svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

เจาะลึกประเด็นร้อน! เมื่อสามดาราดังออกมาโพสต์ภาพ "แม้เหลือ คนเดียวทั้งโรง เราก็จะยืน" แต่เรื่อง จริง การยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง นั้นเป็นอย่างไร เนชั่นบันเทิงออนไลน์สรุปมาให้แล้ว

การยืนเคารพในโรงหนัง เรื่องจริงเพลงสรรเสริญ ในโรงภาพยนตร์  ที่ 'คณะราษฎร' บังคับให้ยืน หากไม่ยืนคือผิดกฎหมาย ทั้งนี้ จอมพล ป.ยังริเริ่มให้โรงภาพยนตร์จะต้องเปิดเพลงมหาฤกษ์มหาชัย และให้ผู้ชมทุกคนยืนตรง เพลง “สดุดี ป. พิบูล-สงคราม” จะถูกเปิดก่อนฉายภาพยนตร์ โดยเจ้าหน้าที่ในโรงหนังจะประกาศขอให้ผู้ชม “ลุกขึ้นคารวะท่านผู้นำ”

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

 

แต่ในปัจจุบันนี้ หากจะไม่ยืนทำความเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ก็ไม่ผิดกฎหมาย  โดยการยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนังมีมาตั้งแต่สมัย ร.5 โดยเป็นการบรรเลงหลังหนังจบ เป็นแค่ธรรมเนียมปฏิบัติเท่านั้น ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ประเทศไทยรับมาจากต่างประเทศอีกที โดยทางต่างประเทศ มักจะยืนก่อนการชมการแสดงในโรง Opera 

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

 

ต้องบอกว่าประเด็นการยืนเคารพในโรงหนังกลับกลายเป็นประเด็นร้อนระหว่างคนสองฝั่ง เป็นดราม่าใหญ่โตในสังคัม อย่างที่เผยไปในข้างต้น การยืน คือธรรมเนียมปฏิบัติที่แสดงถึงการให้เกียรติตามแบบประเทศที่มีอารยะเขาทำกัน 

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

และล่าสุดมีดรามาร้อนกับประเด็น การยืนเคารพในโรงหนัง โดยมีดาราหนุ่มสามคนออกมาแสดงจุดยืนโดยโพสต์ภาพ เงาคนยืนคนเดียวในโรงหนังพร้อมกับแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในโพสต์ดังกล่าว 

 

เริ่มกันที่ นักแสดงหนุ่ม ปั้นจั่น ปรมะ อิ่มอโนทัย ที่ลงภาพดังกล่าว โดยมีข้อความในภาพระบุว่า "แม้เหลือ คนเดียวทั้งโรง เราก็จะยืน" โปรดยืนถวายความเคารพโดยพร้อมเพรียงกัน

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

 

เต๋า สมชาย เข็มกลัด ได้โพสต์ภาพดังกล่าวพร้อมกับระบุข้อความว่า.. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

 

ด้านหนุ่ม อาร์ต  พศุตม์ บานแย้ม  ก็ได้ลงภาพนี้เช่นผ่านทางIG-art_phasut98 โดยระบุข้อความว่า... สะดวกแบบนี้ ใครไม่ยืนแต่ผมยืน ทุกครั้ง ที่ได้ยินเพลงนี้ไม่ว่าที่ไหน ไม่เคยต่อว่าใครว่าไม่ยืน แต่ คนที่ไม่ยืนก็ไม่มี สิทธิต่อว่าคนที่ยืน

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

หากจะย้อนกลับไปถึงที่มาที่ไป การยืนเคารพในโรงหนัง เรื่องจริงเพลงสรรเสริญ ในโรงภาพยนตร์ ที่ 'คณะราษฎร' บังคับให้ยืน เมื่อประมาณ3 ปีที่แล้ว ได้มีการแชร์ข้อความเกี่ยวกับความจริงในการยืนเคารพในโรงหนัง โดยทางเพจ Facebook - Vaccine โพสต์ข้อความระบุว่า... โอละพ่อ หนูถูกหลอก เรื่องเพลงสรรเสริญฯ เรื่องจริง “คณะราษฎร” บังคับให้ยืนเคารพในโรงหนัง มีโทษทั้งจำและปรับ  เรื่องจริงที่ผู้ใหญ่บางคนไม่เคยบอกเด็ก เพลงสรรเสริญพระบารมี ที่มีคนออกมาต่อต้านไม่ลุกทำความเคารพในโรงหนัง แท้จริงแล้ว ท่านผู้นำคณะราษฎรเป็นคนบังคับ ให้ยืนเคารพในโรงหนัง

