหรือไม่ อย่างไร
ประกอบข้อเท็จจริงที่ได้จากการไต่สวน พบว่าปากคำพยานในกลุ่มของเจ้าหน้าที่ตำรวจสังกัด กก.3บก.ปคม. นั้น มีทั้งให้การในลักษณะที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการเรียกรับเงิน และกลุ่มที่ให้การว่าทราบเรื่องที่ ด.ต.สถาพรและ จ.ส.ต.ศรีสุวรรณ และนายบุญเลี้ยง เป็นหน้าเสื่อเรียกรับเงินให้กับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ และเคยเห็นนายทิวา นายปิยะพงษ์ มารับใช้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ที่ บก.ปคม. บ่อยครั้ง โดยพยานกลุ่มที่ให้การว่า กลุ่มผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะ และแหล่งอบายมุขต่างๆ นั้น ยังมีข้อพิรุธอันไม่อาจนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานโดยปราศจากข้อสงสัย ดังนี้
1.ปากคำพยานราย ด.ต.สกล ซึ่งให้การต่อคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจว่า "เคยเห็น ด.ต.สถาพรฯ นำธนบัตรฉบับละพันเป็นมัดๆ กะด้วยสายตาประมาณ 5-6 แสนบาท รวมกันบริเวณเคาเตอร์ห้องอาหารใส่ซองสีน้ำตาล นำไปให้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ภายในห้องทำงาน กก.3 บก.ปคม. บางครั้งพยานเดินเข้าไปในห้องของ พ.อ.สุรเชษฐ์ ก็จะพบ ด.ต.สถาพร และ จ.ส.ศรีสุวรรณ อยู่ในห้อง มีธนบัตรฉบับละพันเป็นมัดๆ จำนวนมากหลายแสนบาทวางอยู่บนโต๊ะ"
และให้การว่า "จ่าดำ ได้รับมอบหมายจาก พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ให้ไปเก็บเงินร้านค้าที่มีตู้ม้าในเขตอีสานตอนบน ซึ่งนายธนกรได้เคยชวนพยานไปเก็บเงินตู้ม้าโดยบอกว่านาย ซึ่งหมายถึง พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ สั่งให้ไปเก็บ แต่ได้ตอบปฏิเสธ" จะเห็นได้ว่า ด.ต.สกล ให้การในลักษณะยืนยันข้อเท็จจริงว่า กลุ่มถูกกล่าวหามีพฤติการณ์เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะและแหล่งอบายมุขอื่นๆ จริง
ในขณะที่พยานรายนายกำจัด วงษ์ญาติ เจ้าของร้านคาราโอเกะ ชื่อน้องแก้ม นายตรีทศ ศิริบุญนภา เจ้าของร้านคาราโอเกะ ชื่อสวนอาหารริมอ่างกะชะ และนางรัตนาภรณ์ กงนะ เจ้าของร้านคาราโอเกะ ชื่อต้นตาล ได้ให้การตรงกันว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปคม.ชื่อดาบแมน (ด.ต.สกลฯ) มาเรียกรับเงิน โดยเฉพาะพยานรายนายตรีทศยังให้การอีกว่า เหตุที่ยอมจ่ายเงินให้กับดาบแมน (ด.ต.สกลฯ) เนื่องจากกลางปี 2553 มีตำรวจจาก ปคม. นำโดยตำรวจระดับสารวัตรไม่ทราบชื่อและ ด.ต.สถาพร และ จ.ส.ต.ศรีสุวรรณ มาจับกุมร้านคาราโอเกะในเขต อ.เซกา นายตรีทศ เกรงว่าจะถูกจับกุม จึงยอมจ่ายเงินจำนวนดังกล่าว ดังนั้น ปากคำพยานราย ด.ต.สกล จึงมีข้อน่าสงสัยว่าได้ให้การไปตามความจริง หรือให้การเพื่อบิดเบือนข้อเท็จจริงและปกปิดการกระทำของตน
2.ปากคำพยานราย ด.ต.อนุวิทย์ฯ ด.ต.ประทีปฯ และ ด.ต.วีระเดชฯ ให้การต่อคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงในลักษณะเดียวกันว่าในแต่ละเดือน ด.ต.สถาพรฯ และจ.ส.ต.ศรีสุวรรณฯ จะเก็บเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะ และแหล่งอบายมุขต่างๆ ให้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1 ล้านบาท และพยานราย พ.ต.ท.พิชญ์เชฏฐ์ ให้การว่าช่วงประมาณปลายเดือน ด.ต.สถาพร และ จ.ส.ต.ศรีสุวรรณ จะถือกระเป๋าโน้ตบุ๊คบรรจุเงินสด ซึ่งเป็นที่ได้มาจากผู้ประกอบการคาราโอเกะและแหล่งอบายมุขต่างๆ มามอบให้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์
