svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าวทั่วไทย

แชร์สนั่นคำสั่งผู้ว่าหญิงปัตตานี ปม "พาเหรดตาดีกา" กับ "ธงปาเลสไตน์"

มีปัญหาดราม่าทุกปี แชร์สนั่นคำสั่งผู้ว่าหญิงปัตตานี ปม "พาเหรดตาดีกา" กับ "ธงปาเลสไตน์" นักวิชาการด้านความมั่นคงแนะ หาจุดร่วมดีกว่าบีบบังคับ หวั่นกลายเป็นเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียว

3 กรกฎาคม 2567 เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างหนัก ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับกรณีพาเหรดตาดีกา โดยเฉพาะช่วงนี้ถือเป็นฤดูกาล "ตาดีกาสัมพันธ์" ของโรงเรียนตาดีกา หลายพื้นที่ยังคงมีการโบกธง และจำลองเหตุการณ์สงครามในปาเลสไตน์ รวมทั้งยังมีเอกสารหลุด และมีการแชร์ใหม่ แต่เป็นเอกสารเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 67 เป็นคำสั่งจาก นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี 

ที่ทำหนังสือถึงนายอำเภอในปัตตานี กำหนดแนวทางจัดกิจกรรม TADIKA ในเอกสารบางส่วนได้ระบุด้วยว่า หลังจากปรากฎภาพข่าวว่า เมื่อวันที่ 5 พ.ค. 67 มีการเดินขบวนพาเหรดในการจัด กิจกรรมตาดีกาสัมพันธ์ ในพื้นที่ ม.3 ต.ตะโละไกรทอง อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี โดยขบวนพาเหรดดังกล่าว ได้มีการแต่งกายชุดมลายู , การแต่งกายเลียนแบบทหารปาเลสไตน์ , การโบกธงปาเลสไตน์ , รถขนขีปนาวุธ และอาวุธปืนต่างๆ (อาวุธจำลอง)
แชร์สนั่นคำสั่งผู้ว่าหญิงปัตตานี ปม \"พาเหรดตาดีกา\" กับ \"ธงปาเลสไตน์\"

ซึ่งการจัดกิจกรรมดังกล่าว อาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ เอกสารฉบันนี้แม้จะมีการออกคำสั่ง วันที่ 21 พ.ค. 67 แต่เหมือนเอกสารเพิ่งหลุดออกมา ทำให้มีการแชร์อย่างมากในโซเชียล ในช่วงตลอดหลายวันที่ผ่านมา จนถูกวิจารณ์เป็นอย่างมาก 
แชร์สนั่นคำสั่งผู้ว่าหญิงปัตตานี ปม \"พาเหรดตาดีกา\" กับ \"ธงปาเลสไตน์\"

นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี กล่าวยืนยันว่า เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารจริง ได้กำหนดกรอบและแนวทางของการจัดกิจกรรมอย่างสร้างสรรค์ โดยมีสภาวัฒนธรรมเป็นศูนย์กลาง เพื่อที่จะสามารถสนับสนุนงบประมาณ ไม่มีการห้ามนั้นนี้เลย เอกสารนี้ออกมาหลังจากเหตุการณ์ ที่ตะโล๊ะไกรทอง อ.ไม้แก่น ที่พบว่า มี 2 หน่วยที่สนับสนุนงบประมาณ ไม่มีข้อความห้ามอะไร เพียงแค่อ้างถึงกิจกรรมที่ผ่านมาว่า เป็นอย่างนั้น และเป็นการสร้างกำแพงให้หน่วยงาน ท้องถิ่น อำเภอ โดยให้และสภาวัฒนธรรมอำเภอเป็นศูนย์กลาง เจตนารมณ์อยากให้มีพื้นที่คุย ร่วมทำกิจกรรมกัน เพราะเกี่ยวโยงกับงบประมาณ เน้นการมีส่วนร่วมและทุกอย่างต้องคุยกัน และจบตรงพื้นที่ 

นางพาตีเมาะ ระบุว่า ยังคุยกันเลยว่า ถ้าให้ทหารตัดสินโดนอีก ให้อำเภอโดนแน่ ก็ดึงสภาวัฒนธรรมมาเป็นจุดกลาง “ก็ทราบว่า เอกสารดังกล่าวมีการแชร์เยอะมาก แต่ก็ไม่เป็นไร เข้าใจมุมมองและความเห็น” 
แชร์สนั่นคำสั่งผู้ว่าหญิงปัตตานี ปม \"พาเหรดตาดีกา\" กับ \"ธงปาเลสไตน์\"
 

ทางด้านชาวบ้าน บ้านปลาหมอ อ.เมือง จ.ปัตตานี กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่โรงเรียนตาดีกาบ้านปลาหมอ มีการจัดกิจกรรมตาดีกา มีพาเหรด และมีการโบกธงปาเลสไตน์ ของเด็ก ๆ ประมาณ 20 คน เป็นการเอาสีแดง มาราดบนเสื้อ มีปืนเด็กเล่น เพื่อเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ ต่อเหตุการณ์ปาเลสไตน์ ขณะที่เดินพาเหรด มีเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน ตำรวจ อส. ทหาร มีครบ 

