ประเทศไทย ดินแดนแห่งสตรีทฟู้ด ความอร่อยริมทางและบริการจัดส่งดีเยี่ยมตลอด 24 ชั่วโมง เชื่อมโยงปัญหาโรครุมเร้าเพราะพฤติกรรมตามใจปากแบบ “ไม่เลือกบริโภค” ดันตัวเลขสถิติผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังพุ่งสูงทุกปี เรื่องนี้ทำให้เราหยิบยก รหัสลับ 6 : 6 :1 มาอธิบาย พร้อมกับแนะนำเทคนิคการลดกินหวาน มัน เค็ม บ่อเกิดโรคต่างๆ
กลุ่มที่ 1 “น้ำตาล”
ปกติแล้วร่างกายเราควรได้รับไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม (โดยน้ำตาล 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี) เป็นสารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแต่ร่างกาย พบมากในเครื่องดื่ม ขนมขบเคี้ยว หรือแม้แต่การเติมปรุงรสลงในอาหารจานเดียว เช่น ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ เป็นต้น ถึงแม้จะมีข้อกำหนดในการได้รับน้ำตาลผู้บริโภคสามารถมีทางเลือกโดยการเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในรูปแบบต่างๆที่มีจำหน่ายในท้องตลาดได้ แต่ข้อควรคำนึงคือการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ที่ให้รสชาติที่หวานกว่าน้ำตาลปกติหลายเท่าอาจจะส่งผลให้ติดรสชาติความหวานนั้นได้
เทคนิคในการลดหวาน
กลุ่มที่ 2 “น้ำมัน/ไขมัน”
เราควรได้รับไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม (โดยน้ำมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี) เป็นสารที่ให้พลังงานสูงแก่ร่างกาย ช่วยดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค ไขมันอิ่มตัว การบริโภคน้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว น้ำมันจากสัตว์รวมถึงไขมันทรานส์ ที่มากเกินไป จะทำให้เลี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจและหลอดเลือด การเลือกชนิดของน้ำมันมีผลต่อสุขภาพ ดังนั้นอาหารแต่ละชนิด ควรเลือกใช้ชนิดน้ำมันให้เหมาะสมกับประเภทอาหาร
เทคนิคในการลดมัน
กลุ่มที่ 3 “เกลือ หรือโซเดียม”
เราควรได้รับไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา 5 กรัม หรือปริมาณโซเดียม 2,000 มิลลิกรัม ความเค็มที่มาจากโซเดียมคลอไรด์ ที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องปรุงรสแทบทุกชนิดที่ให้รสชาติเค็ม หรือแม้แต่วัตถุดิบธรรมชาติ ที่ยังไม่ได้ผ่านกระบวนการปรุงรส แปรรูป ก็ยังมีพบว่ามีปริมาณโซเดียม หากได้รับมากเกินจะก่อให้เกิดผลเสียทำให้ความดันโลหิตสูง เพิ่มการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะมีผลต่อการทำงานของไตและหัวใจ ปริมาณของโซเดียมแฝงในอาหารเกือบทุกประเภทโดยเฉพาะ อาหารแปรรูป อาหารหมักดอง อาหารแช่แข็ง ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ อาหารกึ่งสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว
เทคนิคในการลดเค็ม