svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

เปิดคำพิพากษา ศาลยกฟ้อง 4 กสทช. ปมซื้อลิขสิทธิ์บอลโลก-เปลี่ยนรักษาการแทนเลขาฯ

08 เมษายน 2568
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

เปิดคำพิพากษาศาลอาญาคดีทุจริตยกฟ้อง 4 กสทช.กับพวก รวม 5 คน ไม่ผิดฐานปฏิบัติหน้าที่ไม่ชอบ ปมซื้อลิขสิทธิ์ฟุตบอลโลก-เปลี่ยนรักษาการแทนเลขาฯ กสทช. ชี้ ตั้งกก.สอบวินัยโจทก์ชอบเเล้ว

8 เมษายน 2568 ที่ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ถนนเลียบทางรถไฟ ตลิ่งชัน ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีที่ นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล  รองเลขาธิการ และรักษาการแทนเลขาธิการกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ยื่นฟ้อง พล.อ.ท.ดร.ธนพันธุ์ หร่ายเจริญ ,ศาสตราจารย์ ดร.พิรงรอง รามสูต ,รองศาสตราจารย์ ดร.ศุภัช ศุภชลาศัย ,รองศาสตราจารย์ ดร.สมภพ ภูริวิกรัยพงศ์ ซึ่งทั้ง4 คนเป็นกรรมการ กสทช. เเละ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภูมิศิษฐ์ มหาเวสน์ศิริ รองเลขาธิการ กสทช.รวม 5 คนเป็นจำเลยในความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 และตาม พรป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ มาตรา 172

คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นรองเลขาธิการ กสทช. และเป็นผู้รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. ขณะเกิดเหตุ จำเลยที่ 1-4 เป็นกรรมการ กสทช. ส่วนจำเลยที่ 5 เป็นรองเลขาธิการ กสทช. โจทก์ในฐานะรักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. ได้มีคำสั่ง แต่งตั้งจำเลยที่ 5 เป็นผู้รักษาการแทนโจทก์ ระหว่างวันที่ 12-18 มิ.ย. 2566 เนื่องจากโจทก์ต้องเตินทางไปศึกษาดูงาน โดยเมื่อวันที่ 23 ม.ค.2566 ประธาน กสทช. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช.เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการเเข่งขันฟุตบอลโลกรอบคัดเลือกรอบสุดท้าย 

ต่อมา วันที่ 20 เม.ย.2566 คณะอนุกรรมการตรวจสอบฯ ได้ประชุมพิจารณามีความเห็นในการประชุมคณะอนุกรรมการ ด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 4 เสียง ว่า การดำเนินการของสำนักงาน กสทช.เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย อาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย โดยมิได้มีความเห็นเกี่ยวกับโจทก์หรือการดำเนินการของโจทก์เป็นการกระทำผิดวินัย แต่คณะอนุกรรมการ ได้จัดการประชุมครั้งที่ 7/2566  ขึ้นเพื่อเพิ่มเติมข้อความจากการประชุมครั้งที่ 6/2566 ดำเนินการตรวจจสอบข้อเท็จจริงการกระทำของ นายไตรวัฒน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาฯ กสทช. โจทก์ในคดีนี้เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อสิขสิทธิ์ฯ อาจมีการกระทำที่เข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ต่อมาใด้มีการนำรายงานการตรวจจสอบข้อเท็จจริงๆ เข้าพิจารณาในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 13/2566 วันที่ 9 มิ.ย.2566 และจำเลยที่ 1-4 ลงมติเสียงข้างมากเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ

สอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ลงมติเห็นชอบ ให้มีการเปลี่ยนตัวรองเลขาฯ กสทช. รักษาการณ์เลขาฯ กสทช.โจทก์ในคดีนี้ จนกว่าการสอบสวนจะเสร็จสิ้น และลงมติเห็นชอบให้แต่งตั้ง จำเลยที่ 5 เป็นผู้รักษาการแทนโจทก์ หลังจากนั้นจำเลยที่ 5 ได้มีคำสั่งในฐานะรักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ ซึ่งการกระทำของจำเลยทั้ง5เป็นการเร่งรัดในการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ และเพื่อจะแต่งตั้งจำเลยที่ 5เป็นผู้รักษาการแทนโจทก์ ในช่วงที่โจทก์ไปศึกษาดูงานเป็นการปฏิบัติหน้าที่มิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 ,157 

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1-4 เป็นกรรมการ กสทช. จึงเป็นเจ้าพนักงานของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตพ.ศ.2561 มาตรา 4 และเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตาม พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 25 

ส่วนจำเลยที่ 5 เป็นรองเลขาธิการ กสทช. จำเลยที่ 5 จึงเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2526 มาตรา 4 และ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา ตาม พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2553 มาตรา 64 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย ตามลำดับ เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2566 ประธาน กสทช. ได้มีคำสั่งแต่งตั้งอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีการดำเนินการของสำนักงาน กสทช. เกี่ยวกับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการซื้อลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดรายการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย โดยในการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอนุกรรมการมีการประชุมเพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงถึง 7 ครั้ง โดยใช้ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.- 28 เม.ย.2566 มีการเรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อเท็จจริง 

