svasdssvasds
เนชั่นทีวี

กีฬา

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 

“ไตรรัตน์” รักษาการเลขาธิการ กสทช. เผยที่มาของตัวเลข 600 ล้านบาท ใช้วิธีคนละครึ่ง หลัง กกท. ต่อรองลิขสิทธิ์จากฟีฟ่า หลังจากนี้ขึ้นอยู่กับ กกท.

นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยกับถึงที่มาของจำนวนเงิน 600 ล้านบาทว่า ใช้วิธีการเดียวกับการสนับสนุนค่าถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิก ที่ออกให้คนละครึ่งกับการกีฬาแห่งประเทศไทย


“จากเดิมที่มีรายงานว่าค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดฟุตบอลโลกมีมูลค่าอยู่ที่ 42.5 ล้านเหรียญสหรัฐ (ผู้ว่า กกท. จึงได้ทำหนังสือทางการไปต่อรองกับฟีฟ่า โดยขอให้ลดราคามาอยู่ที่ 32.2 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1,223 ล้านบาท) แต่ฟีฟ่ายังไม่ได้ยืนยันว่าลดได้หรือไม่ เราจึงได้ใช้การออกกันคนละครึ่ง คือ 16.1 ล้านเหรียญสหรัฐ อยู่ที่ 611 ล้านบาท จึงได้ให้เป็นตัวเลขกลม ๆ ที่ 600 ล้านบาท”

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 

นายไตรรัตน์ ระบุอีกด้วยว่า หลังจากนี้ กกท.อาจจะหาสปอนเซอร์เพื่อหาเงินสนับสนุนเพิ่มเติมในส่วนของตนจากที่อื่นต่อไป หากได้ก็ยินดี อย่างไรก็ตาม กสทช.ได้ช่วยเหลือแล้ว การดำเนินการใด ๆ ในการฉายหรือถ่ายทอดสดตามเงื่อนไขของฟีฟ่าหลังจากนี้อยู่ที่การจัดการของ กกท.

อีกประเด็นที่น่าสนใจ!! 
600 ล้าน & Must Have เพื่อสิทธิเข้าถึงฟุตบอลโลก 2022

จากผลสำรวจพฤติกรรมและการใช้จ่ายถ้ามี การถ่ายทอดสดฟุตบอลโลกปี 2022 ระหว่างวันที่ 20 พ.ย -18 ธ.ค.2565 ของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เชื่อว่า จะสร้างความคึกคักให้กับระบบเศรษฐกิจไทยได้ เพราะจะมีเม็ดเงินสะพัด จากการสังสรรค์ ทานอาหารในร้านที่มีการถ่ายทอดฟุตบอลโลก ช่วง 17.00 น., 20.00น., 23.00 น. และ 02.00 น.ทำให้เม็ดเงินหมุนเวียนในระบบประมาณ 1.85 หมื่นล้านบาท ขยายตัวจากช่วงการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2020 ถึง 22 % ในจำนวนนี้เป็น เม็ดเงินด้านการสังสรรค์ 1.55 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวร้านอาหาร และสถานบันเทิงคึกคัก

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย ยังระบุว่า เม็ดเงินจากกระแสฟุตบอลโลกจะหมุนเวียนและสร้างแรงเหวี่ยงให้กับเศรฐกิจไทยในช่วงปลายปี 2565 อีกประมาณ 1 เท่า ทำให้เกิดเม็ดเงินสะพัดโดยรวมเกือบ 3.5 หมื่นล้านบาท และช่วงที่มีการถ่ายทอดสดมาตลอด สามารถสร้างแรงกระตุ้นทางเศรษฐกิจ และสร้างซัพพลายเชนได้มาก ไม่ว่า ชุดและอุปกรณ์กีฬา สื่อสารมวลชน วงการโฆษณา เครื่องใช้ไฟฟ้า ระบบการสื่อสาร อินเตอร์เน็ต และในเรื่องของการกินเลี้ยงสังสรรค์ กระแสฟุตบอลโลก เป็นปัจจัยในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างดี และยังผลบวกต่อเม็ดเงินนอกระบบวงเงินพนันจะอยู่ที่ 5.72 หมื่นล้านบาท ขยายตัวจากช่วงของฟุตบอลยูโรปี 2020 ถึง 25%

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก  ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 

