svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง"เลือกนายกอบจ." ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

"ม.หอการค้าฯ" จับมือองค์กรต้านโกง เผยโพล"เลือกตั้งนายก อบจ." พบ ปชช.ส่วนใหญ่เลือกผู้สมัครอิสระ-เลือกจากความคุ้นเคย - อึ้ง! ร้อยละ 40 รับได้ถ้าโกงแต่มีผลงาน-แถมกาให้ถ้าได้รับเงิน -  กลุ่มเฟิร์สโหวตฯ ยังยึดพรรคการเมือง - ร้อยละ 67 รับเงินแต่ไม่กาให้

26 พฤศจิกายน 2567 "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" ร่วมกับ "องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน" (ประเทศไทย) และมูลนิธิ ''เพื่อคนไทย'' ร่วมกันแถลงข่าว ''ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งนายก อบจ.'' 

โดย"นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์" ที่ปรึกษาประจำสภาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจในครั้งนี้ โดยได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,017 กลุ่มตัวอย่างในจังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ นครราชสีมา อุบลราชธานี สกลนคร สุพรรณบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี สมุทรปราร นนทบุรี สมุทรสาคร สงขลา สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต ซึ่งกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว แบ่งเป็นกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก ร้อยละ 20 และเคยเลือกตั้งมาแล้ว ร้อยละ 80 สำรวจระหว่างวันที่ 1 ถึง 11 ตุลาคม 2567 

รายงานส่วนหนึ่งในผลสำรวจ การทุจริต เลือกตั้งนายกอบจ.

ผลการสำรวจพบว่า ประชาชนชนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 62.4 ตั้งใจและติดตาม และรอที่จะไปเลือกตั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 37.4 ไมได้ตั้งใจติดตาม แต่จะไปเลือกตั้ง และร้อยละ 0.2 ไม่ได้ตั้งใจติดตามและไม่ไปเลือกตั้ง 

ผลสำรวจยังพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 57.2 มีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครนายก อบจ.ที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง เพราะเชื่อว่า สามารถทำงานได้เป็นอิสระ นโยบายทำได้จริง และเลือกที่ตัวบุคคล เข้าถึงง่าย เข้าใจประชาชน และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.8 มีแนวโน้มที่จะเลือกผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง เพราะเชื่อในความน่าเชื่อถือความเป็นพรรคการเมือง รวมถึงมั่นใจในนโยบาย

กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 55.3 ยังเปิดเผยว่า การที่ผู้สมัครเคยมีความคุ้นเคย เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างเลือกผู้สมัครคนนั้น และอีก 44.7 บอกว่า ไม่เป็นสาเหตุ

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง\"เลือกนายกอบจ.\" ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง\"เลือกนายกอบจ.\" ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง\"เลือกนายกอบจ.\" ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 68 เห็นว่า การเลือกตั้ง อบจ.จะมีการซื้อเสียงเกิดขึ้นโดยทั่วไป, ร้อยละ 27.3 เกิดขึ้นในบางพื้นที่ และร้อนละ 4.7 เชื่อว่า ไม่เกิดขึ้น โดยมีการคาดการณ์ว่า จะมีการซื้อเสียงในเฉลี่ยราคา 900 บาทต่อคน ซึ่งอัตราเฉลี่ยการซื้อเสียงที่สูงที่สุด ได้แก่ ภาคกลาง, ภาคใต้ แลภาคเหนือ และปริมณฑล  

กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 58.7 มั่นใจว่า การซื้อเสียงสามารถชักจูงใจให้ประชาชนเลือกผู้สมัครที่ให้เงินได้ และร้อยละ 41.3 เชื่อว่า ชักจูงไม่ได้ 