พอเดินขบวนเสร็จ ผู้ใหญ่บ้านถูกเชิญตัวไปชี้แจงต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดบรรยากาศที่ตึงเครียดต้องยกเลิกกิจกรรมกลางคืน ก็ส่งผลกระทบหลายอย่างคือ เห็นว่าที่ผ่านมาหน่วยภาครัฐก็ ไม่ได้ห้ามอะไร แต่ถ้ามีกิจกรรมลักษณะนี้ จะไม่ให้งบสนับสนุน ซึ่งตรงนี้ มองว่า คนละเรื่องกัน จากนั้นก็มีการแชร์เอกสารผู้ว่าฯ อดีตผู้บริหารงานพัฒนาและหน่วยความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กล่าวว่า มองได้เรื่องนี้ 2 มุม มุมของความเป็นมนุษยชาติ ที่เพื่อนมนุษย์ต้องช่วยชาวปาเลสไตน์ 
แชร์สนั่นคำสั่งผู้ว่าหญิงปัตตานี ปม \"พาเหรดตาดีกา\" กับ \"ธงปาเลสไตน์\"
แชร์สนั่นคำสั่งผู้ว่าหญิงปัตตานี ปม \"พาเหรดตาดีกา\" กับ \"ธงปาเลสไตน์\"

แต่ฝ่ายบ้านเมืองคงกังวลคือ การช่วยเหลือทางมนุษยธรรม กับชาวปาเลสไตน์ รวบรวม เสื้อผ้า เครื่อง แต่งกาย อาหารการกิน ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ อยู่ในวิสัยที่ทำได้ ถ้าห่วงเรื่องการโบกธง จะทำให้การสื่อสารผิดไป ก็หาทางอื่นอย่างที่เป็นจุดร่วม ให้รวบรวมความช่วยเหลือทางมนุษยธรรม จะเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง แต่เกี่ยวกับความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์
แชร์สนั่นคำสั่งผู้ว่าหญิงปัตตานี ปม \"พาเหรดตาดีกา\" กับ \"ธงปาเลสไตน์\"

นักวิชาการ แนะหาจุดร่วมปมพาเหรดตาดีกา หวั่นเป็นน้ำผึ้งหยดเดียว

รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ กล่าวว่า กระแสสนับสนุนปาเลสไตน์ ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาคนอายุน้อย มีทั่วแทบทุกที่ทุกประเทศ ต้องบริหารจัดการให้ดีและเหมาะสม ปาเลสไตน์อยู่ในกระบวนการจะเป็นรัฐอธิปไตย ไม่ใช่องค์กรก่อการร้าย และรัฐบาลไทยก็ออกเสียงสนับสนุนใน UN ให้ตั้งเป็นรัฐแล้ว เจ้าหน้าที่ไทยและฝ่ายความมั่นคง จำเป็นจะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วย แต่การสนับสนุนกลุ่มฮามาสหรือกลุ่มอื่น ๆ ที่ใช้ความรุนแรง แตกต่างกัน เป็นคนละประเด็น และอาจเข้าข่ายผิดกฎหมายได้ 
รศ.ดร.ปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคงและการต่างประเทศ

ด้าน ผศ.ดร.มาโนชญ์ อารีย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) กล่าวว่า การพูดคุยทำความเข้าใจกันอย่างรอบด้าน น่าจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุด กังวลเหมือนกัน เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน เพราะการชูธงชาติปาเลสไตน์ เป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าไม่สบายใจเรื่องชุดทหาร หรือการจัดแสดงอาวุธ ควรพูดคุยสื่อสารกัน เชื่อว่าทางเด็กที่ร่วมกิจกรรมน่าจะเข้าใจ ถ้าเรามองฝั่งราชการ ด้วยแว่นความมั่นคง เขาจะมองความมั่นคง อยู่เหนือความไว้วางใจ 
ผศ.ดร.มาโนชญ์ อารีย์ อาจารย์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.)

ส่วนตาดีกามองอีกแบบ เขามองในเรื่องของมนุษยธรรม มากกว่าเรื่องความมั่นคงในพื้นที่ หมายความว่า เขารู้สึกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในกับชาวปาเลสไตน์ เป็นปัญหาด้านมนุษย์ธรรมที่ร้ายแรงที่ทั่วโลก แสดงออกถึงการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ และเขาก็ต้องการเป็นส่วนหนึ่ง ในการแสดงออกตรงนั้น เห็นชัดแล้วว่า ฝ่ายหนึ่งมองเรื่องความมั่นคง เหนือความไว้วางใจ อีกฝ่ายให้ความสำคัญกับเรื่องมนุษย์ธรรม มาก่อนความมั่นคงในพื้นที่ 

สิ่งที่สำคัญอาจต้องพิจารณาทบทวน ไม่ควรที่จะเอาเรื่องนี้ ไปผูกโยงกับเรื่องงบประมาณ ในการสนับสนุนตาดีกา อาจนำไปสู้ความคิดต่าง ๆ นานา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบีบให้ต้องเลือก ระหว่างมนุษย์ธรรมกับงบประมาณ อาจทำให้ตอกย้ำปัญหาในพื้นที่ได้ เราต้องระวังไม่ให้กลายเป็นน้ำผึ่งหยดเดียว เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการแสดงออก มองแล้วยังอยู่ในระดับที่ปกติ เพียงแต่ว่าเราไปมองให้เป็นเรื่องความมั่นคงมากไปหรือเปล่า แต่สิ่งสำคัญถ้ามีลักษณะการปิดกั้น หรือพยายามไม่ให้แสดงออกในวิธีนี้ ในอนาคตเขาอาจพยายามแสดงออกด้วยวิธีอื่น ที่รัฐอาจไม่พึ่งประสงค์ อันนี้ก็ต้องดูให้ดี
แชร์สนั่นคำสั่งผู้ว่าหญิงปัตตานี ปม \"พาเหรดตาดีกา\" กับ \"ธงปาเลสไตน์\"