6 เมษายน 2568 นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร บอกถึงความคืบหน้าในการค้นหาผู้สูญหายและการริ้อถอนซากอาคาร สตง.ที่พังถล่ม ว่า ตอนนี้เป็นไปตามยุทธิวิธรในการนำเครื่องจักรหนักเข้าทำงาน โดยจุดที่คาดว่าจะพบผู้สูญหายและผู้เสียชีวิตคือ บริเวณโซน C ซึ่งเมื่อคืนพบร่าง 2 ร่าง และช่วงเช้าพบชิ้นส่วนเพิ่มเติม
ซึ่งตอนนี้เริ่มเห็นโพรงที่เชื่อมกันระหว่างโซน B และโซน C แล้วเพราะ 2 โซนนี้เป็นจุดที่เข้าออกของคนงาน เนื่องจากเวลาคนงานเข้าออกจะเข้าออกจากตึกหลัง ที่เป็นที่นั่งของสำนักงาน โดยจะมีบันไดที่เชื่อมกัน เพื่อให้คนงานเข้าออกทั้ง เข้า-เที่ยง-เย็น จึงคาดการณ์ว่าจะมีโพรงด้านล่างอยู่บริเวณโซนนี้
โดย 2 ร่างผู้เสียชีวิตที่พบเพิ่มเติมก็อยู่บริเวณนี้เช่นกัน คาดว่าส่วนหนึ่งมาจากการพยายามจะหนีไปทางอ๊อฟฟิต ทั้งนี้เมื่อใช้โปรแกรมและเทคโนโลยีในการประมวลข้อมูลว่า ใครอยู่ชั้นไหนบริษัทอะไร ก็จะทำให้ข้อมูลชัดเจนทำงานได้ง่ายขึ้น
แต่ปัญหาหลักคือการเอาเนินด้านของซากปรักหักพังออก เพราะมีความไม่ปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นการจะเอาออกต้องทำทางเข้าไปในโซน B จึงได้ตัดอาคารด้านหน้าออกบริเวณโซน A ออก เพื่อเปิดทางให้เอารถขนาดใหญ่ที่สามารถใช้เครื่องจักรเอื้อมไปจัดกองกองด้านบนได้
และสามารถนำเครื่องจักรใหญ่เข้ามาได้แล้ว ทั้ง 2 ทางคือด้านหน้า และด้านข้างที่ตัดเจาะทางพื้นที่ของรถไฟ เพราะมีเศษเหล็กจำนวนมากไปด้านหน้าไม่ได้ ทั้งนี้ สถานการณ์ก็ดีขึ้น เพราะเริ่มเอาจุดที่มีความไม่มั่นคงออก และเริ่มเข้าพื้นที่ได้มากขึ้น โดยคาดว่าน่าจะพบผู้สูญหาย
หากพูดตามความจริงโอกาสรอดชีวิตจะน้อยลง ผู้เสียชีวิตจะมากขึ้น สถานการณ์จะเปลี่ยนจากวิ่งสปริ้น เป็นวิ่งมาราธอน คือการกู้ชีพเหมือนการวิ่งแข่งร้อยเมตร
แต่ตอนนี้เป็นเกมยาว เหมือนการวิ่งมาราธอน ต้องพยายามรักษาความต่อเนื่อง ดูแลคนที่ทำงานให้อยู่กับเราได้ ทีมงานให้เหมาะสมทั้งการบริการ และการปฏิบัติงานด้านใน
นายชัชชาติ ยอมรับว่า จนถึงขณะนี้ไม่พบสัญญานชีพ และไม่พบสัญญานการขอความช่วยเหลือแล้ว ทั้งนี้การนับตัวเลขผู้เสียชีวิต ให้รอทางตำรวจยืนยันเพื่อจะได้ไม่สับสน
ส่วนแผนการดำเนินการหลังจากนี้ ที่ครบ 9 วันกำลังจะเข้าสู่วันที่ 10 ก็ยังใช้แผนเหมือนเดิม เพราะยังคงมีความหวัง ยังมีทีมกู้ภัยอยู่ ดังนั้นถ้าเจอโพรงใหญ่ก็จะเอาทีมเรสคิวเข้าไปดู เริ่มจากสุนัข K9 เข้าไปตรวจสอบ ว่ามีสัญญานผู้รอดชีวิตอยู่หรือไม่ และดูพิกัดและคนเสียชีวิต เพราะสุนัข K9 จะทำให้เจ้าหน้าที่กำหนดเป้าได้มากขึ้น แล้วสลับกับการให้เครื่องจักรหนักทำงาน 5-6 ชั่วโมง
ทั้งนี้ยอมรับว่า เครื่องจักรมีปัญหาบ้างเรื่องการบำรุงรักษา จึงได้สั่งให้เตรียมอุปกรณ์ซ่อมหน้างาน เพราะมีการใช้งานอย่างหนักและจะเดินหน้าต่อ อุปสรรคก็ยังไม่มีอะไร เป็นการบริหารจัดการภายใน และบริหารจัดการได้ดีขึ้น ส่วนทีมกู้ภัยแคนนาดามาเมื่อวาน จะดูว่าปรับแผนยังไงให้เข้ากัน
นายชัชชาติ ยังระบุด้วยว่า หน้าที่ของ กทม.ดูแลอุบัติภัย ส่วนการตรวจเป็นหน้าที่ของกรมโยธาธิการและผังเมือง กทม.ไม่ได้ไปเกี่ยวข้อง แต่แค่อำนวยความสะดวกให้กับการปฏิบัติงานเวลาเข้าพื้นที่
โดยระหว่างสัมภาษณ์ มีเป็นตัวแทนแรงงานจาก ไทย เมียนมา และกัมพูช่ มายื่นจดหมายเปิดผนึกข้อเรียกร้องเพื่ออยากให้ทราบตัวเลขให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งทางผู้ว่า กทม.รับเรื่องไว้พร้อมกับให้กำลังใจกลับไปด้วย