17 เมษายน 2568 "หมอเจด" นายแพทย์เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้โพสต์ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก "หมอเจด" โดยระบุว่า ทุกๆ 1 ชม. คนเสียชีวิตจากโรคนี้ 8 คน รีบป้องกันก่อนสายๆไป
จากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขปี 2565 มีผู้เสียชีวิตจาก "โรคหัวใจและหลอดเลือด" มากถึง 70,000 รายต่อปี หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน ซึ่งเป็นตัวเลขที่ถือว่าเยอะและน่าตกใจมาก เมื่อก่อนเราก็จะคิดว่าโรคนี้เป็นโรคของคนอายุเยอะ หรือคนที่มีโรคประจำตัว
แต่ปัจจุบัน การใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ก็เพิ่มความเสี่ยงโดยที่เราไม่รู้ตัว ซึ่งจริงๆ แล้วมันมีวิธีป้องกันอยู่นะครับ อ่านให้จบนะ จะได้ลดความเสี่ยงได้ถูกวิธีครับ
1. โรคหัวใจและหลอดเลือดคืออะไร? ทำไมถึงน่ากลัว?
คำว่า "โรคหัวใจและหลอดเลือด" (Cardiovascular Disease) เป็นชื่อเรียกรวมของกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจและหลอดเลือด เช่น
โรคที่พูดมา มันไม่มีสัญญาณเตือนที่ชัดเจนนะ บางคนรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือเส้นเลือดในสมองแตก ซึ่งอาจเกิดขึ้นในเวลาไม่กี่นาที และบางครั้งก็ไม่ทันได้ไปถึงโรงพยาบาล
2. ทำไมโรคนี้ถึงพบมากขึ้นเรื่อยๆ?
ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 30-40 ปีก่อน โรคหัวใจยังเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับคนทั่วไป แต่ปัจจุบัน โรคหัวใจกลายเป็นเรื่องใกล้ตัวมาก เพราะไลฟ์สไตล์สมัยนี้มันเปลี่ยนไปนะครับ ลองสังเกตดูนะครับ ผมเชื่อว่าหลายคนเป็นแบบที่ผมพูดนะคือ
หลายคนอาจไม่ได้รู้สึกป่วย หรืออาการก็ไม่ชัดเจนจนทำให้ชะล่าใจ เช่น เจ็บหน้าอกนิด ๆ เหนื่อยง่ายขึ้นเล็กน้อย ปล่อยไว้ก็อาจกลายเป็น "สัญญาณเตือนที่มองข้ามไป"
3. อาการที่ควรรู้ว่า "อาจเสี่ยง" โรคหัวใจ
ถึงอาการของโรคหัวใจจะหลากหลาย แต่อยากให้จำไว้ว่า ไม่ต้องรอให้ปวดแบบ "เจ็บแน่นอกแบบหนังหมอผ่าตัด" ถึงจะเรียกว่าผิดปกติ อาการที่น่าสงสัย เช่น
บางคน โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้สูงอายุ อาจไม่มีอาการเจ็บหน้าอกแบบชัดเจน แต่จะมีแค่อ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่ายเฉยๆ ก็อาจเป็นสัญญาณของ หัวใจขาดเลือดแบบไม่แสดงอาการ (Silent ischemia) ได้เหมือนกันนะครับ
4. กลุ่มเสี่ยงที่ควรระวังเป็นพิเศษ
โรคหัวใจและหลอดเลือดอาจเกิดขึ้นกับใครก็ได้ แต่บางกลุ่ม มีความเสี่ยงมากกว่าปกติ และควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิด ข่าย
กลุ่มที่ควรเฝ้าระวัง
โดยเฉพาะถ้าไม่ได้ควบคุมอย่างต่อเนื่อง
ใครที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ผมพูดมา แนะนำแบบนี้นะว่า
5. ป้องกันหัวใจวาย ทำได้ง่ายกว่าที่คิด
หลายคนคิดว่าการป้องกันโรคหัวใจต้องยาก แต่จริงๆ แล้ว การดูแลหัวใจให้แข็งแรงสามารถเริ่มได้ง่าย ๆ จาก "พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน"
ปรับพฤติกรรมอย่างยั่งยืน
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ น้ำตาลเกินความจำเป็น และโซเดียมที่มากเกินไป หันมาเน้น ไขมันดี เช่นปลาทะเลน้ำลึกอย่างแซลมอน ทูน่า หรือแมคเคอเรล ซึ่งเป็นแหล่งของโอเมก้า 3 (Omega-3) โดยเฉพาะชนิด EPA และ DHA ที่ช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือด และลดไตรกลีเซอไรด์ในเลือด
อย่างไรก็ตาม คนไทยจำนวนมากยังบริโภคปลาทะเลไม่ถึงสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
ถ้ารับจากอาหารธรรมชาติไม่เพียงพอ ก็ทานเป็นแบบอาหารเสริมเพิ่มก็ได้ครับ
ฝากด้วยนะครับโรคหัวใจและหลอดเลือดไม่ใช่เรื่องของ "คนแก่" หรือ "คนมีโรคประจำตัว" เสมอไปนะครับ คนที่ยังดูแข็งแรง ยังทำงานได้ปกติก็อาจมี "ความเสี่ยง" โดยที่ไม่รู้ตัว แต่เราป้องกันได้ครับ และเริ่มได้ง่ายกว่าที่คิด ดูแลตัวเองด้วยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก : เพจ หมอเจด
ขอบคุณภาพ : Freepik