จนปรากฏข้อเท็จจริงว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2565 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ได้มีการประชุมระหว่างโจทก์กับ กกท. ทำให้ กกท.นำผลการประชุมและหนังสือสำนักงาน กสทช. ด่วนที่สุด ที่ กสทช. 2000 /52627 ลงวันที่ 20 พ.ย.2565  ไป ดำเนินการเพื่อให้ บริษัทในเครือบริษัททรู ฯ กล่าวอ้างถึงลิขสิทธิ์ทำให้ ผู้รับอนุญาตใบประกอบกิจการโทรทัศน์ให้บริการโครงข่ายในระบบไอพีทีวีจาก กสทช. และผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไปไม่สามารถปฏิบัติให้เป็นไปตามประกาศ Must Cary ได้ ซึ่งขัดกับมติ กสทช.ในการประชุมครั้งที่ 30/2565 การกระทำของโจทก์ในฐานะรักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. จึงเข้าข่ายไม่ปฏิบัติหน้าที่ควบคุม กำกับดูแล และใช้สิทธิการถ่ายทอดสตฟุตบอลโลกรอบสุดท้าย ให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และมติที่ประชุม กสทช. เพื่อให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์มิควรได้อันเป็นความผิดวินัยตามข้อ 50 เเละ52 แห่งระเบียบ กสทช. ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2565

ส่วนเหตุที่การประชุมครั้งที่ 7/2566 ได้เพิ่มเติมรายละเอียดของมติที่ประชุมครั้งที่ 6/2566 ว่า การกระทำของโจทก์อาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ประกาศที่เกี่ยวข้อง และมติที่ประชุม กสทช. เป็นการสรุปความเห็นครั้งสุดท้ายของอนุกรรมการตรวจสอบฯ จากพยานหลักฐานทั้งหมด อย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นชั้นเป็นตอน และได้พิจารณาแสะสรุปความเห็นเสนอต่อ กสทช. ตามลำดับเมื่อปรากฏว่าในการประชุม กสทช.ครั้งที่ 13/2566เมื่อวันที่ 13 มิ.ย.2566 ได้มีการนำรายงานการตรวจสอบข้อเท็จจริงของ คณะอนุกรรมการตรวจสอบฯ เข้าพิจารณาในระเบียบวาระที่ 5.22 และการที่จำเลยที่ 1-4 มีมติเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ จึงเป็นการพิจารณาเรื่องที่เสนอตามวาระการประชุม ชอบด้วย พรบ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการคมนาคมฯ  มาตรา 23,24 และ 27 ประกอบระเบียบ กสทช. ว่าด้วยข้อบังคับการประชุม กสทช. พ.ศ.2555ข้อ 38 และข้อ 29 วรรคหนึ่ง 

ส่วนที่จำเลยที่ 1-4 มีมติเห็นชอบให้มีการเปลี่ยนตัวรองเลขาธิการ กสทช. รักษาการแทนเลขาธิการ กสทช. โจทก์คดีนี้ และลงมติเห็นชอบให้แต่งตั้งรองเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ จำเลยที่ 5 เป็นผู้รักษาการแทนโจทก์นั้น เป็นการพิจารณาต่อเนื่องจากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของอนุกรรมการตรวจสอบ ฯเพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและต่อเนื่อง จึงเป็นการพิจารณาเรื่องที่เสนอตามวาระการประชุมที่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย แม้ปรากฏว่าในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 13/2566ได้มีการสลับวาระการประชุมที่ 5.22 ขึ้นมาพิจารณาก่อนระเบียบวาระที่ 5 ในเรื่องพิจารณาอื่น ๆ ก็เป็นอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวของประธานในการประชุมในวันดังกล่าว ซึ่งปรากฏว่าการประชุม ในวันดังกล่าวประธานในการประชุม ได้ใช้อำนาจสลับวาระการประชุมระเบียบวาระที่ 5.33ขึ้นมาพิจารณาก่อนระเบียบวาระที่ 5 ในเรื่องพิจารณาอื่น ๆ ก็เป็นการดำเนินการประชุมโดยชอบตามระเบียบ กสทช.ว่าด้วยข้อบังคับการประชุม กสทช. พ.ศ. 2555 ชัย 29 วรรคสอง 

ส่วนการที่จำเลยที่ 1-4 ตรวจพิจารณาร่างรายงานการประชุม กสทช. ครั้งที่ 12/2566 แล้วมีบันทึกข้อความส่งคืนให้แก่จำเลยที่ 5 ก็เป็นไปตามสำดับขั้นตอนปกติธรรมตา ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่าจำเลยที่ 1-4 จงใจเร่งรัดเรื่องของโจทก์ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง สำหรับจำเลยที่ 5 ซึ่งมีคำสั่ง กสทช. ที่ 568/2566 ฉบับลงวันที่  29 พ.ค.2556 แต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการแทนโจทก์ ระหว่างวันที่ 12-18มิ.ย. เนื่องจากโจทก์ต้องเตินทางไปศึกษาดูงาน ดังนั้น ในช่วงเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 5 จึงมีอำนาจหน้าที่ในฐานะเลขาธิการ กสทช. ต้องปฏิบัติตามมติ กสทช. ในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 19/2566 การที่จำเลยที่ 5มีคำสั่ง กสทช. ที่ 629/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่โจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติตามมติที่ประชุม กสทช. ครั้งที่ 13/2566 พยานหลักฐานของโจทก์ยังไม่มีน้ำหนักมั่นคงให้รับฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้ากระทำผิดตามฟ้องกรณีไม่จำต้องวินิจจัยปัญหาอื่น ๆ ตามฟ้องโจทก์และไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลยทั้งทั้งห้าอีกต่อไปเพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปพิพากษายกฟ้อง

อนึ่ง คดีนี้ในการประชุมเพื่อมีคำพิพากษา มีความเห็นแย้งกันเป็นสองฝ่ายหาเสียงข้างมากมิได้ จึงให้ผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากยอมเห็นด้วยผู้พิพากษาซึ่งมีความเห็นเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 184ประกอบ พรบ.วิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2553 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง

logoline
News Hub