svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ปัญหา"ฝุ่นPM.25" วนลูป สื่อเกษตรฯ ระดมความคิด แก้ไขอย่างยั่งยืน (ชมคลิป)

ปัญหาฝุ่นพิษ PM. 25 กำลังกลับมา กลายเป็นปัญหาวนลูบ สื่อเกษตรฯ ร่วม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระดมความคิด นักวิชาการ ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง สะท้อนปัญหาเกี่ยวกับปัญหาหมอกควันพิษ (ชมคลิป)

เมื่อวันที่  22 ตุลาคม 2567 ที่ผ่านมา สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดเสวนา “ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 สร้างความเข้าใจ สู่การแก้ไขอย่างยั่งยืน” ระดมความคิดนักวิชาการ ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง สะท้อนปัญหาเกี่ยวกับปัญหาหมอกควันพิษ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ให้กับสังคม ส่งเสริมให้เกิดแนวทางและวิธีการแก้ปัญหาในอนาคตอย่างแม่นยําและยั่งยืน โดยมี ดร.ดำรงค์ ศรีพระราม รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน

ปัญหา\"ฝุ่นPM.25\" วนลูป สื่อเกษตรฯ ระดมความคิด แก้ไขอย่างยั่งยืน (ชมคลิป)

"นายภิญโญ แพงไธสง" นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า จากสถานการณ์วิกฤตเรื่องปริมาณ hotspot และการเกิดหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเฉพาะพื้นที่หลายจังหวัดในภาคเหนือของประเทศ ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพเศรษฐกิจ และสังคมในวงกว้าง ประกอบกับการรับรู้ของภาคสังคมยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนจากการนําเสนอของสื่อ โดยเฉพาะสื่อทางโซเซียลมีเดีย (social media) ที่มีอยู่มากมาย ที่มักนําเสนอข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดในหลายประเด็น ทั้งเรื่องสาเหตุที่เกิด ปัจจัยการเกิด และแหล่งที่เกิด (ในป่า/นอกป่า) รวมถึงกรณีฝุ่นควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นต่อเนื่องสะสมมายาวนาน แต่ยังขาดการนําเสนอข้อมูล ความรู้ที่แท้จริงของปัญหา รวมไปถึงการหาแนวทางการแก้ปัญหาที่จะสามารถแก้ไขได้ตรงประเด็น และแก้ไขได้อย่างยั่งยืน ลดปัญหาและผลกระทบได้อย่างจริงจัง

"นายภิญโญ แพงไธสง" นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย

"ปัญหาดังกล่าว มีความจําเป็นที่สังคมจะต้องรู้และเข้าใจถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริง โดยอาศัยข้อมูลจากกระบวนการที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น ดาวเทียม ที่สามารถพิสูจน์และยืนยันได้ และเมื่อรู้ถึงต้นตอของปัญหาที่แท้จริงแล้ว ก็จะสามารถออกแบบ หรือนําเสนอแนวทางสำหรับการแก้ปัญหาได้ตรงจุด ถูกต้องและยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ในฐานะองค์กรสื่อสารมวลชน มีความตระหนักถึงประเด็นดังกล่าว จึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดงานเสวนาขึ้น ในหัวข้อ “ปัญหาฝุ่นละออง” PM 2.5 สร้างความเข้าใจ สู่การแก้ไขอย่างยั่งยืน” เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาหมอกควันพิษ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ให้กับสังคม โดยเฉพาะการนําเสนอข้อมูล และข้อเท็จจริงในเรื่องดังกล่าว" นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย กล่าว

 

 

ปัญหา\"ฝุ่นPM.25\" วนลูป สื่อเกษตรฯ ระดมความคิด แก้ไขอย่างยั่งยืน (ชมคลิป)

"นายกสมาคมสื่อมวลชนเกษตรฯ" กล่าวอีกว่า ในงานเสวนาครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากนักวิชาการที่มีความรู้จริงและมีความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.สุดเขต สกุลทอง จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ , ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา , ผศ.ดร.ชาคริต โชติอมรศักดิ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , ผศ.ดร.นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ , นายภานุเดช เกิดมะลิ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร และนายเดโช ไชยทัพ ผู้อํานวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) ดำเนินรายการโดย รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

โดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ จะร่วมนําเสนอข้อมูล แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมตอบคําถามข้อสงสัย เพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ่ายทอดให้กับสังคม อันจะนําไปสู่แนวทางการแก้ปัญหาร่วมกันจากทุกภาคส่วนอย่างถูกต้องและยั่งยืนในอนาคต

 

"ดร.สุรพล ใจวงศ์ษา" หัวหน้าหน่วยวิจัยและพัฒนาด้านการบริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กล่าวว่า ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 มีทุกที่ในโลก ส่วนประเทศไทยจัดอยู่ในอันดับที่ 5 ของเอเซีย โดยเฉพาะภาคเหนือจะมีหมอกควันที่มาจากหลายหลายส่วนหนึ่งไฟป่าจากเมียนมา เดิมที่จะมีเพียงหน้าร้อน ปัจจุบันรเกิดจากยุทธศาสตร์การสู้รบ ที่เผาไลแทบทุกฤดู และอีกส่วนมาจากอินเดีย เกิดจากการจราจรบนถนนและสังคมเมืองและภาคการเกษตรที่ผ่านมาการแก้ปัญหาไม่ค่อยตรงจุดที่รัฐรัฐต้องกำหนดเป็นนโยบานที่ชัดเจน