จากคำให้การดังกล่าวเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับความเห็นของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง ตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจ ซึ่งเชื่อกลุ่มผู้ถูกกล่าวหามีพฤติการณ์เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะ และแหล่งอบายมุขต่างๆ เนื่องมาจากผลการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ซึ่งพบว่ามีการฝากและโอนเงินจากบุคคลต่างๆ เข้าบัญชีของ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ทั้งก่อนหน้า และในขณะดำรงตำแหน่ง ผกก.3 ปคม.
กรณีจึงยังมีข้อสงสัยว่าพฤติการณ์ในการเรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะ และแหล่งอบายมุขต่างๆ ของกลุ่มผู้ถูกกล่าวหา นั้น ใช้วิธีการส่งมอบเงินให้กับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์โดยการโอนผ่านบัญชีธนาคาร หรือใช้วิธีการให้นำเงินสดมามอบให้ที่ กก.3บก.ปคม.
3.ปากคำพยานรายอื่นๆ เช่น ด.ต.สังเวียนฯ ด.ต.อรุณฯ ซึ่งให้การแต่เพียงว่า พยานทราบว่า ด.ต.สถาพร และ จ.ส.ต.ศรีสุวรรณ เป็นหน้าเสื่อเก็บเงินให้กับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ นั้น คำให้การดังกล่าวมี ลักษณะเป็นข้อสรุป หรือความเห็นของพยานเอง คำให้การของพยานกลุ่มนี้จึงไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง เฉกเช่นเดียวกันกับปากคำพยานกลุ่มที่ให้การว่า ไม่ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องการเรียกรับเงิน จากผู้ประกอบการคาราโอเกะและแหล่งอบายมุขต่างๆ เช่น พยานราย ด.ต.หญิง กรรณิการ์ ด.ต.สุนทรฯ ต.ต.กำพล เป็นต้น
เนื่องจากคำให้การของพยานเหล่านี้ ไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าเป็นความจริงหรือความเท็จ จึงไม่สามารถนำมารับฟังเป็นพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่า กลุ่มผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือนำมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของผู้ถูกกล่าวหาได้
เปิดการตรวจสอบเส้นทางการเงิน "บิ๊กโจ๊ก"
สำหรับกรณีการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ พบว่าในช่วงเวลาที่ดำรงตำแหน่ง ผกก.3 บก.ปคม.มีการฝากและโอนเงินจากบุคคลใกล้ชิด เข้าบัญชีจำนวน 8,437,540 บาท และจะจากบุคคอื่นที่ไม่ทราบข้อมูลอีกจำนวนหนึ่ง รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 10,745,927บาท แต่หลังจากพ้นจากตำแหน่ง ผกก.3 ปคม. (ตรวจสอบช่วง 6เดือน 10 ก.พ. - 3 ก.ค.2545) มีการฝากและโอนเงินเข้าบัญชีเพียง 46,357 นั้น
