11 พฤศจิกายน 2567 "นายวิฑูร ลี้ธีระนานนท์" หนึ่งในเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อการกู้ยืมที่เป็นธรรม นำรายชื่อ 15,000 รายชื่อ เข้ายื่นหนังสือกับ "นายสมคิด เชื้อคง" รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง เพื่อแสดงเจตจำนงในการสนับสนุนให้ "นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง"ดำรงตำแหน่งเป็นประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ บอร์ดแบงก์ชาติ เพื่อที่จะให้"นายกิตติรัตน์"ได้ใช้ความรู้ความสามารถที่มีอยู่ ช่วยเหลือประชาชนทั้งเรื่องการกู้เงิน และการธนาคารที่เป็นธรรมกับประชาชน
โดยเปิดเผย ถึงเหตุผลที่สนับสนุน"นายกิตติรัตน์"เนื่องจาก เห็นความรู้ความสามารถของ "นายกิตติรัตน์" ตั้งแต่สมัยรัฐบาล"นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร"ที่พาประชาชนผ่านวิกฤตเศรษฐกิจมาได้ ส่วนที่ถูกคัดค้านว่าเป็นคนกลางเมืองนั้นตนมองว่า นาย กิตติรัตน์เว้นว่างไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมาระยะหนึ่งแล้ว แล้ววันนี้ไม่ถือว่า "นายกิตติรัตน์" มีตำแหน่งทางการเมือง
ขณะที่ "นายสมคิด" กล่าวว่า วันนี้มีการ นัด ไว้ 2 คณะทั้ง คณะที่ สนับสนุนนายกิตติรัตน์ และคณะที่คัดค้าน เพราะเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายเข้ายื่น เรื่องต่อรัฐบาลได้ แต่ทราบว่าฝ่ายที่สนับสนุนได้เข้าไปยื่นเรื่องต่อธนาคารแห่งประเทศไทยโดยตรง โดยหลังจากรับหนังสือสำนักเลขาธิการนายกจะประสานส่งเรื่องไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยต่อไป ซึ่งเชื่อว่าวันนี้จะมีการเลือกประธานและ คณะกรรมการให้แล้วเสร็จ ส่วนแนวคิดของรัฐบาล ต่อเรื่องนี้นายกรัฐมนตรียังไม่มีการพูดถึง
อย่างไรก็ตามไม่มีการเตรียมรับมือกับกลุ่มผู้ชุมนุมที่ เกิดขึ้น จากสถานการณ์นี้ เพราะอาจจะเกิดก็เกิดเป็นเรื่องปกติอยู่แล้ว ก็ ต้องมีการ พูดคุยเจรจากัน เพื่อหาทางออก
"ม็อบต้าน"กิตติรัตน์" มาตามนัด
วันเดียวกัน เวลา 09.30 น. ที่หน้าธนาคารแห่งประเทศไทย ( ใต้สะพานพระราม 8 ) แยกบางขุนพรหม กลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.), กลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และกองทัพธรรม นำโดย นายพิชิต ไชยมงคล, นายนัสเซอร์ ยีหมะ, นายอานนท์ กลิ่นแก้ว, ดร.ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว), น.ส.พวงทิพย์ บุญสนอง (ทนายมิ้นท์) นัดหมายเคลื่อนขบวนมาชุมนุม กดดันคณะกรรมกาสรรหาประธานบอร์ดแบงก์ชาติ. โดยเรียกร้อง หยุดการเมือง แทรกแซงแบงก์ชาติ"
เนื่องจาก ในวันดังกล่าว จะมีการประชุมเพื่อคัดเลือกประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเลื่อนมาจากวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งเป็นที่รับรู้กันอย่างกว้างขวางว่า รัฐบาลได้เสนอชื่อบุคคลที่มีความใกล้ชิดกับฝ่ายการเมืองให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ "นายนัสเซอร์ ยีหมะ" แจ้งการชุมนุม สน.ชนะสงคราม เป็นเวลา 1 วัน เริ่มชุมนุมตั้งแต่เวลา 08.00 - 16.00 น. ของวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 แจ้งยอดผู้เข้าร่วมชุมนุมประมาณ 300 คน