21 ตุลาคม 2567 ภายหลังพนักงานสอบสวนกองบังคับบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ได้นำตัว "บอสพอล" นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล พร้อมบรรดาบอสๆดิไอคอนรวม 18 ราย มายื่นคำร้องฝากขังครั้งที่ 1 ต่อศาลอาญา
ในความผิดฐาน "ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และร่วมกันโดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือน หรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะ เกิดความเสียหายแก่ประชาชน" อันเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341, 343 และ พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่2พ.ศ.2560มาตรา 14(1) ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83
สำหรับพฤติการณ์แห่งคดีของเหล่า "บอสดิไอคอน" ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานจากทางพนักงานสอบสวน ว่า บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัดได้จดทะเบียนจัดตั้งบริษัทต่อนายทะเบียนเมื่อวันที่ 1 มิ.ย.2561
มี "บอสพอล" นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล ผู้ต้องหาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจจัดการบริษัทตั้งแต่เริ่มก่อการบริษัทจนถึงปัจปัจจุบันเพียงผู้เดียว และเมื่อวันที่ 2 ส.ค.2562 ได้รับการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ตาม พรบ.ขายตรงและตลาดแบบตรง ประกอบกิจการขายสินค้าปลีกทางระบบบตลาดออนไลน์โดยมีสินค้าจำนวน 15 รายการ ประกอบด้วย
1.บูม กลูต้า ช็อตส์
2.บูม คอลลาเจน
3.บูม วิต ชี
4.โกโก้ พลัส
5.ดี-แนกช์
6 .ชีป ซี
7.ยาสีฟัน
8.ไอคอล มีล
9.ไอคอน เฟส เอ็ก โซ ครีม สกิน เพอร์เฟคชั่น
10.ไอคอนเฟส ไอ เซรั่ม นาโนโปร ไฮยา ไลโซม โฮโตร บุสเตอน์
11.ไอคอน เฟส ยูนิเวอร์แซล ซันสกรีม เอสพีเอฟ 50+ พีเอ+++++
12.รุมไฟเบอร์รี
13.กาเเฟปรุงสำเร็จชนิดผง ตรารูมคอฟฟี่
14. ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม ชิป
15.ซิป เวยโปรตีน พลัส มัลติ-วิตามิน
ระหว่างวันที่ 12 ส.ค.2563- 31 ส.ค.2567 บริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก โดยบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด ซึ่งมี ผู้ต้องหาเป็นกรรมการผู้มีอำนาจจัดการกับพวก ได้ร่วมกันหลอกลวงกลุ่มผู้เสียหายด้วยการเปิดรับสมัครให้เข้ารับการอบรมขายสินค้าออนไลน์ โดยหลอกว่าจะสอนวิธีการขายสินค้าออนไลน์ ซึ่งผู้สนใจจะต้องชำระค่าธรรมเนียประมาณ 100 บาทต่อคน
แต่ระหว่างการอบรมนั้นผู้ต้องหากับพวก จะแนะนำชักจุงให้ผู้อบรมร่วมลงทุนซื้อสินค้าของบริษัท ฯ เพื่อนำไปจำหน่าย โดยทำให้หลงเชื่อสินค้าของบริษัท ดิไอคอน กรุ๊ป จำกัด เป็นสินสินค้าดีมีคุณภาพขายง่าย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่จะลงทุนในแต่ละ คอร์ส เมื่อผู้เสียหายลงทุนซื้อคอร์สไปแล้ว ทางบริษัทดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด และผู้ต้องหากับพวกจะจัดส่งสินค้าให้ผู้ลงทุนเพื่อ
นำไปขายต่อ
ต่อมาเมื่อมีผู้เสียหายเข้าไปทำการอบรมคอร์สดังกล่าวมากขึ้น ผู้ต้องหากับพวกเริ่มชักชวนให้กลุ่มผู้เสียหายเข้า ร่วมลงทุนตามแผนการลงทุนที่บริษัทของผู้ต้องหา จัดทำขึ้นและอ้างกับผู้เสียหายว่า สามารถทำกำไรได้เป็นจำนวนจำนวนมากกว่าการขายสินค้าในระบบออนไลน์ โดยแบ่งการลงทุนเป็น
1.Distibutor เปิดบิลซื้อสินค้า 2,500 บาท
2.Superviser เปิดบิลซื้อสินค้า 25,000 บาท
3. Mini Dealer เปิดขึ้นสินค้า 50,000 บาท
4.Dealerเปิดบิดสินค้า 250,000บาก
รวมทั้งผู้อบรมที่ร่วมลงทุนกับกับบริษัทฯ ยังได้สิทธิพิเศษต่างๆ เช่น ได้ส่วนลดสินค้า Git Voucher และทริปไปเที่ยวต่างประเทศ