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

 

โดม สุขวงศ์ ผ.อ.หอภาพยนตร์แห่งชาติ ระบุว่าธรรมเนียมการบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์ในประเทศไทย น่าจะมีมาแต่ครั้งรัชกาลที่ 5 เมื่อเริ่มมีโรงภาพยนตร์แล้ว โดยเพลงสรรเสริญพระบารมีในยุคหนังเงียบ ต้องมีแตรวงหรือวงเครื่องสายผสมบรรเลงประกอบการฉายเพื่อถวายความเคารพเมื่อภาพยนตร์ฉายจบ หรือ “หลัง” ฉายภาพยนตร์ โดยแรกๆ คงบรรเลงอย่างเดียว ต่อมาจึงฉายกระจกพระบรมรูปพระเจ้าแผ่นดินขึ้นบนจอด้วย ปฏิบัติเป็นธรรมเนียมทั่วทุกโรงภาพยนตร์ในสยาม โดยมิได้มีกฎหมายบังคับแต่อย่างใด แต่เป็น คณะราษฏรฯ ที่เปลี่ยนธรรมเนียมปฏิบัตินี้เป็นการบังคับ

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

 

โดยออกเป็นกฎหมาย พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติ พุทธศักราช 2485 ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โดยมี พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้า อาทิตย์ทิพอาภา และ นายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ลงนามใน วันที่ 4 สิงหาคม พุทธศักราช 2480 และมาประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายในปี 2485 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

 

โดยในพระราชกฤษฎีกาวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 มาตรา 6 วรรค 3 ว่าไว้ดังนี้  บุคคลทุกคนจักต้องเคารพตามระเบียบเครื่องแบบหรือตามประเพณี คือ เคารพเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมีและเพลงเคารพอื่นๆ ซึ่งบรรเลงในงานตามทางราชการ ในงานสังคม หรือในโรงมหรสพ ผู้ใดฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาซึ่งออกตามความในมาตรา6 (ตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติพ.ศ.2485) มีความผิด ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท (ในสมัยนั้น) หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือทั้งปรับทั้งจำ” ต่อมา พรบ.นี้ถูกยกเลิกและได้ถูกแทนที่โดยพระราชบัญญัติวัฒนธรรม พ.ศ. 2553 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวในพระราชบัญญัติใหม่นี้

 

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

 

ยิ่งไปกว่านั้น จอมพล ป.ยังได้ได้ริเริ่มให้โรงภาพยนตร์จะต้องเปิดเพลงมหาฤกษ์มหาชัย และให้ผู้ชมทุกคนยืนตรง เพลง “สดุดี ป. พิบูล-สงคราม” จะถูกเปิดก่อนฉายภาพยนตร์ โดยโรงหนังประกาศขอให้ผู้ชม “ลุกขึ้นคารวะท่านผู้นำ” เมื่อหนังจบจึงขึ้นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและเพลงสรรเสริญพระบารมี ประชาชนจึงตะโกนด่าในโรงหนัง “กูไม่ยืนเคารพโว้ย ท่ามจอมพลไม่ใช่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือในหลวงของเรา” เสียงตะโกนเช่นนี้มีดังทุกรอบ เจ้าหน้าที่โรงไปแจ้งความตำรวจ ตำรวจเข้ามาก็จับใครไม่ได้ เขาตะโกนตรงโน้นตรงนี้ จนไม่รู้ว่าใครบ้างที่ตะโกน…

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

 

ต่อมามีการสร้างความเสียหายจึงมีคำสั่งให้หยุดฉายเพลงจอมพล ป. พิบูลสงครามในที่สุด . Vaccine เรื่องของเรื่องท่านผู้นำนั่นล่ะเป็นคนสั่ง และมีบทลงโทษทั้งปรับและจำคุก สำหรับผู้ไม่ปฎิบัติตาม ทีนี้รู้ยังว่า บรรดาคณะราษฎร นี่แหละคือเผด็จการบ้าอำนาจตัวจริง แบบเผ็ดจัดๆ แต่งงใจที่บรรดาแกนนำประชาธิปไตยมุ้งมิ้งทั้งหลาย ยกย่องเผด็จการยุค 2475 เป็นไอดอลเพื่อเรียกหาประชาธิปไตย 