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้พิจารณาในประเด็นดังกล่าวแล้วเห็นว่า พยานเอกสารแวดล้อมเกี่ยวกับหลักฐานธุรกรรมทางการเงินของ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ และบุคคลใกล้ชิดต่างๆ ที่ได้จากการสืบสวนของคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจ ในห้วงระยะเวลาก่อนที่ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ จะมาดำรงตำแหน่ง ผกก.3บก.ปคม. และขณะดำรงตำรงตำแหน่งดังกล่าว มีการดำเนินธุรกรรมทางการเงินของบุคคลต่างๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถ มีการดำเนินการธุรกรรมทางการเงินในลักษณะดังกล่าวได้ ไม่ใช่สิ่งผิดปกติแต่อย่างใดประกอบคำให้การของพยานหลายปากให้การยืนยันว่า มีการติดต่อเชื่อมโยงกับบุคคลต่างๆ ในเชิงธุรกิจมาอย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของการไต่สวนข้อเท็จจริงพบว่า ในที่มีการโอนเข้าบัญชีของ พ.ต.ส.สุรเชษฐ์ ดังกล่าวข้างต้น มีพยานบุคคลให้การประกอบด้วย นายธนากร หรือบุญเลี้ยง แปลนดี(จ่าดำ) , นางสีสวาท แปลนดี ,นายปิยะพงษ์ จุฑาวนิชกุล , นายทิวา พิเนตร , นายชินรัตน์ วัฒนกูล (เสี่ยแต๋ม), นายสุรินทร์ , ไชยศุภนาถ ,นางพิมพ์นิภา เชิดชัยเจริญ , น.ส.ศุณภา กิตติวุฒิภัทร , นายเอกชัย หงส์วานิช , นายวิริยะ กลิ่นแก้วณรงค์ น.ส.ชนันพัฒน์ จันทร์มิตรี , น.ส.สิริรัตน์ หรือ สิธินันท์ แพงดี , นายอภิชัย ไทยรัตน์ , น.ส.ดลพร วิภาตะพันธุ์ ,นายวิเชษฐ์ ดิษฐวงษ์ , นายเจริญสุข นันทวิชาวุธสาร , นายวินัย ลิ่มวรพันธ์ , นายนพพร ประเสริฐชัย
สามารถสรุปข้อเท็จจริงได้ว่า นายชินรัตน์ วัฒนกูล (เสี่ยแต๋ม) ซึ่งเป็นเจ้าของธุรกิจขนส่ง มีความใกล้ชิดกับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ และมีการให้เงินกับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ทุกเดือนเป็นประจำ บางเดือนหลักหมื่น บางเดือนหลักแสน และนายชินรัตน์ยังรู้จักสนิทสนมและไว้ใจนายบุญเลี้ยง หรือธนกร หรือจ่าดำ เป็นอย่างมาก โดยนายบุญเลี้ยงเคยยืมเงินนายชินรัตน์ ไปปล่อยกู้ เป็นจำนวนมาก โดยในปี 2553 นายชินรัตน์ได้ไห้นายบุญเลี้ยงยืมเงิน 1 ล้านบาท และยังฝากเงิน 5 แสนบาท ไปให้ พ.อ.สุรเชษฐ์ ไว้สำหรับซื้อสิ่งของต่างๆ นำมาฝากเป็นของขวัญปีใหม่ ให้กับผู้ใหญ่และห้างร้านที่ทำธุรกิจติดต่อกันมานาน
โดยเงินที่นายบุญเลี้ยงกู้จากนายชินรัตน์ บางครั้งนายบุญเลี้ยง จะนำไปชำระให้กับนายชินรัตน์ บางครั้งจะโอนจากบัญชีนายบุญเลี้ยง บัญชีนางสีสวาทฯ ภรรยานายบุญเลี้ยง เข้าบัญชี พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ เพื่อชำระหนี้นายชินรัตน์ และการโอนเงินบางครั้งได้ให้นายทิวา พิเนตร หรือนายปิยะพงษ์ จุฑาวนิชกุล ซึ่งทั้งสองคนเป็นลูกจ้างของนายบุญเลี้ยงเป็นผู้ดำเนินการ
เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเท็จจริงที่ว่า เงินที่โอนเข้าบัญชีของ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ จำนวนมาก นั้น หากเป็นเงินที่ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยวิสัยแล้ว พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ไม่น่าที่จะให้โอนเข้าบัญชีของตนเอง ซึ่งสามารถถูกตรวจสอบได้โดยง่าย รวมทั้งการตรวจสอบธุรกรรมทางการเงินของ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ โดยคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจ ที่พบว่า เริ่มมีการโอนเงินเข้าบัญชี พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ อันน่าเชื่อได้ว่าเป็นเงินที่เรียกรับจากผู้ประกอบการคาราโอเกะและแหล่งอบายมุขต่างๆ ในช่วงระหว่างวันที่ 20 ม.ค.-3 ธ.ค.2554 ในขณะที่ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ดำรงตำแหน่ง ผกก.3 บก.ปคม. เมื่อ 7 ก.ย.2552
