27 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดเชียงใหม่ว่า หลังจากกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศเรื่อง การเข้าสู่ฤดูร้อนของประเทศไทย ของปี 2567 ที่ประเทศไทยได้เข้าสู่ฤดูร้อนแล้ว ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ทาง ดร.สุกฤษฎิ์ เกิดแสง ผู้อำนวยการศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ ได้แสดงความเป็นห่วงและแจ้งเตือนกับประชาชนเกี่ยวกับภาวะอากาศร้อน และขอแนะนำขณะที่ประชาชนต่อเจอกับอากาศที่ร้อน
โดย ดร.สุกฤษฎิ์ เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูร้อนนี้สถานการณ์เอลนีโญ ยังคงมีความรุนแรง ทำให้การที่ฝนจะตกมาลดความรุนแรงเป็นไปได้ยาก เนื่องจากจะมีฝนตกลงมาน้อย จึงจะทำให้อุณหภูมิในช่วงฤดูร้อนมีอุณหภูมิที่ค่อนข้างสูง ซึ่งทางกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ว่าอุณหภูมิสูงสุดของประเทศไทยจะอยู่ที่ 42 ถึง 44.5 องศาเซลเซียส
ปัจจุบันเข้าสู่ฤดูร้อนแล้วนอกจากเรื่องของฝุ่นที่กระทบกับสุขภาพของประชาชนแล้ว ประชาชนก็ต้องระวังสุขภาพที่มาจากความร้อนด้วย โดยเฉพาะ "โรคลมแดด" หรือ "ฮีทสโตรก" ที่อันตรายและพบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ
อีกหนึ่งกลุ่มที่ควรจะให้คำแนะนำ คือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเที่ยวยังประเทศไทย หรือ จังหวัดเชียงใหม่ เกี่ยวกับอุณหภูมิและโรคดังกล่าวด้วย เนื่องจากชาวต่างชาติชื่นชอบแดดเป็นอย่างมากก็อาจจะมีการเดินกลางแดด หรือนั่งตากแดดก็อาจจะทำให้เกิดฮีทสโตรกได้โดยไม่รู้ตัวได้
ขณะที่โรงพยาบาลนครพิงค์ ได้ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับความรู้ถึงการเจ็บป่วยจากความร้อนและโรคลมร้อน หรือกลุ่มที่ต้องระมัดระวังที่เป็นกลุ่มเสี่ยงสำคัญได้แก่เด็ก ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับความดันโลหิต โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน หญิงตั้งครรภ์ผู้ที่ต้องทำงานกลางแจ้งรวมถึงผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอหรือผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์
สำหรับการป้องกันและการลดความเสี่ยงทางสุขภาพจากความร้อน คือควรสวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนหรือเหงื่อได้ดี ลดระยะเวลาที่ต้องเผชิญกับความร้อนหรือทำกิจกรรมกลางแจ้งลง ดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ และเหงื่อ งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงหรือโรคประจำตัวควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่แจ้งเป็นเวลานาน
นอกจากโรคลมแดดแล้ว ก็ยังมีภาวะอื่นๆที่อาจจะกระทบกับสุขภาพ เช่น อาการบวมจากความร้อน ตะคริวแดด โรคเพลียแดด เป็นต้น
รู้จัก "ฮีทสโตรก" อาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยในช่วงหน้าร้อน
"โรคลมแดด" หรือ "ฮีทสโตรก" (Heatstroke) คือ โรคอันตรายที่พบได้บ่อยในช่วงหน้าร้อน โดยเกิดจากที่อยู่ท่ามกลางอากาศร้อนมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะร่างกายมีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ เมื่อเกิดอาการควรได้รับการรักษาในทันที เพราะอาจส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ หากได้รับการรักษาที่ล่าช้า อาจทำให้อันตรายถึงแก่ชีวิตได้
อาการของ "ฮีทสโตรก" เกิดจากร่างกายได้รับความร้อนมากเกินไป โดยร่างกายจะมีอุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน เพราะมีการสูญเสียน้ำจากร่างกายออกไปทางเหงื่อเป็นจำนวนมาก ผู้ป่วยจะมีอาการ ซึม ชัก หรือเซลล์ของอวัยวะทำงานผิดปกติ
อาการของโรคลมแดด
การป้องกันโรคลมแดด
วิธีปฐมพยาบาล ผู้ที่มีอาการ "ฮีทสโตรก"
หากพบผู้มีอาการโรคลมแดด ขอให้รีบนำเข้าที่ร่มอากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้นอนราบยกเท้าทั้งสองข้างขึ้นสูง เพื่อเพิ่มการไหลเวียน ถอดเสื้อผ้าให้เหลือน้อยชิ้น คลายชุดชั้นใน ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น น้ำแข็งประคบตามซอกคอ หน้าผาก รักแร้ ขาหนีบร่วมกับใช้พัดลมเป่า เพื่อระบายความร้อนและลดอุณหภมิร่างกายให้ต่ำลงอย่างรวดเร็วที่สุด หากไม่หมดสติให้ดื่มน้ำเปล่ามากๆ และนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด
เปิดโรคที่มากับฤดูร้อน