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

และในส่วนของหลักฐานยืนยันที่มีปรากฏ กับจดหมายส่งถึงตำรวจนครบาล  

เสนอ นายเวรผู้บังคับการตำหรวดนครบาล

 

เนื่องจากได้ซาบว่ามีทหานยี่ปุ่นและชาวยี่ปุ่น ซึ่งเข้าไปชมมหรสพไนโรงมหรสพไม่สแดงความเคารพ ไนขนะที่ฉายพระฉายาลักสน์สมเด็ดพระเจ้าอยู่หัว และรูปพนะท่านนายกรัถมนตรี เปนการไม่เคารพต่อเอกราชและอธิปไตยของไทย ฉะนั้น เพื่อมิให้ปรากตพรึติการน์เช่นนี้ต่อไปอีก จึงขอไห้ท่านสั่งเจ้าหน้าที่ตำหรวด ซึ่งไปประสพเหตุการณ์เช่นนี้ ไห้บันทึกวันเวลาชื่อโรงมหรสพ จำนวนผู้ไม่สแดงความเคารพ และถ้าเปนทหานก็ไห้สังเกตุด้วยว่ามียสชั้นได แล้วแจ้งไปให้กรมประสานงานฯ ซาบ เพื่อดำเนินการต่อไป

 

ฝ่ายเจ้าหน้าที่กองบังคับการตำรวจนครบาล พอรับเรื่องแล้วก็กระจายกำลังพลไปคอยสังเกตการณ์ตามพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพาะโรงภาพยนตร์แห่งหลักๆ เช่น ศาลาเฉลิมกรุง, Odeon, ศาลาเฉลิมบุรี และ แคปปิตอล ส่วนใหญ่รายงานมาว่า ไม่เคยเห็นทหารญี่ปุ่นไม่ยืนแสดงความเคารพตอนฉายพระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และภาพนายกรัฐมนตรี เรื่องนี้อาจจะปลดเปลื้องความเคร่งเครียดของจอมพล ป. ลงไปบ้าง แต่กระนั้นยังมีเสียงรายงานว่า “เคยเห็นทหารยี่ปุ่นไม่หยุดเดินเพื่อยืนตรงเคารพธงชาติเวลาเช้าไนสถานีรถไฟหัวลำโพง ขนะที่ทุกคนเขายืนตรงหมด”

 

เปิดข้อมูล การยืนเคารพ เพลงสรรเสริญพระบารมี ในโรงหนัง ที่หลายคนต้องอึ้ง

 

ทำไมจอมพล ป. ต้องเดือดเนื้อร้อนใจกับการที่ทหารญี่ปุ่นไม่ยืนแสดงความเคารพในโรงหนัง นั่นเพราะท่านจอมพลคือผู้ออกพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2485 ซึ่งกำหนดให้ชาวไทยทุกคนต้องเคารพระเบียบ วัฒนธรรมของชาติ และประเพณีอันดีงาม หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับ 100 บาท หรือจำคุก 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ หนึ่งในระเบียบเหล่านั้นคือทุกคนต้องยืนเคารพเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี และเพลงอื่นๆ ที่บรรเลงขึ้นในงานของทางราชการ ในงานสังคม หรือในโรงมหรสพต่างๆ กฎหมายที่จอมพล ป. ประกาศใช้ช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังเป็นเครื่องมือในความพยายามควบคุมอำนาจปกครองอย่างเบ็ดเสร็จ การปรากฏบุคคลไม่ยอมลุกยืนแสดงความเคารพต่อบทเพลง มิว่าจะคนไทยหรือทหารญี่ปุ่น จึงมิใช่แค่เรื่องไม่ทำตามวัฒนธรรม แต่ประหนึ่งการไม่ทำตามอำนาจของรัฐบาลด้วย

 

เมื่อได้รับรายงานว่าพวกทหารญี่ปุ่นนอกจากจะไม่ลุกขึ้นยืนตอนยินเสียงเพลงชาติ เพลงสรรเสริญพระบารมี หรือไม่ยอมลุกขึ้นยืนตอนฉายพระบรมฉายาลักษณ์พระมหากษัตริย์และภาพนายกรัฐมนตรีในโรงภาพยนตร์ อีกทั้งยังทำกิริยาเอาเท้าพาดพนักเก้าอี้ ก็ถือว่าไม่แสดงความเคารพอธิปไตยและวัฒนธรรมของชาติไทยอย่างสูง รัฐบาลไทยยอมให้เกิดขึ้นมิได้

 

ข้อมูลที่มา Vaccine ,waymagazine.org