โดยมีการเผยแพร่แผนการประกอบธุรกิจการจ่ายค่าตอบแทนเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ด้วยข้อมูลอันเป็นเป็นเท็จ ซึ่งการกระทำดังกล่าวมีจุดประสงค์มุ่งเน้นการหาผลประโยชน์ตอบแทนจากการชักชวนบุคคลอื่นมาสมัครเป็นสมาชิกมากกว่า การขายสินค้าที่ทางบริษัทได้เคยนำเสนอกับทางผู้เสียหาย ซึ่งเป็นการปกปิดข้อเท็จจริงหรือแสดงข้อความอันเป็นเป็นเป็นสาระสำคัญที่ควรระแจ้งให้ผู้เสียหายทราบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนั้นพบว่าในการชักชวนข้างต้นบริษัทฯโดยผู้ต้องหากับพวกอ้างว่าบริษัทดิไอคอนกรุ๊ปจำกัด ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนในระบบระบบขายตรง ทั้งที่ความเป็นจริง บริษัทฯของผู้ต้อหาไม่ได้รับ
ใบอนุญาตแต่อย่างใดทำให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ลงทุนเข้าใจว่าบริษัทของผู้ต้องหาเป็นบริษัทขายตรงและมุ่งหากำไรจากธุรกิจการสินค้าออนไลน์ ไม่ได้แสวงหากำไรจากระบบหาสมาชิก
กลุ่มผู้ต้องหาในคดีนี้ได้ร่วมกันกระทำความผิด โดยวิธีการแบ่งหน้าที่กันทำ เพื่อโฆษณาหรือเชิญชวนให้ผู้เสียหายมาร่วมลงทุนกับบริษัทของผู้ต้องหา เพื่อจะได้รับผลตอบแทนในอัตราสูงผู้เสียหายหรือประชาชนทั่วไปหลงเชื่อและเข้าร่วมลงทุนตามที่กล่าวไปข้างต้น แต่ความจริงแล้วบริษัทของผู้ต้องหา และพวก กันพวกไม่มีการนำเงินที่ได้รับจากผู้เสียหายไปประกอนธุรกิรกิจตามที่กล่าวอ้างไว้กับผู้เสียหายแต่อย่างใด เป็นเหตุใด้รับความเสียหาย
โดย 17 ต.ค.2567 มีผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตั้งแต่วันที่ 10-17 ต.ค.2567 จำนวนมากถึง 1,759 ราย มูลค่าความเสียหายจำนวนมากถึง 729,824,115 บาทบาท และเชื่อว่าจะมีผู้เสียหายเข้ามาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนอีกจำนวนมาก รวมถึงจะมีมูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมากตามไปด้วย
โดยกลุ่มผู้ต้องหามีการแบ่งหน้าที่กันทำดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้บริหาร
1.บริษัท ดิโอคอนกรุ๊ป จำกัด โดย "บอสพอล" นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล กรรมการผู้มีอำนาจ
2."บอสพอล" นายวรัตน์พล วรัทย์วรกุล ในฐานะส่วนตัว ผู้ต้องหานี้
3."บอสแล็ป" นายจิระวัฒน์ แสงภักดี ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลระบบ The (Con systern)ของบริษัท ดีไอคอนกรุ๊ป จำกัด
4."บอสปีเตอร์" นายกลด เศรษฐนันท์ หรือบอสปีเตอร์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้วางแผนการดำเนินการทางธุรกิจให้กับบริษัท
กลุ่มที่ 2 กลุ่มจัดหาสมาชิกให้กับทางบริษัท (แม่ทีม)
1."บอสปัน" น.ส.ปัญจรัศม์ กนกรักษ์อนพร เป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท.และทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกันบริษัท(หัวหน้าสาย)
2."บอสหมอเอก" ดร.ฐานานนท์ หิรัญไชยวรรณ ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท (หัวหน้าสาย)
3."บอสสวย" น.ส.นัฐปสรณ์ ฉัตรธนสรณ์ ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท (หัวหน้าสาย)
4."บอสโซดา" น.ส.ญาติกัญจณ์ เอกชิสนุทงศ์ ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วงทุนกับบริษัท (หัวหน้าสาย)
5."บอสโอม" นายนันท์ธรัฐ เชาวนปรีชา ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท(หัวหน้าสาย)
6."บอสวิน" นายธวิณทร์ภัส ภูพัฒนรินทร์ ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท(หัวหน้าสาย)
7."บอสแม่หญิง" น.ส.กนกธร ปรณะสุคนธ์ ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท (หัวหน้าสาย)
8."บอสอูมมี่" น.ส.เสาวภา วงษ์สา ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท (หัวหน้าสาย)