แสดงให้เห็นว่า ไม่ปรากฏธุรกรรมทางการเงินที่น่าสงสัยในช่วงระหว่างวันที่ 7-ก.ย.-19 ม.ค.2553 สอดคล้องกับคำให้การของ ด.ต.ชัชวาลย์ พึมชัย ที่ให้การว่าเมื่อประมาณกลางปี2552 พยานเป็นผู้ที่แนะนำให้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ รู้จักกับนายชินรัตน์ จึงทำให้น่าเชื่อได้ว่า ภายหลังจากที่ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ ได้รู้จักกับนายรัตน์ เมื่อปี 2552 แล้ว เมื่อเวลาภายไปสักระยะหนึ่งทำให้ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ และนายชินรัตน์ มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมากขึ้น เงินที่โอนเข้าบัญชีของ ในช่วงระหว่างวันที่ 20 ม.ค.-3 ธ.ค.2553 เป็นเงินที่นายชินรัตน์ ให้กับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ และบางส่วนเป็นการรับชำระหนี้เงินกู้แทนนายรัตน์จริง ตามที่มีพยานบุคคลหลายรายให้การไว้
เพราะหาก พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ มีพฤติการณ์เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะและแหล่งอบายมุขต่างๆ แล้ว ก็น่าที่จะปรากฎข้อเท็จจริงว่า มีการโอนเงินเข้าบัญชีของ มากผิดปกติในช่วงที่เริ่มรับตำแหน่ง ด้วยเช่นกัน สำหรับกรณีที่คณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงตามคำสั่งสำนักงานจเรตำรวจตั้งข้อสังเกตว่า จากที่ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ พ้นจากตำแหน่ง มีการฝากและโอนเงินเข้าบัญชีของ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ เพียง 46,357 บาท นั้น ข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่สามารถรับฟังเป็นพยานหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา และไม่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติแต่อย่างใด
เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ กำลังถูกตรวจสอบว่า มีพฤติการณ์รับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะและแหล่งอบายมุขต่างๆ โดยมีการโอนเงินเข้าบัญชีของ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ก็ย่อมเป็นเรื่องปกติที่ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์จะต้องแจ้งให้บุคคลต่างๆ ที่โอนเงินเข้าบัญชี ในช่วงที่มีการกล่าวหา ยุติการโอนเงินเข้าบัญชีเพื่อไม่ให้เกิดความยุ่งยากในการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อผู้ที่กำลังดำเนินการตรวจสอบ จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้นจึงยังรับฟังไม่ได้ว่า พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ฯ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1 ได้กระทำความผิดในลักษณะเป็นตัวการ หรือผู้ใช้ให้ ต.ต.สถาพร จ.ส.ต.ศรีสุวรรณ และนายบุญเลี้ยง เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการ คาราโอเกะและแหล่งอบายมุขต่างๆ ตามที่ถูกกล่าวหา
