svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ACT" เผยพบผิดข้อสังเกต "โครงการสร้างตึก สตง." ก่อนเกิดเหตุถล่ม!

เอ๊ะแปลกๆ! “องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ACT)” เผยพบข้อผิดสังเกต "โครงการสร้างตึก สตง." หลายสิ่ง ก่อนกิดการถล่ม แฉ! รัฐไม่ให้เข้าร่วมตรวจสอบโครงการตั้งแต่ต้น

29 มีนาคม 2568 นายมานะ นิมิตรมงคลระธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT กล่าวถึงเหตุอาคารสำนักงานของ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง.ที่กำลังก่อสร้างพังถล่มจากเหตุแผ่นดินไหว โดยระบุว่า ที่ผ่านมาทาง ACT ได้ร่วมกับ สตง. ลงนามใน “โครงการข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)” เพื่อป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน ในโครงการก่อสร้างอาคาร สตง.แห่งใหม่ ที่พังถล่ม

แต่อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ ACT กลับไม่ได้รับอนุมัติจากรัฐ ให้เข้าโครงการข้อตกลงคุณธรรม ทั้งปกติโครงการของรัฐ จะเปิดให้ผู้สังเกตการณ์ จาก ACT เริ่มเข้าสังเกตการณ์ตั้งแต่เขียนข้อกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) เพื่อป้องกันการล็อคสเปก การฮั้วประมูล และการตั้งงบประมาณสูงเกินจริง เพื่อให้ทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎหมาย อย่างเปิดเผยโปร่งใส

ทำให้ไม่มีผู้สังเกตการณ์เข้าร่วมตั้งแต่ต้น กระทั่งทาง สตง. เป็นผู้ติดต่อขอให้ ACT ส่งผู้สังเกตการณ์โครงการนี้เอง เนื่องจาก สตง.มีเจตนารมณ์ในฐานะที่เป็นหน่วยงาน ที่มีภาระกิจตรวจสอบผู้อื่น เพื่อเป็นแบบอย่างการเปิดเผยโปร่งใส จึงต้องการให้มีผู้สังเกตการณ์ภายนอก เข้ามาร่วมให้ความเห็น

ทำให้ผู้สังเกตการณ์โครงการนี้ ได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ หลังจาก สตง. คัดเลือกผู้รับเหมา ผู้ควบคุมงาน และมี TOR พร้อมแบบก่อสร้างแล้ว ACT จึงไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกำหนดคุณสมบัติ และการคัดเลือกผู้เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง รวมทั้ง TOR โครงการดังกล่าว

นายมานะ นิมิตรมงคล ประธานองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)

 

นายมานะ กล่าวว่า ซึ่งจากการเข้าสังเกตการณ์โครงการนี้ พบข้อผิดสังเกตว่า ผู้รับเหมาโครงการนี้ มีการหยุดงานเป็นช่วงๆ ในช่วงแรก และเมื่อทำงานต่อก็ทำอย่างล่าช้ามาก ซึ่งคณะผู้สังเกตการณ์ได้ทักท้วงมาโดยตลอด จนเมื่อเดือนมกราคม 2568 สตง.แสดงท่าทีเตรียมยกเลิกสัญญาก่อสร้าง

นายมานะ ย้ำว่า ผู้สังเกตการณ์จาก ACT มีขอบข่ายหน้าที่ในการตรวจสอบ การบริหารสัญญาก่อสร้าง ว่าถูกต้องตรงตามแบบก่อสร้างตามสัญญาหรือไม่ หากมีการแก้แบบ หรือเพิ่มลดงานหรือวัสดุก่อสร้าง สตง. และผู้ควบคุมงาน จะต้องแจ้งให้ผู้สังเกตการณ์ทราบ

ส่วนเรื่องการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันทางวิศวกรรม ระหว่างการก่อสร้าง เช่น การแก้แบบ เพิ่มลดงาน เปลี่ยนวัสดุก่อสร้าง หรือดึงงานล่าช้า เป็นความรับผิดชอบของ สตง.และบริษัทผู้ควบคุมการก่อสร้าง ที่ได้รับว่าจ้างเป็นผู้กำกับควบคุมผู้รับเหมาให้ก่อสร้างตามสัญญา

\"ACT\" เผยพบผิดข้อสังเกต \"โครงการสร้างตึก สตง.\" ก่อนเกิดเหตุถล่ม!

นายมานะ กล่าวว่า “โครงการข้อตกลงคุณธรรม(Integrity Pact)” เป็นมาตรการสากล ที่องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ นำแนวคิดมาจากองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ โดยนำเสนอให้รัฐบาลไทย นำมาใช้ตรวจสอบความโปร่งใส ในโครงการเมกกะโปรเจค ตั้งแต่ปี 2558

ปัจจุบันมีผู้ทรงคุณวุฒิอาสาปฏิบัติหน้าที่ เป็นผู้สังเกตการณ์อิสระจำนวน 252 คน ร่วมสังเกตุการณ์ 178 โครงการ มูลค่ารวมกว่า 2 ล้านล้านบาท ประหยัดงบประมาณประเทศได้ 77,548 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7 ของงบประมาณรวม
 

“แต่มีข้อสังเกตว่าในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมา โครงการที่รัฐเลือกเข้าร่วมข้อตกลงคุณธรรม กลับมีขนาดและความสำคัญลดน้อยลงเหลือไม่ถึง 1 ใน 3 เป็นเรื่องน่าเสียดายโอกาสของประเทศไทย ที่จะใช้งบประมาณและทรัพยากรของรัฐให้คุ้มค่า และส่งเสริมการทำงานของภาครัฐ ให้เปิดเผยโปร่งใสโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน” 
 


\"ACT\" เผยพบผิดข้อสังเกต \"โครงการสร้างตึก สตง.\" ก่อนเกิดเหตุถล่ม!

    News Hub