"ดร.สุดเขต สกุลทอง" ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ด้าน "ดร.สุดเขต สกุลทอง" ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าว่า การเผาป่าในพื้นที่ภาคเหนือมีมานาแล้วแล้ว ชาวบ้านมักจะพูดเล่นว่า ไฟมา ป่าโล่ง พืช รังมด เห็ดก็ให้กิน ส่วนปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดจากหลายภาคส่วนทั้งจราจร ที่อยู่อาศัยในสังคมเมืองที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases) แม้กระทั่งการเปิดแอร อีกส่วนหนึ่งเกิดวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร ซึ่งปัจจุบันนี้ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ในแต่ละปีจะมี 1.1 ล้านตัน ที่เป็นกิ่งลำไย มะม่วง ข้าว ข้าวโพด บางแห่งอยู่ในพื้นที่สูงเครื่องจักรเข้าไปไม่ได้ก็ต้องเผา บางส่วนก็ไถ่กลบ ป้อนโรงงานไฟฟ้าซีวมวล ส่วน รศ.ดร.นันทชัย พงศ์พัฒนานุรักษ์ ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สะท้อนให้เห็นอย่างน่าสนใจว่า ไฟป่าไม่มีจริงที่เกิดจากธรรมชาติ แต่เกิดจากมนุษย์จากบุคคล ชุมชน ทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ด้วยเหตุผลที่ต่างกัน แต่กระนั้นยอมรับว่า การเกิดไฟป่มีทั้งข้อดีข้อเสีย และยกตัวอย่างว่า การเกิดไฟป่าในละครั้งป่าไม้เสียหายน้อยมากไม่ถึง 1% แต่สัตว์ป่าอาจเสียหายถึง 90 %

"ถ้าไม่มีไฟป่าเสียเลยจะทำให้ป่าเปลี่ยนเแปลง กระทบต่อระบบนิเวศน์ โดยเฉพาะปลาเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง ควรจะมีไฟป่าบ้าง อย่าให้แออัด กระทบสัตว์บางอย่างก็ไม่มีอาหาร แต่จะต้องมีบริหารไม่จัดการ ให้เหมาะสมว่า จะเผาช่วงไหน จะเผายังไร กำกัดวงขนาดไหนให้เหมาะสมและกระทบน้อยที่สุด แต่ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด” รศ.ดร.นันทชัย สดคล้องมุมมองของ นายภานุเดช เกิดมะลิ ประธานมูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่ระบุว่า ไฟป่าก็มีประโยชน์ ให้ป่าโล่ง เกิดของป่าให้กับชุชชนทั้งพืชเห็ด เฉพาะในเขต จ.นครสวรรค์ของป่าเหล่านี้ทำให้รายให้กับชุมชนกว่า 100 ล้านบาท แต่จะต้องจัดการให้ลงตัวบริหารให้ถูกต้อง อย่าให้เกิดผลกระทบผู้คน ถ้าไม่เกิดไฟป่าเสียเลยจะกระทบต่อระบบนิเนศน์อย่างแน่นอน"

ปัญหา\"ฝุ่นPM.25\" วนลูป สื่อเกษตรฯ ระดมความคิด แก้ไขอย่างยั่งยืน (ชมคลิป)

"นายเดโช ไชยทัพ" ผู้อํานวยการมูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (ภาคเหนือ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สมัชชาองค์กรเอกชนด้านการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (สคส.) บอกว่า ปัจจุบันการจัดการไฟป่า ได้โอนให้องค์กรท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลและจัดการ มีพื้นที่ป่าทั้งหมด 53 ล้านไร่ ให้องค์กรท้องถิ่น 2,368 แห่งดูแล แต่องค์กรบริหารส่วนท้องถิ่นเหล่านี้ ยังขาดองค์ความรู้ความเข้าในในการที่จะจัดการ ทำให้การแก้ปัญหาไม่บรรลุผล ที่สำคัญหลังกรมป่าไม้ให้องค์กรบริหารท้องถิ่นดูแล แต่ปรากฏว่า ปีที่แล้วได้จัดงบประมาณมีน้อยมาก 50 ล้านบาท ก็เท่ากับว่ามีงบฯบริหารจัดการไร่ละ 1 บาท ปีงบประมาณปี 2568 เพิ่มขึ้น 100 ล้านบาท ก็จะทำให้งบประมาณในการบริหารจัดการแค่ไร่ละ 2 บาทเท่านั้นจะอะไรได้ ขณะที่หน่วยงานอื่นอย่างเช่นไม่เผาอ้อยเพิ่มเงินตันละ 30 บาทถ้าคิดเป็นไร่ละมากกว่าหลายเท่า

 

"ที่จริงการบริหารจัดการป่านะ ต้องให้องค์ความรู้กับท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการและวางแผนได้ เพื่อจะจัดการระบบเกษตรไม่เผา หรือให้คนป่าอยู้ด้วยอย่างถูกวิธี และต้องมีงบประมาณให้เพียงพอด้วย"  นายเดชโช กล่าว

รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทสรุปของ "รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์" ในฐานะผู้ดำเนินรายการว่า การที่เชิญวิทยากรจากหลายๆและคนหลายๆภาคส่วนในครั้งนี้ เพื่อรู้ถึงสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหาในการเกิดการเกิดหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 เพราะเป็นที่มีความซับซ้อนพอสมควรที่เกิดจากหลายๆสาเหตุจากภาคการเกษตรและป่าไม้ ย่างไรก็ตาม ในภาคการเกษตรต้องยอมรับว่าบางครั้งก็มีเหตุและมีความจำเป็นแต่จะทำอย่างไรให้ปัญหาเกิดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้คือต้องมีการบริหารที่เหมาะสม แม้ป่าไม้ก็มีมีไฟป่าเช่นกันฉะนั้นนทางออกคือต้องบริหารจัดให้เมาะสมด้วยการทำเกษตรและป่าไม้ที่ยั่งยืน

 

ชมคลิป >>>  “ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 สร้างความเข้าใจ สู่การแก้ไขอย่างยั่งยืน”