โดยเรื่องนี้ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่กองทัพมีแผนดำเนินการอยู่ แต่อาจจะอ่อนประชาสัมพันธ์ ทำให้ไม่เข้าถึงการรับรู้ของประชาชนได้อย่างเต็มที่
"เนชั่นทีวี" ได้รวบรวมข้อมูลจากกองทัพ โดยพบว่า
-เหตุการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ต้นปี 2547 จนถึงปัจจุบัน มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น มากกว่า 10,300 ครั้ง แต่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกว่า 15,000 คน
-แผนใช้กำลังพล ลดกำลังพล และถอนทหาร มีมาโดยตลอด ทุกอย่างเป็นไปตามแผน ซึ่งปรับตามสถานการณ์
ปี 2547-2553 เป็นแผนระยะแรกในการยุติสถานการณ์ความรุนแรง มีการระดมกำลังทหารมากถึง 22 กองพัน ระดมจากทุกกองทัพภาค คือ กลาง เหนือ อีสาน หรือ ภาค 1-2-3 ลงไปปฏิบัติภารกิจในพื้นที่
โดยช่วงนั้น กอ.รมน.ภาค4 ส่วนหน้า มีกำลังพล ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร มากกว่า 75,000 นาย
ปี 2554 ระยะที่ 2 เป็นแผนปฏิบัติการเชิงรุกควบคู่การพัฒนา
ปี 2559-2566 เริ่มทยอยถอนกำลัง
โดยปัจจุบัน กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า มีกำลังพล ทั้งพลเรือน ตำรวจ ทหาร 49,995 นาย พร้อมเพิ่มประสิทธิภาพอาสาสมัคร และกำลังประจำถิ่นให้มากขึ้นแทน ทั้งราษฎรอาสารักษาหมู่บ้าน (อรบ.) ชุดคุ้มครองตำบล (ชคต.) ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน (ชรบ.)
สำหรับปัจจุบัน มีชุดคุ้มครองตำบล 164 ชุด มีหมวดปฏิบัติการพิเศษ 38 หมวด อำเภอละ 1 หมวด ดูแลในเขตเมือง
ต่อมามีการทยอยถอนกำลังทหารหลัก หรือที่เรียกว่า "ทหารเขียว" จากกองทัพภาค 1-2-3 กลับที่ตั้ง ซึ่งปัจจุบันคงเหลือกำลังแต่ทหารพราน คือ กรมทหารพรานที่ 10, 20, 30 และกองทัพภาค 4 จากกองพลทหารราบที่ 5 (พล.ร.5) จำนวน 2 กองพัน คือ กองพันทหารราบเชิงรุก และหน่วยเฉพาะกิจสงขลา 40 ดูแลพื้นที่ 4 อำเภอ ของ จ.สงขลา
อย่างไรก็ดี ตามแผนจนถึงปี 2570 จะมีการทยอยถอนกำลังทหารออกไป และส่งผ่านความรับผิดชอบพื้นที่ให้กำลังปกติดูแล คือ ผู้ว่าราชการจังหวัด ตำรวจ และภาคประชาชน
ส่วนการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 หรือ "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ" ได้ปรับลดการใช้ไป 10 อำเภอ จากทั้งหมด 33 อำเภอของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ซึ่งคงเหลือใช้ 23 อำเภอ และจะทยอยปรับลดเรื่อยๆ จนยกเลิกทุกพื้นที่ในปี 2570
ส่วน พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 หรือ "พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ" ก็ใช้มาตรา 21 เพียงมาตราเดียว เพื่อเปิดให้ผู้หลงผิด กลับใจเข้ารับการอบรม แทนการฟ้องดำเนินคดี
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจาก กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า สรุปว่า หากสถานการณ์ชายแดนใต้ดีขึ้น ตามที่ฝ่ายความมั่นคงประเมินไว้ สุดท้ายพื้นที่ชายแดนใต้จะเหลือเพียงหน่วยทหารหลัก คือ กองพลทหารราบที่ 15 ซึ่งเป็นของกองทัพาภาคที่ 4 และทหารพรานอีก 4 กรม คือ กรมทหารพรานที่ 41, 42, 43 และ 46 เท่านั้น