ขณะเดียวกัน กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 63.7 ยอมรับการซื้อเสียงในการเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิก อบจ.ได้ เนื่องจาก เห็นว่า เป็นเรื่องปกติ และเป็นสินน้ำใจ ค่าเดินทาง, ร้อยละ 32.7 บอกว่า ยอมรับไม่ได้ เพราะเป็นการทุจริต ทำผิดกฎหมาย เป็นจุดเริ่มต้นการทุจริตคอร์รัปชัน 

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง\"เลือกนายกอบจ.\" ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง\"เลือกนายกอบจ.\" ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 83.6 บอกว่า รับเงินแล้ว จะไปเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิก อบจ. เพื่อไปใช้สิทธิตามหน้าที่ และถูกหัวคะแนนเช็กชื่อ และร้อยละ 14.6 บอกว่า ไม่ไป เพราะไม่ชอบการโกงกิน และเบื่อ ส่วนเมื่อรับเงินแล้ว จะไปเลือกคนที่จ่ายเงินให้หรือไม่นั้น ร้อยละ 44 บอกเลือก เพราะเป็นความคุ้นเคย และรู้จัก ได้รับเงินมาแล้ว และเห็นผลงานที่ผ่านมา และร้อยละ 56 บอกว่า ไม่เลือก เพราะต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ยึดมั่นใจจริยธรรมและความถูกต้อง

นอกจากนั้น ยังมีการคำนวณอัตราเฉลี่ยค่าใช้จ่าย ที่จะทำให้กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งเปลี่ยนใจเลือกผู้สมัครคนอื่นได้ โดยผู้สมัคร อาจจะต้องจ่ายเงินสูงถึง 2,784 บาท ที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิฯ เปลี่ยนใจเลือกผู้สมัครคนอื่นได้ เพราะถือว่า เป็นการให้เงินมากกว่าคู่แข่ง ต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเป็นทางเลือกใหม่ 

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง\"เลือกนายกอบจ.\" ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

ขณะที่ ประเด็นการทุจริตงบประมาณท้องถิ่นนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 95.4 ทราบว่าประเทศไทยมีการทุจริต หรือการทุจริตงบประมาณท้องถิ่นมหาศาล โดยรับทราบจากสื่อ และข่าวสาร รวมถึงสังเกตได้จากคุณภาพงานที่ไม่ได้มาตรฐาน และพบเห็นในการทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง และกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 4.6 ไม่รับทราบ เพราะไม่ได้สนใจ และไม่ได้ติดตามข่าวสาร และไม่มีประสบการณ์ตรง เข้าไม่ถึงข้อมูล และไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง รวมถึงยังมีกลุ่มตัวอย่ง ร้อยละ 93.6 อย่างมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันในระดับท้องถิ่น และระดับจังหวัด เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในระบบการเมือง ทำให้การเกิดตรวจสอบ และสร้างให้เกิดความยุติธรรม

ผลสำรวจ ยังระบุถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกนายก อบจ. และสมาชิก อบจ.ได้แก่ การเป็นทายาทหรือตระกูลการเมืองในพื้นที่ขอผู้สมัคร ร้อยละ 19.5, นโยบายการพัฒนาพื้นที่ ร้อยละ 15.4, ความน่าสนใจของผู้สมัคร ร้อยละ 14.3 และความสามารถในการบริหารงบประมาณ ร้อยละ 10 

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง\"เลือกนายกอบจ.\" ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

ส่วนความมั่นใจในระบบการเลือกตั้งท้องถิ่นปัจจุบัน จะได้คนดี มีความสามารถมากน้อยเพียงใดนั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 66.3 เชื่อมั่นใจระดับปานกลาง, ร้อยละ 32.7 เชื่อมั่นมาก และร้อยละ 1 เชื่อมั่นน้อย