นอกจากนี้ ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ซึ่งออกโรงเตือนในหน้าร้อนทุกปี สำหรับโรคที่มากับหน้าร้อน โดยออกประกาศการป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่เกิดในช่วงฤดูร้อนของประเทศไทย เพื่อให้ประชาชนดูแลสุขภาพอนามัยของตนเองได้อย่างถูกต้อง
สำหรับ โรคหน้าร้อน และ ภัยสุขภาพ ที่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในฤดูร้อน กรมควบคุมโรค แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
สำหรับในกลุ่มที่ 1 โรคติดต่อทางเดินอาหารและน้ำดื่ม แบ่งออกได้เป็น 5 โรค ประกอบด้วย
1. โรคอุจจาระร่วง เกิดจากการรับประทานอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรค พบได้ในทุกกลุ่มวัย ผู้ป่วยจะถ่ายเหลว อาเจียน ส่วนใหญ่มักหายได้เอง
2. ไข้ไทฟอยด์ หรือไข้รากสาดน้อย เกิดจากการได้รับเชื้อแบคทีเรียที่ปนเปื้อนมากับอุจจาระหรือปัสสาวะของผู้ป่วย ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงลอยมากกว่า 1 สัปดาห์ ปวดศีรษะ ปวดท้อง ท้องอืดหรือท้องผูก หรือมีผื่นขึ้นตามลำตัว
3. โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนสารพิษหรือสารเคมี มักพบในพืชและสัตว์ เช่น เห็ด และอาหารทะเลต่างๆ อาการป่วยจะขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสารพิษที่ได้รับ ผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อยจะหายได้เองภายใน 24-48 ชั่วโมง ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจอาเจียนและท้องเสียจนร่างกายขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรงได้
4. อหิวาตกโรค ติดต่อโดยการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ ส่วนใหญ่มีอาการถ่ายเหลวเป็นน้ำ คลื่นไส้อาเจียน
5. โรคไวรัสตับอักเสบเอ เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบชนิด เอ ติดต่อโดยการรับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อ การใช้เข็มฉีดยาและการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันของตับ
อาการของโรคไวรัสตับอีกเสบเอ มีตั้งแต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการอักเสบเล็กน้อยถึงขั้นตับอักเสบรุนแรง โดยทั่วไปจะมีไข้อ่อนๆ เหนื่อยล้า ปวดหัว ท้องผูก ปวดบริเวณท้องขวาบน ปวดตามกล้ามเนื้อและข้อ ปัสสาวะสีเข้ม ตาและตัวเหลือง และสามารถหายขาดได้
ส่วนแนวทางการป้องกันโรคทางเดินอาหารและน้ำ ได้แก่ การยึดหลัก "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ" นอกจากนี้ ต้องดื่มน้ำที่สะอาด น้ำต้มสุก หรือน้ำที่บรรจุในขวดที่มีฝาปิดสนิท
ส่วนกลุ่มที่ 2 กรมควบคุมโรค ระบุถึง "ภัยสุขภาพ" แบ่งได้ 3 เรื่อง ได้แก่
1. การเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากภาวะอากาศร้อน สภาพอากาศที่ร้อนจัดจนร่างกายปรับตัวไม่ทัน การป้องกันคือ งดออกกำลังกายหรือทำงานกลางแดดเป็นเวลานาน ไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว สวมเสื้อผ้าที่ระบายเหงื่อได้ดี
2. ผลกระทบต่อสุขภาพจากปัญหาหมอกควัน ประชาชนมีความเสี่ยงที่จะป่วยโรคทางเดินหายใจ การป้องกันคือ ปิดประตูหน้าต่างบ้านให้มิดชิด ทำความสะอาดบ้านสม่ำเสมอ สวมหน้ากากอนามัยที่ป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็กได้ เช่น N95 และไม่เผาขยะ ไม่เผาป่า ลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่สูบบุหรี่ในที่สาธารณะ
3. การบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการจมน้ำ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการชวนกันไปเล่นน้ำตามลำพังที่แหล่งน้ำตามธรรมชาติ การป้องกันคือ ผู้ปกครองควรดูแลบุตรหลานอย่างใกล้ชิด และควรจัดการแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดความปลอดภัย เช่น สร้างรั้ว ติดป้ายคำเตือน จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยคนตกน้ำไว้บริเวณแหล่งน้ำเสี่ยงสำหรับการช่วยเหลือ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพบเห็นคนตกน้ำ ให้รีบโทรแจ้ง 1669 และหาอุปกรณ์ที่ลอยน้ำได้หรือเสื้อชูชีพ โยนให้คนที่ตกน้ำจับพยุงตัว เป็นต้น
นอกจาก 5 โรคหน้าร้อน และ 3 ภัยสุขภาพ แล้ว ยังพบว่าอาการป่วยและโรคหน้าร้อนที่น่ากังวล ดังนี้
โรคพิษสุนัขบ้า หรือโรคกลัวน้ำ
โรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก
โรคบิด
โรคระบบทางเดินหายใจ
โรคผิวหนัง
โรคเครียด
สำหรับการป้องกันและดูแลสุขภาพ จาก "โรคหน้าร้อน" สามารถปฏิบัตรตัวป้องกันได้ไม่ยาก ดังนี้
อ้างอิงข้อมูลจาก :