อาจจะเป็นเพราะต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือทำตามประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์รายการโทรทัศน์สำคัญที่ให้เผยแพร่ได้เฉพาะในบริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป พ.ศ. 2555 (Must Have)  ที่ระบุว่า 7 มหกรรมกีฬาที่คนไทยต้องดูฟรี ประกอบด้วย กีฬาซีเกมส์, อาเซียนพาราเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์, เอเชี่ยนพาราเกมส์, โอลิมปิกเกมส์, พาราลิมปิกเกมส์ และฟุตบอลโลก วานนี้ (9 พ.ย.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) จึงมีมติ ให้ กสทช. นำงบกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จำนวน 600 ล้าน ไปดำเนินการเพื่อให้มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022  ให้คนไทยทุกคนสามารถรับชมการถ่ายทอดสดฟุตบอลโลก 2022 ทั้ง 64 นัด ผ่านฟรีทีวีทุกแพลตฟอร์มอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก  ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 

นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

 

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 
ทว่า ในประเด็นนี้ ยังมี 'กรรมการเสียงส่วนน้อย' และ 'นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชนเห็นต่าง' ได้เสนอว่า หากรัฐบาลต้องการสนับสนุนให้ประชาชนคนไทยได้ดูการถ่ายทอดฟุตบอลโลกควรใช้งบประมาณของฝ่ายบริหารในการดำเนินการ เนื่องจากเป็นเงินส่วนกลางเพื่อประโยชน์สาธารณะ การนำไปใช้สนับสนุนการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายขัดต่อวัตถุประสงค์ของกองทุน และมีโอกาสกระทบต่อสภาพคล่อง ส่งผลกระทบต่อการขาดโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของคนไทยทั้งประเทศในภาพรวมได้

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 

วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมืองกรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์

ขณะที่อีกมุมมองที่น่าสนใจจากคนดังในแวดวงการเมือง-กีฬา 

วทันยา บุนนาค ประธานคณะทำงานนวัตกรรมการเมืองกรุงเทพฯ พรรคประชาธิปัตย์ ระบุว่าการนำเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) จำนวน 1,600 ล้านบาท ไปใช้สนับสนุนค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 เกิดจากกฎ Must Carry หรือ Must Have ที่ กสทช.วางเงื่อนไขไว้หลังจากการประมูลทีวีดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายการถ่ายทอดสดเวทีสำคัญระดับชาติโดยไม่ถูกปิดกั้นจากเจ้าของผู้ประมูลลิขสิทธิ์ เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นในสมัยฟุตบอลโลกปี 2014  

 

ระยะแรกเหมือนจะไม่มีปัญหาอะไร แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับกลายเป็นว่ากฎ Must Carry ของ กสทช. เป็นการบิดเบือน แทรกแซงกลไกตลาดในการซื้อขายลิขสิทธิ์บอลโลก

 

ในอดีต ช่องทีวี 3 5 7 9 หรือที่เรียกว่า ทีวีพูล ใช้วิธีร่วมลงขันกันซื้อลิขสิทธิ์ และนำรายการมาเฉลี่ยจัดสรรการถ่ายทอดกันตามสัดส่วนเงินที่ลงทุน ในส่วนของผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ เจ้าของรายการอื่นๆ หากอยากได้เนื้อหา ฟุตเทจวีดีโอ ก็ต้องจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ให้กับทีวีพูล รวมถึงเจ้าของสินค้าที่อยากมีผลิตภัณฑ์ของตัวเองออกอากาศในระหว่างการถ่ายทอดเพราะสามารถเข้าถึงคนดูจำนวนมาก ก็ต้องจ่ายเงินค่าสปอนเซอร์ในการสนับสนุน ทั้งหมดนี้เป็นการหารายได้ของผู้ประมูลลิขสิทธิ์ที่สามารถปฏิบัติกันมายาวนานโดยไม่มีปัญหาอะไร จนกระทั่งเกิดกฎ Must Carry

 

