svasdssvasds
เนชั่นทีวี

โซเชียล

อ.อ๊อด เปิดข้อมูลตรวจลายเซ็น ตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ ทำแบบใดบ้าง

14 เมษายน 2568
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

"อ.อ๊อด" ตั้งข้อสงสัยปลอมลายเซ็นวิศวกร คุมก่อสร้าง "ตึกสตง." พร้อมเปิดข้อมูลตรวจลายเซ็น ตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ ทำได้ไม่ยาก สามารถทำได้แบบใดบ้าง

14 เมษายน 2568 จากกรณีเพจเฟซบุ๊กเกี่ยวกับการก่อสร้างระบุ "วิศวกร" ถูกอ้างชื่อและปลอมลายเซ็นควบคุมงานสร้าง "ตึกสตง." 

ต่อมา นายสมเกียรติ ชูแสงสุข รองประธานคลินิกช่าง ภายใต้สภาวิศวกรและวุฒิสมาชิก สาขาวิศกรรมสิ่งแวดล้อม เดินทางเข้าพบพนักงานสอบสวน สน.วังทองหลาง เพื่อลงบันทึกประจำวัน ปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ สน.วังทองหลาง ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้

อ.อ๊อด เปิดข้อมูลตรวจลายเซ็น ตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ ทำแบบใดบ้าง

“อ.อ๊อด” ชี้ปลอมลายเซ็น ตรวจสอบได้

“อาจารย์อ๊อด” รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้เคลื่อนไหวผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Weerachai Phutdhawong” ระบุว่า..

"ถูกปลอมลายเซ็น? น่าสงสัยอย่างมาก อย่าลืมนะครับนิติวิทยาศาสตร์เราสามารถตรวจสอบลายเซ็นของท่านได้ ว่าปลอมหรือจริง"

อ.อ๊อด เปิดข้อมูลตรวจลายเซ็น ตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ ทำแบบใดบ้าง

ต่อมา “อาจารย์อ๊อด” รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ ได้โพสต์เพิ่มเติมถึงการตรวจสอบลายเซ็น ตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ มีรายละเอียดระบุว่า..

นิติวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการตรวจสอบลายเซ็น (Forensic Handwriting/Signature Examination) เป็นสาขาหนึ่งของ นิติวิทยาศาสตร์ด้านเอกสาร (Forensic Document Examination - FDE) ซึ่งมุ่งเน้นการตรวจสอบเอกสารที่มีลายมือหรือลายเซ็นที่ต้องสงสัยว่าปลอมหรือถูกแก้ไข โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการยุติธรรม เช่น คดีแพ่งหรือคดีอาญา
---
ประเด็นหลักในการตรวจสอบลายเซ็น
1. การเปรียบเทียบลักษณะเฉพาะบุคคล (Individual Characteristics)
ตรวจสอบจังหวะการเขียน ความเร็ว ความหนักเบา
การขึ้นต้น–การจบเส้น ความโค้ง ความลาดเอียง ฯลฯ
2. การใช้ตัวอย่างลายเซ็นจริง (Known Signatures)
ต้องมีตัวอย่างลายเซ็นของเจ้าของที่พิสูจน์ได้ว่าเขียนเอง
เปรียบเทียบกับลายเซ็นที่สงสัย
3. เครื่องมือและเทคนิคที่ใช้
กล้องจุลทรรศน์ดิจิทัล
กล้องอินฟราเรด/อัลตราไวโอเลต
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์
การตรวจสอบความดันบนกระดาษ (Indentation analysis)
---
รูปแบบการปลอมลายเซ็น
1. การลอกเลียน (Tracing): คัดลอกจากลายเซ็นจริงโดยตรง
2. การเลียนแบบโดยฝึกฝน (Simulation): ฝึกเขียนให้เหมือน
3. การปลอมแบบอิสระ (Freehand Forgery): เขียนโดยไม่อิงลายเซ็นต้นแบบ
4. การตัดต่อ (Cut and Paste): ใช้เทคโนโลยีเช่นการพิมพ์หรือสแกน

อ.อ๊อด เปิดข้อมูลตรวจลายเซ็น ตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ ทำแบบใดบ้าง

ทั้งนี้มีผู้แสดงความเห็นว่า..

"สงสัยจังค่ะ เวลาที่เราเซ็นเยอะๆ เช่นหลายๆร้อยลายเซ็นต่อเนื่องกัน อดคิดไม่ได้ว่าลายเซ็นตัวเองเพี้ยน อย่างนี้ทางวิทยาศาสตร์จะพิสูจน์ได้ไหมคะว่าเป็นคนเดียวกันเซ็น"

อ.อ๊อด ยังตอบความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า..

"น้ำหนักการเซ็นต์จะเท่าๆกันตลอดครับ ทุกโค้ง ทุกเส้นครับ"

อ.อ๊อด เปิดข้อมูลตรวจลายเซ็น ตามหลักนิติวิทยาศาสตร์ ทำแบบใดบ้าง

logoline