svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

“ปรากฏการณ์น้ำแดง” แพลงก์ตอนบลูม ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในทะเลเปลี่ยนรวดเร็ว 

อ้างอิงชุดข้อมูลจาก โฆษกรัฐบาล ระบุว่า ที่จังหวัดชุมพร มีปลา และสัตว์น้ำ ขึ้นมาตายเกยหาดทุ่งวัวแล่นจำนวนมาก โดยกล่าวว่าปรากฏการณ์ดังกล่าว เป็นปรากฏการณ์ปกติ ที่ชาวบ้านอำเภอปะทิว เรียกกันว่า“ปลาตายน้ำแดง”

หลังมี ปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม หรือ "ปลาตายน้ำแดง" เกลื่อนหาดทุ่งวัวแล่น ชุมพร ชาวบ้านนับร้อยแห่เก็บกิน-ขาย ทำปุ๋ยหมักใช้ในการเกษตร ประมงอำเภอเผย สาเหตุเกิดจากน้ำทะเลเปลี่ยน มีแพลงก์ตอนจำนวนมาก เข้าไปขัดขวางการหายใจของสัตว์น้ำ เตือนชาวบ้านอย่าเพิ่งนำไปรับประทาน เพราะไม่รู้ว่าเป็นแพลงก์ตอนชนิดมีพิษหรือไม่ 


แพลงก์ตอนบลูม มักเกิดตอนต้นฤดูฝน เมื่อน้ำจืดลงทะเลเป็นจำนวนมาก พาธาตุอาหารลงทะเล ทำให้เกิดความหนาแน่นของแพลงก์ตอน ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในทะเลเปลี่ยนรวดเร็ว ทำให้ปลาขาดออกซิเจน เป็นสาเหตุทำให้ปลาตาย และถูกน้ำทะเลซัดมาเกยที่หาด โดยในปีนี้มีความรุนแรงกว่าปกติ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับภาวะโลกร้อน ทำให้น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น ดังปรากฏในสื่อโซเชียลจำนวนมาก

“ปรากฏการณ์น้ำแดง” แพลงก์ตอนบลูม ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในทะเลเปลี่ยนรวดเร็ว 

หลังจากเกิดเหตุ ได้สั่งการให้ ฝ่ายปกครองอำเภอ ประมงอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งจัดเก็บปลาที่ตาย บริเวณหาดทุ่งวัวแล่น และนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อป้องกันปัญหาน้ำเน่าเสีย และส่งกลิ่นเหม็น ที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 

พร้อมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมทางทะเล เร่งดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุ ประเมินความรุนแรงของเหตุการณ์ และประเมินความสูญเสียของสัตว์น้ำ

ขอเน้นย้ำให้พี่น้องประชาชนที่มาเก็บปลา อย่าเพิ่งนำไปบริโภค ซึ่งเสี่ยงเกิดอันตราย เพราะยังไม่ทราบว่าเป็นแพลงก์ตอนบลูมชนิดใด อาจจะเป็นอันตรายกับผู้บริโภค

ทั้งนี้ จังหวัดชุมพร ได้ประสานให้ศูนย์วิจัยประมงชายฝั่ง มาเก็บตัวอย่างน้ำ และปลาไปตรวจสอบแล้ว ซึ่งต้องรอผลตรวจว่าเป็นแพลงก์ตอนชนิดที่กินได้หรือไม่ แต่หากนำไปทำปุ๋ยหมักสามารถทำได้ และเป็นประโยชน์ด้วยทั้งนี้ ได้กำชับให้ทุกหน่วยงานเร่งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ผ่านทุกช่องทางสื่อสาร พร้อมทั้ง สร้างความตระหนักในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติให้พี่น้องประชาชนมีส่วนร่วมลดสภาวะโลกร้อน

ด้าน นายบุญญวัฒน์ ทองหอม ประมงอำเภอปะทิว กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากชาวประมงว่า มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "ปลาตายน้ำแดง" หรือ "น้ำทะเลเปลี่ยนสี" ทำให้เกิดปรากฏการณ์แพลงก์ตอนบลูม ออกซิเจนในน้ำมีน้อย อีกทั้งเมื่อเกิดแพลงก์ตอนมากๆ มีความหนาแน่น จะเข้าไปขัดขวางการหายใจของปลาที่บริเวณเหงือกด้วย ทำให้ปลาขาดออกซิเจนแล้วพยายามดิ้นเข้าชายฝั่งและก็ตาย 

“ปรากฏการณ์น้ำแดง” แพลงก์ตอนบลูม ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมในทะเลเปลี่ยนรวดเร็ว 

อย่างไรก็ตาม ขอประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านที่มาเก็บปลาอย่าเพิ่งนำไปบริโภค เพราะยังไม่ทราบว่าเป็นแพลงก์ตอนบลูมชนิดใด จะเป็นอันตรายกับผู้บริโภคหรือไม่ ซึ่งได้ประสานให้ศูนย์วิจัยประมงชายฝั่ง ได้มาเก็บน้ำและปลาตัวอย่างไปตรวจสอบแล้ว ต้องรอผลตรวจว่าเป็นแพลงก์ตอนชนิดไหน เพราะบางชนิดกินได้ บางชนิดกินไม่ได้ แต่ถ้านำไปทำปุ๋ยหมักไม่มีปัญหา

ขณะที่อีกมุมมอง ชาวบ้านบางคนบอกว่า ได้มาเก็บไปกินและแล่เนื้อขาย เพราะปรากฏการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นทุกปี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าปลาตายน้ำแดง และมาเก็บไปกินไปขายทุกครั้ง ถือว่าเป็นเรื่องปกติและไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด