svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

รู้หรือไม่? "ลองกอง" และ "ลางสาด" ต่างกันอย่างไร

โชคดีของประเทศไทย ถึงอากาศจะร้อน แต่เราก็มีอาหารการกินอุดมสมบูรณ์อาหารคาวไม่เคยหาย ผลไม้ไม่เคยขาด

ผลไม้เริ่มทยอยออกสู่ตลาดให้เราได้ชิมกัน หมดหน้าทุเรียนไปแล้ว ตอนนี้คงต้องยกให้ผลไม้มีขนอย่าง "เงาะ" หรือผลไม้รสหวานอมเปรี้ยวอย่าง "ลิ้นจี่" ราคาก็ย่อมเยา หาซื้อทานกันได้ทุกตลาด  "ลางสาด" และ "ลองกอง" เป็นอีกผลไม้หน้าร้อนต่อหน้าฝนที่เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน รูปร่างและลักษณะคล้ายกันมาก คุณเคยสงสัยไหมว่า... ลองกอง กับ ลางสาด ต่างกันตรงไหน? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ค่ะเริ่มจาก "ลางสาด มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ได้แก่ มลายูเรียก ลาซะ ดูกู ไทยเรียก ลางสาด มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า ลานเสท (Lancet), ลานเซียม (Langsium) และลานสาท (Langsat) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ลานเซียม โดเมสติคัม (Lansium domesticum, Corr..) จัดอยู่ในวงศ์มีเลียซีอี้ (Meliaceae) ลางสาดเป็นไม้ผลในสกุลเดียวกับลองกอง มีลักษณะใกล้เคียงกันมากแม้ว่าเกษตรกรจะนิยมปลูกลองกองมากกว่า เพราะผลผลิตมีรสชาติดี และขายได้ราคาดีกว่า แต่ลางสาดก็ยังจัดเป็นไม้ผลพื้นเมืองของไทยที่ให้ผลตอบแทนที่ดีอีกชนิดหนึ่งลักษณะทางพฤษศาสตร์ลางสาด จัดเป็นไม้ผลเมืองร้อน(ร้อนชื้น) จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเป็นใบรวม มีใบย่อยเป็นแบบขนนกออกสลับกัน ลักษณะใบลางสาดจะบางกว่าและหยักเป็นคลื่นน้อยกว่าลองกอง (ร่องใบตื้นกว่า) ดอกออกเป็นพวงสีเหลือง ผลสีเหลืองอ่อนรูปร่างกลมหรือรูปไข่ ผลจะออกตามลำต้นหรือกิ่งที่แก่ เปลือกผลบางมีขนนิ่ม มียางสีขาว เนื้อหุ้มเมล็ด มีลักษณะใส ในหนึ่งผลมีประมาณ 5 เมล็ด ลักษณะอื่นๆ ใกล้เคียงกับลองกอง ควรปลูกลางสาดในพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้นและมีแหล่งน้ำเพียงพอตลอดปี ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด หรือกิ่งตอน การทาบกิ่งหรือต่อกิ่ง และติดตาประโยชน์ทางสมุนไพร เปลือกผล มีสารโอเลอเรซิน ซึ่งมีสรรพคุณในการใช้แก้ท้องร่วง และบรรเทาอาการปวดท้อง เปลือกต้น มีรสฝาด จึงมีสรรพคุณใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้ เปลือกต้น มีรสขม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ แก้ไข้ ส่วน "ลองกอง" มีชื่อวิทยาศาสตร์ : Aglaia dookkoo Griffชื่อสามัญ : Longkongลักษณะทางพฤษศาสตร์ :ต้น : ลำต้นคล้ายกับต้นลางสาด มีความสูงประมาณ 20 - 30 ฟุต ผิวดำ ต้นมีสีน้ำตาล ต้นลองกองไม่มีลักษณะเป็นลายขาวแบบต้นลางสาด ผิวของลำต้นจะดูขรุขระ ใบ : มีลักษณะเป็นมันใหญ่นูนเป็นคลื่นตรงเส้นใบย่อยเห็นได้ชัดกว่าใบลางสาด ใบมีรสขม ขณะเป็นต้นกล้าดอก : ตาดอกมีลักษณะ เป็นตุ่มแข็ง มีสีน้ำตาลอมเขียว ซึ่งจะเจริญเป็นช่อดอกที่แตกออกมาจากลำต้น การออกดอกส่วนใหญ่จะเริ่มบริเวณ 2 ใน 3 ของช่อดอกจากปลายช่อ ผล : มีขนาดใหญ่กว่าลางสาด ผลค่อนข้างกลม และมีผลรีบ้างเล็กน้อย เมื่อสุกมีสีจางกว่าสีของผลลางสาดเมล็ด : ค่อนข้างเล็กมีรอยแตกร้าวเป็นส่วนใหญ่ เพาะจะได้ต้นกล้าหลายต้น เมล็ดในแต่ละผลมีน้อยหรือไม่มีเลยการใช้ประโยชน์ :- เปลือกของลำต้น มีรสฝาด ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้- เมล็ด มีรสขม ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ- เป็นผลไม้ ใช้รับประทาน นำมาทำเป็นแยมลองกอง น้ำลองกอง ลองกองกวน แล้ว "ลองกอง" กับ  "ลางสาด" แตกต่างกันอย่างไร - ลองกองแพงกว่าลางสาด- ลางสาดผลมีลักษณะออกกลมรี ส่วนลองกองผลจะค่อนข้างกลม- ลางสาดเปลือกบาง ส่วนลองกองเปลือกจะค่อนข้างหนา- ลางสาดมีผิวละเอียด ส่วนลองกองผิวจะหยาบเล็กน้อย- สีเปลือกของลางสาดเป็นสีเหลืองสดใส ส่วนลองกองเป็นสีเหลืองซีด- เปลือกลางสาดมียางสีขาวขุ่น ส่วนลองกองจะไม่มียาง- ลางสาดแกะรับประทานได้ยาก เปลือกล่อนได้ไม่ดี ส่วนลองกองแกะรับประทานได้ง่าย เปลือกล่อนออกจากเนื้อได้ดี- ลางสาดมีผลกลมเรียบไม่มีจุก แต่ผลลองกองมีจุก- ลางสาดมีเมล็ดมาก (ประมาณ 5 เมล็ด) ส่วนลองกองมีเมล็ดน้อยหรือไม่มีเลย- เมล็ดของลางสาดมีรสขมมาก ส่วนลองกองเมล็ดจะไม่ขม- เนื้อลางสาดมีรสหวานอมเปรี้ยวกว่า ส่วนลองกองมีรสหวาน-ความหวานของลางสาดมีค่าประมาณ 15-16 องศาบริกซ์ ส่วนความหวานของลองกองจะมีค่าตั้งแต่ 16-19 องศาบริกซ์ สรุปก็คือลางสาดหวานน้อยกว่าลองกอง-เมื่อสุก เนื้อลางสาดจะฉ่ำน้ำ ส่วนเนื้อของลองกองจะแห้งและขาวใสเป็นแก้วลางสาดมีเนื้อน้อยกว่าลองกอง-ช่อผลของลางสาดจะสั้นกว่าช่อผลของลองกอง-ใบของลางสาดไม่ขม แต่ใบลองกองมีรสขมจัด-ใบลางสาดค่อนข้างเรียบ ส่วนใบของลองกองจะเป็นคลื่นใหญ่ร่องลึกขอบคุณข้อมูลจาก natres.psu.ac.th และ frynn.com