svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง"น้ำท่วมใหญ่"ปลายปี 65

นักวิชาการ เตือน ปลายปี 2565 เสี่ยงสูง "น้ำท่วมใหญ่"ปลายปี "ลานีญา" ทรงพลังปริมาณฝนคาดการณ์สิงหาคม-พฤศจิกายน มีสูงกว่าค่าปกติ และมากกว่าปี 2564 พายุคาด 23 ลูก ช่วงครึ่งปีแรก 8 ลูก ยังเหลืออีก 15 ลูก

 

อีกความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ม.รังสิต โพสต์เรื่องราวที่น่าสนใจผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ระบุถึง ปัจจัยที่ทำให้เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ ครบทั้ง 3 ปัจจัย

 

1) ปริมาณฝนสะสมช่วงก่อนฤดูฝนมากกว่าค่าปกติ

2) ปรากฏการณ์ลานิญญายังทรงพลังช่วงปลายปีทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลฝั่งตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกสูงกว่าฝั่งตะวันออก ความชื้นสูง

3) ปรากฏการณ์ไอโอดีเป็นลบทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลฝั่งตะวันออกของมหาสมุทรอินเดียสูงกว่าฝั่งตะวันตก ความชื้นสูง

 

ปริมาณฝนคาดการณ์ช่วงปลายปี 2565 (สิงหาคม-พฤศจิกายน) มีสูงกว่าค่าปกติ และมากกว่าปี 2564 ที่ผ่านมา หากปริมาณฝนในภาคกลางมีมากกว่า 18 % ของค่าปกติ มีความเสี่ยงสูงจะเกิดน้ำท่วมใหญ่  2554   แต่พฤติกรรมน้ำหลากจะไม่เหมือนกัน (ถ้าฝนตกเหนือเขื่อน ปริมาตรรองรับน้ำเขื่อนขนาดใหญ่ในภาคเหนือยังมีประมาณ 50% แต่หากตกใต้เขื่อน จะสร้างปัญหาให้กับภาคกลางแบบน้ำท่วมทุ่ง ค่อยๆหลากเข้าเมือง) สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ตอนกลาง ตอนล่าง) ภาคตะวันออก ภาคใต้ตอนบน มีความเสี่ยงสูงที่จะเผชิญเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ได้เช่นกัน

เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง\"น้ำท่วมใหญ่\"ปลายปี 65

เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง\"น้ำท่วมใหญ่\"ปลายปี 65

 

เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง\"น้ำท่วมใหญ่\"ปลายปี 65 เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง\"น้ำท่วมใหญ่\"ปลายปี 65

เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง\"น้ำท่วมใหญ่\"ปลายปี 65

ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ทำให้สถานการณ์รุนแรง หรือเบาลงประกอบไปด้วย

1) จำนวน ทิศทาง และความรุนแรงของพายุจรตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป (โดยในปีนี้มีการคาดการณ์จะเกิดพายุ 23 ลูก ช่วงครึ่งปีแรกเกิดแล้ว 8 ลูก ยังเหลืออีกประมาณ 15 ลูก) 

 

2) ความสามารถรับน้ำของลุ่มน้ำลดลง บีบให้ระดับน้ำสูงขึ้น (เช่นปีที่แล้วในภาคกลางปริมาณน้ำมีน้อยกว่าปี 2554 ประมาณ 20% แต่ระดับน้ำสูงเท่า หรือมากกว่า) 

 

3) การเตรียมความพร้อม และความเข้าใจภาคครัวเรือนในพื้นที่เสี่ยง (เพื่อให้องค์ความรู้ และความตระหนัก จัดการความเสี่ยงได้ด้วยตัวเอง)

 

4) ความขัดแย้งภาคประชาชนในพื้นที่เสี่ยง (มีการประกอบอาชีพ ทำนา ทำไร่ หรืออาชีพอื่นๆ  การจะเอาน้ำจากที่หนึ่งไปเก็บในอีกที่หนึ่ง เช่นแก้มลิงหรือประตูน้ำต่างๆ ย่อมส่งผลกระทบกับการทำมาหากินของเขาเหล่านั้น)  และ

 

5) การบริหารจัดการเอาอยู่หรือไม่ (การประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ชี้แจงมาตรการต่างๆต่อภาคประชาชนในการลดผลกระทบต่อพื้นที่เสี่ยง)

เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง\"น้ำท่วมใหญ่\"ปลายปี 65

ขอขอบคุณที่มา : รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

 

เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง\"น้ำท่วมใหญ่\"ปลายปี 65