svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เจาะข้อมูล 4 ประเภทรอยร้าว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว จุดไหนอันตราย

29 มีนาคม 2568
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

เจาะข้อมูล 4 ประเภทรอยร้าว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว พร้อมบอกวิธีสังเกตรอยแตก จุดไหนอันตราย ที่เห็นแล้วให้รีบอพยพ

29 มีนาคม 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร ได้เขียนบทความสรุปลักษณะของรอยร้าวอธิบายไว้เป็นแนวทางการศึกษา หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขึ้น ซึ่งอาจารย์ได้อธิบายแบบเข้าใจง่ายๆให้ผู้สื่อข่าวเนชั่นทีวีฟังว่า รอยร้าวทั่วไป มีอยู่ 4ประเภท 

ประเภทที่ 1 คือเกิดจากอุณหภูมิยืดหด หรือฝีมือการก่อสร้าง เช่น เห็นผนังแตกลายงา พวกนี้จะไม่แตกทะลุ หรือรอยร้าวที่เกิดจากการฉาบปูนไม่เรียบแล้วยืดหดตัว เพราะพรมน้ำน้อยไป

ประเภทที่ 2 คือ รอยร้าวที่เกิดจากวัสดุเสื่อมสภาพ เช่น คอนกรีตเสริมเหล็กมีอายุนานๆ ก็มีโอกาสทำให้เกิดการแตกร้าวได้ ลักษณะรอยร้าวที่ทำให้เกิดการแตกร้าวได้คือ เกิดจากความยุ่ยของตัวปูน หรือไม่ก็ตัวเหล็กเสริมเป็นสนิททำให้บวมตัวทำให้เกิดรอยแตกขนานเหล็กเสริม

ประเภทที่ 3 คือ รอยร้าวที่โครงสร้างรับน้ำหนักไม่ไหว แล้วเกิดการแอ่นตัว โก่งตัว คานแอ่น เช่น คานแอ่นตรงกลางจะมีรอยแตกเป็นตัวยู

ประเภทที่ 4 คือ รอยร้าวที่เกิดจากฐานรากทรุดตัว ถ้าทรุดไม่เท่ากันอรอยร้าวที่เกิดจากปลายคานตรงไหนที่เป็นตัวยูคว่ำจะบอกว่าฐานรากทรุด ถ้าตัวยูหงายจะทรุดน้อยกว่า

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ วีระศิริ นายกสภาวิศวกร

ซึ่งรอยร้าวทั้ง 4 ประเภท ก็จะแบ่งย่อยได้อีกเป็น ผนัง คาน เสา พื้น ซึ่งอาคาร คอนโดมิเนียมสูง ที่เกิดรอยร้าวหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวนั้น อาจารย์ธเนศ บอกว่า เนื่องจากเกิดการโยกตัวของอาคาร  ซึ่งลักษณะแบบนี้ทำให้เกิดรอยแตกได้  ดังนั้น ถ้าเราเข้าใจพื้นฐานของรอยร้าว ชาวบ้านจะดูได้ว่าถ้าเกิดแผ่นดินไหวจะมีรอยร้าวรอยแตกอย่างไรเช่น ถ้าผนังแตกอย่างเดียว ไม่ต้องตกใจ เพราะคานกับเสายังไม่แตก 

แต่หากเมื่อมีการโยกตัวจนกระทั่งมีการแตกที่เสา ต้องอย่าเพิ่งเข้าอาคาร เพื่อความปลอดภัยของประชาชน

ทั้งนี้ ถ้าเป็นกรณีแผ่นดินไหว แล้วมองด้วยตา เห็นรอยแตกเห็นข้อต่อขาด เห็นเหล็กเส้นแล้วเหล็กงอ แบบนี้จะมีปัญหาของโครงสร้าง เพราะหากข้อต่อหลุดมีโอกาสจะร่วงอาคาร แต่ถ้ามีรอยแตกแต่ไม่ทะลุ ก็เป็นเรื่องของการเสื่อมสภาพซึ่งรอยแตก ก็จะมีทั้งลักษณะ แตกลายงา หากสะเปะสะปะ  หรือเกิดมาก่อนจะมีคราบเขม่าสีดำ เอามือลูบไม่คม แต่หากมีรอยแตกที่มุมบนเฉียงที่ผนังก็มีโอกาศเกิดขึ้นได้ถ้าเกิดแผ่นดินไหว

เจาะข้อมูล 4 ประเภทรอยร้าว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว จุดไหนอันตราย

ส่วนรอยแตกแนวเฉียง จะต้องดูว่ารอยต่อระหว่างคานกับเสาแตกหรือไม่ ถ้าแตกเมื่อไหร่อาการเริ่มไม่ดีแล้ว ถ้าแตกจนเห็นเหล็กให้รีบอพยพ แต่ถ้ามองอีกฝั่งเป็นแนวเหมือนกัน ก็บ่งบอกได้ว่ามีโครงสร้างกดทับ หรือมีโครงสร้างบางส่วนทำให้เกิดการแตกร้าว ซึ่งแก้ไขได้ ทั้งนี้หากมีเสียงลั่นด้วย จะต้องรีบออกจากอาคาร 

ส่วนรอยแตกแนวนอนที่ผนัง หากเกิดการทะลุ จะเกิดจากคานตัวล่างแอ่น แต่ถ้าไม่รอยแตกมองไปแล้วไม่ทะลุยังเป็นรอยแตกที่ไม่ได้มาจากโครงสร้างอาคาร

ส่วนรอยแตกแนวดิ่งก็เช่นกัน ถ้าอีกฝั่งมีรอยแตกขนานกัน แม้ไม่ทะลุ หรือมองทะลุได้ คือ เกิดจากการที่คานตัวบนกดทับ ทำให้คานแอ่นตัวจากการรับน้ำหนักเยอะเกินไป แต่หากรอยแตกด้านเดียว มองไปไม่ทะลุ ก็ไม่ได้เกิดจากโครงสร้างแต่เกิดจากการยืดหดตัวของอุณหภูมิ ทั้งนี้ รอยแตกจะ บ่งบอกได้ว่าต้นเหตุเกิดจากอะไรและจะต้องไปแก้ที่ต้นเหตุ

เจาะข้อมูล 4 ประเภทรอยร้าว หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว จุดไหนอันตราย

logoline