ประเด็นต่อมา ที่ต้องพิจารณาคือ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2-4 ได้ร่วมกันเรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะและแหล่งอบายมุขต่างๆ หรือไม่ อย่างไร
พิเคราะห์แล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวกองกำกับการ 3 บก.ปคม.ในฐานะผู้บังคับบัญชา ด.ต.สถาพรและ จ.ส.ต.ศรีสุวรรณได้มีคำสั่ง แต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริง และได้ทำการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน สอบปากคำพยานบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงพยานซึ่งเป็นผู้ประกอบการคาราโอกะจำนวน 73 ปาก ต่างให้การสอดคล้องกันว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคม. มาเรียกรับเงินโดยมิชอบแต่อย่างใด ได้มีคำสั่ง ให้ยุติเรื่องทางวินัย ซึ่งกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้รับรายงานการสืบสวนดังกล่าวแล้วเห็นว่า ถูกต้องเหมาะสมไม่เป็นความผิดวินัยร้ายแรง การดำเนินการทางวินัยถึงที่สุด
รวมทั้งได้รายงานผลการสืบสวนข้อเท็จจริงดังกล่าว ผ่านกองวินัยไปยังผู้บัญชาการตำรวจชาติ จึงถือได้กรณีกล่าวหา ด.ต.สถาพรและ จ.ส.ต.ศรีสุรรณ ได้มีการดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสร็จสิ้น และเป็นไปโดยชอบแล้ว และไม่มีเหตุอันควรสงสัยว่า การดำเนินการนั้นไม่เที่ยงธรรม ตามนัยมาตรา 86(3) พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯและเมื่อข้อเท็จจริงยังรับฟังไม่ได้ว่า ด.ต.สถาพรและ จ.ส.ต.ศรีสุวรรณ เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะ และแหล่งอบายมุขต่างๆ
ในส่วนของการกล่าวหานายบุญเลี้ยง หรือธนกร หรือจ่าดำ ก็ย่อมรับฟังไม่ได้ว่ากระทำความผิดฐานสนับสนุนเจ้าพนักงานเรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะและแหล่งอบายมชต่างๆตามที่ถูกกล่าวหา
พิจารณาแล้วห็นว่า กรณีมีกล่าวหา พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ กับพวก รวม 4 คน เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการคาราโอเกะและแหล่งอบายมุขต่างๆ ในเขตพื้นที่ภาคอีสาน ยังรับฟังไม่ได้ว่ามีมูลความผิดตามที่ถูกกล่าวหา เห็นควรให้ข้อกล่าวหาตกไปตามนัยมาตรา 91 แห่ง พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณานำเสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. เพื่อพิจารณาต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับผลการไต่สวนคณะอนุกรรมการฯ ป.ป.ช.ในครั้งนั้น สอดรับกับบันทึกข้อความของจเรตำรวจ แจ้งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเสนอ ผบ.ตร. เมื่อ 14 มี.ค.2558 ผ่านกองวินัย ลงนามโดย พล.ต.ต.จารุวัฒน์ ไวศยะ รองจเรตำรวจแห่งชาติ รักษาราชการแทนจเรตำรวจแห่งชาติ (สบ.8) ระบุว่า
"นายเขตสยาม รู้สึกสำนึกในความผิดที่เกิดขึ้นไปใส่ร้ายว่า พ.ต.อ.สุรเชษฐ์กับพวกว่า รับส่วยร้านค้าคาราโอเกะ และที่ได้กระทำลงไปเพราะเดือดร้อนเรื่องเงิน ทำให้เป็นเครื่องมือของกลุ่มบุคคลหนึ่ง ขอยืนยันไม่เคยรู้จักกับ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ มาก่อนและ พ.ต.อ.สุรเชษฐ์ ก็ไม่เคยเก็บส่วยร้านคาราโอเกะ" เเละยังสอดคล้องกับคำร้องประกอบคำรับสารภาพของ นายเขตสยาม คดีที่ถูก ด.ต.สถาพร ยื่นฟ้องที่ศาลอาญา