ส่วนหากผู้สมัครเลือกตั้งท้องถิ่นไม่มีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน กลุ่มตัวอย่างจะเลือกหรือไม่นั้น ผลการสำรวจ ระบุว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 85 บอกว่า เลือก เพราะผู้สมัครอาจเป็นคนทำงาน หรือคุ้นเคยกัน มีผลงาน เข้าใจท้องถิ่น หรือไม่มีประวัติเสื่อมเสีย ตรวจสอบได้ และกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 15 บอกว่า ไม่เลือก เพราะไม่ซื่อสัตย์ ไม่โปร่งใสตั้งแต่เริ่มต้น 

นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 40.4 ยังบอกว่า เห็นด้วยหาก อบจ.มีการทุจริตคอร์รับชันบ้าง แต่มีผลงานและทำประโยชน์ในพื้นที่ เป็นเรื่องที่รับได้ แต่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.6 ยืนยันว่า ไม่เห็นด้วย และร้อยละ 32 บอกว่า ยังไม่แน่ใจ 

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง\"เลือกนายกอบจ.\" ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

ส่วนหากพิสูจน์ได้ว่า ผู้สมัครมีประวัติการทุจริตจะเลือกผู้สมัครคนนั้นหรือไม่นั้น กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ร้อยละ 41 เท่ากัน บอกว่า ทั้งเลือก และไม่เลือก แต่ร้อยละ 17.8 บอกว่า ยังไม่แน่ใจ และกลุ่มตัวอย่าง ยังเชื่อว่า การเลือกผู้นำที่มีประวัติทุจริต จะส่งผลต่อการพัฒนาจังหวัด ทั้งโครงการพัฒนาไม่ตรงกับความต้องการของประชาชน, เกิดความเหลื่อมล้ำ และงบประมาณถูกใช้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ  

กลุ่มตัวอย่าง ยังระบุถึงมาตรการในการช่วยป้องกันการทุตริจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่า จะต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมองประชาชนในกรตรวจสอบ, เลือกคนดีเข้ามาบริหารท้องถิ่น และปรับปรุงระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้โปร่งใส, เพิ่มอำนาจหน่วยงานตรวจสอบ และเพิ่มบทลงโทษให้รุนแรง

ทั้งนี้ จากผลการสำรวจทั้งหมด หากเจาะไปที่กลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก หรือ เฟิร์สโหวตเตอร์ ร้อยละ 20 ของกลุ่มตัวอย่าง ในประเด็นที่น่าสนใจ พบว่า ประชากรกลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก ส่วนใหญ่ ติดตามและจะไปเลือกตั้งท้องถิ่น ถึงร้อยละ 65.4 แต่ยังให้ความสำคัญกับการเลือกตั้งนายก อบจ.ในระดับปานกลาง โดยมีแนวโน้ม ที่จะเลือกผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง ร้อยละ 54.5 ซึ่งแม้หากผู้สมัครไม่มีนโยบายต่อต้านการคอร์รัปชัน กลุ่มเฟิร์สโหวตเตอร์ ร้อยละ 73.8 บอกว่า จะเลือก, และร้อยละ 52 บอกว่าผู้สมัครที่มีความคุ้นเคย เป็นสาเหตุที่ทำให้ตัดสินใจเลือกผู้สมัครคนนั้น 

เปิดผลสำรวจ ทุจริตซื้อเสียง\"เลือกนายกอบจ.\" ตั้งแต่หลักร้อยถึงห้าพัน

กลุ่มเฟิร์สโหวตเตอร์ ร้อยละ 56.1 ยังเชื่อว่า การซื้อเสียงสามารถชักชูงใจให้ประชาชนเลือกผู้สมัครที่ให้เงินได้ และร้อยละ 66.4 ยอมรับการซื้อเสียงในการเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิก อบจ.ได้ แต่ร้อยละ 67.9 บอกว่า ถ้าได้รับเงินแล้ว ก็จะไม่เลือกให้กับคนที่จ่ายเงินซื้อเสียงให้ และร้อยละ 54.4 บอกว่า จะไม่เลือกหากพิสูจน์ได้ว่า ผู้สมัครเคยมีประวัติทุจริต