ดังนั้น หากจะแก้ปัญหาให้ถูกต้องก็ต้องกลับไปแก้ที่ต้นเหตุด้วยการทบทวน กฎ Must Carry ใหม่ ไม่ใช่แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ด้วยการให้รัฐหาเงินมาจ่ายค่าลิขสิทธิ์ ไม่ว่าจะจากการะดมทุนในบริษัทบิ๊กคอร์ปให้ช่วยอุดหนุน หรือจะจากงบรัฐ ที่ทำให้เกิดคำถามตามมาของคนที่ไม่ใช่แฟนบอลว่า แล้วทำไมต้องนำเงินภาษีของประชาชนมาใช้กับเรื่องที่เขาไม่ได้ประโยชน์ โดยเฉพาะปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นสามารถแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นด้วยการใช้กลไกธุรกิจ เพื่อไม่สร้างภาระให้รัฐ และประชาชนเหมือนเช่นในอดีตที่ก็เคยทำกันมาอยู่แล้ว

 

ในทางกลับกัน หากเราเป็น FIFA หรือบริษัทเอเย่นที่เป็นตัวแทนนายหน้าขายลิขสิทธิ์บอลโลก เมื่อเจอกรณีแบบประเทศไทยที่รัฐกลัวเสียหน้า ยอมเปลืองตัวเป็นเจ้าภาพหาเงินมาอุดหนุนก็ต้องบอกได้คำเดียวว่า หวานหมู เพราะไม่ว่าค่าลิขสิทธิ์จะสูงลิ่วเพียงใด รัฐก็ต้องกัดฟันเอาเงินมาให้อยู่ดี และนั่นก็ไม่แปลกใจเลยว่าทำไม ลิขสิทธิ์บอลโลก 2022
ของไทยจึงได้แพงกว่าประเทศอื่นๆในภูมิภาคเดียวกัน ออกกฎ Must Carry ปกป้องประชาชนแต่สุดท้ายก็ต้องนำเงินประชาชนมาใช้อยู่ดี แถมยังกลายเป็นของหวานให้ต่างชาติรีดเงินเพิ่ม

 

เป็นไปได้หรือไม่ว่าเพื่อเป็นการวางแผนระยะยาวในอีก 4 ปีข้างหน้า จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องมีการปรับปรุงกฎ Must Have ประกาศ กสทช.เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงรายการถ่ายทอดสดเวทีสำคัญระดับชาติโดยไม่ถูกปิดกั้นจากเจ้าของผู้ประมูลลิขสิทธิ์ อย่างละเอียดรอบคอบด้วยการใช้กลไกธุรกิจ เพื่อไม่ให้เป็นการสร้างภาระให้รัฐบาลและ เป็นไปตามกลไกการตลาด ที่มูลค่าลิขสิทธิ์แปรผันตามฐานจำนวนผู้ชม รวมถึงรายได้ที่จะเกิดขึ้นจากโฆษณาและอื่นๆ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์ ผู้ประกอบการสถานีโทรทัศน์ จะต้องหารือร่วมกันเพื่อให้เกิดสมการที่ลงตัวในอนาคต

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 

หลังรับทราบงบจากทาง กสทช. ทางด้าน ผู้ว่าฯ กกท.รับงานนี้ "หนักใจ" 
กรณี ที่ กสทช. อนุมัติงบค่าลิขสิทธิ์ "ฟุตบอลโลก 2022" เพียง 600 ล้าน น้อยกว่าที่คาด ขอเร่งหาทางอื่น รวมถึงการหารือกับภาคเอกชนที่เคยคุยกันไว้ก่อนหน้านี้

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 
ล่าสุด ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) เผยว่า

"ได้เรียกทีมงานประชุมหารือว่าจะดำเนินการอย่างไรกันต่อไป ยอมรับว่าค่อนข้างหนักใจกับจำนวนเงินที่ได้รับมา 600 ล้านบาท เพราะตอนแรกคาดว่าจะได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตามจะพยายามทำอย่างเต็มที่ในการหาเงินมาให้ครบภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่ เพื่อที่จะให้คนไทยได้รับชมฟุตบอลโลก โดยจะหารือกับภาคเอกชนได้คุยไว้แล้วบางส่วนก่อนหน้านี้ แต่ก็คงต้องมารอดูกันว่าจะมีใครเข้ามาสนับสนุนได้เท่าไหร่บ้าง"
 

ไขข้อสงสัย ทำไม กสทช.ยอมควัก 600 ล้านบาท เพื่อฟุตบอลโลก 

ขอขอบคุณที่มา >> เดียร์ วทันยา บุนนาค