23 พฤษภาคม ของทุกปี ถูกกำหนดให้เป็น "วันเต่าโลก" (World Turtle Day) ซึ่งจัดตั้งโดยองค์กรอนุรักษ์และช่วยเหลือเต่าบกและเต่าทะเล (American Tortoise Rescue) ในสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักรู้ถึงความสำคัญและกระตุ้นจิตสำนึกในการอนุรักษ์เต่า สัตว์ที่มีปริมาณแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ เนื่องจากภัยคุกคามต่างๆ ทั้งจากภัยธรรมชาติและกิจกรรมมนุษย์
ทำความรู้จัก เต่ามีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร
อ้างอิงข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก Environman อธิบายเกี่ยวกับประเภทของเต่าไว้ว่า เต่าแบ่งได้ 3 ประเภท อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน ในเบื้องต้นมีดังนี้
ประเทศไทยพบเต่าทะเลอาศัยอยู่กี่ชนิด?
เว็บไซต์ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร) ระบุไว้ว่า บ้านเรา พบเต่าทะเล 5 ชนิด ได้แก่
ปัญหาที่เต่าทะเลต้องเจอ-ทำประชากรลด
เต่าทะเลกับเต่าบก มีอายุขัยไม่เท่ากัน เต่าทะเลจะมีอายุขัยราว 40 ปี ส่วนเต่าบกสามารถมีอายุขัยได้ถึง 300 ปี แถมมีขนาดใหญ่กว่าเต่าทะเลมากนัก
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมา เต่าทะเลเหล่านี้จะล้มตายด้วยหลากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นเรือประมงเข้าไปบุกรุกที่อยู่อาศัยของเต่าทะเลมากเกินไป ทำให้ถูกใบพัดเรือฟันกระดองจนเต่าเสียชีวิต รวมทั้ง ที่ที่เต่าทะเลใช้สำหรับวางไข่ได้ถูกทำลายและแปรสภาพเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้เต่าไม่สามารถที่จะขึ้นวางไข่ได้ตามปกติ หรือหากวางไข่แล้ว โอกาสที่จะรอดชีวิตของบรรดาลูกเต่าก็มีน้อย
ปัญหาสำคัญอีกอย่างที่เต่าทะเลต้องเจอ คือ "ขยะ" โดยเฉพาะเศษพลาสติก ซากอวนเก่าๆ ที่กลายเป็นขยะ สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุที่ทำให้เต่าทะเลเสียชีวิตในอันดับต้นๆ อีกทั้ง เต่าทะเลกินแมงกะพรุนเป็นอาหาร เมื่อเจอขยะทะเลโดยเฉพาะถุงพลาสติก เต่าจึงมักเข้าใจผิดว่าเป็นแมงกะพรุน จึงกินเข้าไป
ปัญหาที่ทำให้ประชากรเต่าลดลง ยังมีอีก เช่น
การอนุรักษ์เต่าทะเลในไทย
ประเทศไทยได้มีการรณรงค์ร่วมกันอนุรักษ์เต่าทะเล โดยประกาศให้เป็น สัตว์ป่าคุ้มครอง มีกฎหมายห้ามล่า ห้ามครอบครอง ห้ามค้า หรือห้ามน้ำเข้า-ส่งออก
รวมทั้ง ยังมีนักวิชาการออกมาแนะนำว่า ให้มีการอนุรักษ์ชายหาดไว้บางส่วน เพื่อเก็บเป็นพื้นที่ให้เต่าได้วางไข่ อีกทั้ง ไม่แนะนำให้ทำการประมงที่ทำร้ายเต่า อาทิ การใช้อวนลาก อวนลอย หรือเบ็ดราวที่บริเวณชายฝั่งหน้าแหล่งวางไข่เต่าทะเล เพราะเต่าทะเลเป็นสัตว์น้ำที่หายใจด้วยปอด เมื่อติดอวน หรือเบ็ดอยู่ใต้น้ำนานๆ ก็อาจจมน้ำตายได้ รวมถึง สนับสนุนให้เกิดการเพาะพันธุ์ลูกเต่าเพื่อปล่อยสู่ทะเล และสร้างเป็นศูนย์รักษาเต่าทะเลที่บาดเจ็บด้วย
ที่ผ่านๆ มา มีการปลูกจิตสำนึกและสร้างการมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์เต่าจากหน่วยงานภาครัฐและชุมชน ตลอดจนองค์กรอิสระ เพื่อเพิ่มประชากรเต่า เราจึงควรช่วยกันอนุรักษ์เต่า โดยทำได้ทั้ง ช่วยกันเก็บขยะที่เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเลและมนุษย์ เช่นเศษแก้ว , ลดการใช้ถุงพลาสติก , ทิ้งขยะพลาสติกให้เป็นที่ ไม่ลงทะเลหรือชายหาด , หมั่นเตือนคนรอบข้างอยู่เสมอว่าให้ตระหนักถึง เรื่องการทิ้งขยะลงในทะเลจะเป็นการไปทำร้ายเต่าทะเลและสัตว์ทะเลอื่นๆ มากขนาดไหน
แม้พฤติกรรมเหล่านี้อาจเป็นพฤติกรรมเล็กๆ แต่ก็เป็นการช่วยอนุรักษ์ เพื่อให้เต่าอยู่คู่ธรรมชาติสืบไป...
ขอบคุณข้อมูลจาก :
เพจ Environman
ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง (ชุมพร)
พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร แห่งที่ 1 ( จตุจักร )
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
ภาพจาก : shutterstock.com