9."บอสทอมมี่" นายเชษฐ์ณภัฏ อภิพัฒนกานต์ ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกันบริษัท (หัวหน้าสาย)
10 "บอสป๊อป" น.ส.หัสยานนท์ เอกชิสนุพงศ์ ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท (หัวหน้าสาย)
11."บอสจอย" น.ส.วิไลลักษณ์ ยาวิชัย ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุบบริษัท(หัวหน้าสาย)ย)
12."บอสอ๊อฟ" นายธนะโรจน์ ธีติจริยาวัชร์ ทำหน้าที่ชักจูงผู้เสียหายให้เข้าร่วมลงทุนกับบริษัท
กลุ่มที่ 3 กลุ่มพรีเซนเตอร์(ดารา) ประกอบด้วย
1."บอสแซม" นายยุรนันท์ ภมรมนตรี ทำหน้าที่เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับบริษัทเพื่อสร้างความาเชื่อถือถือ และอ้างว่าตนเองเป็นผู้บริหารของบริษัททั้งที่ในความเป็นจริงผู้ต้องหารายนี้ไม่ได้เป็นผู้บริหารของทางบริษัท การแอบอ้างข้างข้างต้นเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและนำเงินมาร่วมลงทุนกับบริษัทฯ
2."บอสมิน" น.ส.พิชญา วัฒนามนศรี ทำหน้าที่เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับบริษัทเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และอ้างว่าตนเองเป็นผู้บริหารของบริษัททั้งที่ในความเป็นจริงผู้ต้องหารายนี้ไม่ได้เป็นผู้บริหารของทางบริษัทการแอบอ้างข้างต้นเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและนำเงินมาร่วมลงทุนกับบริษัทฯ
3."บอสกันต์" นายกันต์ กันตถาวร ทำหน้าที่เป็นพรีเซนเตอร์ให้กับทางบริษัทเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และอ้างว่าตนเองเป็นผู้บริหารของบริษัททั้งที่ในความเป็นจริงผู้ต้องหารายนี้ได้เป็นผู้บริหารของทางบริษัทการแอบอ้างข้างต้นเป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อและนำเงินมาร่วมลงทุนกับบริษัทฯ นอกจากนี้ยังพบว่ามีการชักชวนให้ผู้เสียหายมาลงทุนรูปแบบต่างๆ อีกส่วนหนึ่งด้วย
ยังมีรายงานข่าวอีกว่า ในชั้นฝากขังทางพนักงานสอบสวนได้ยื่นคำขอคัดค้านการปล่อยชั่วคราว โดยให้เหตุผลหลายประการว่า เนื่องจากพฤติการณ์การกระทำความผิดของผู้ต้องหากับพวกเป็นการร่วมกันกระทำความผิดที่มีลักษณะเป็นกลุ่มขบวนการมีการแบ่งหน้าที่กันทำอย่างเป็นระบบคดีมีความยุ่งยากสลับซับซ้อน ส่งผลกระทบต่อสังคมในวงกว้างทั่วราชอาณาจักร โดยมีผู้เสียหายมาแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตั้งแต่วันที่ 10-17 ตุลาคมพ.ศ. 2567 จำนวนมากถึง 1,759 ราย มูลค่าความเสียหายจำนวนมากถึง 729,824,115 บาท
เชื่อว่าจะมีผู้เสียหายเข้ามาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนอีกจำนวนมาก รวมถึงจะมีมูลค่าความเสียหายเพิ่มขึ้น อีกเป็นจำนวนมากตามไปด้วย ถือว่าเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงก่อให้เกิดความเสียหายเชิงเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้างทำให้เงินไหลออกนอกระบบ สร้างปัญหาหนี้สินและสร้างพฤติกรรมเลียนแบบหวังรวยทางลัดโดยสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น รวมทั้งคดีนี้มีอัตราโทษสูง
หากผู้ต้องหาได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวเกรงว่าจะหลบหนีจะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานซึ่งจะก่อเหตุอันอันตรายประการอื่น และยากแก่การติดตามตัวมาดำเนินคดีในภายหลังรวมถึงอาจจะ โอนหรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินของตนที่ได้ไปจากการกระทำความผิดไปให้กับผู้อื่น ทำให้ไม่สามารถนำทรัพย์สินดังกล่าวกลับมาคุ้มครองสิทธิ์เพื่อชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายได้อาจส่งผลให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพ