7 มกราคม 2568 ความคืบหน้ากรณี "ซิงซิง" นักแสดงชาวจีน หายตัวไปบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา หลังได้รับการติดต่อให้ไปแคสบทและขาดการติดต่อ ตั้งแต่วันที่ 3 ม.ค.2568 ก่อนจะพบเจอตัวที่ประเทศเพื่อนบ้าน และประสานช่วยเหลือกลับมาได้แล้ว ตามที่เคยมีการนำเสนอไปนั้น
ล่าสุด เมื่อเวลา 19.00 น. พล.ต.อ.ธัชชัย ปิตะนีละบุตร จเรตำรวจแห่งชาติ ในฐานะศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโยลีและสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นำตัว "ซิงซิง" จาก จ.ตาก เดินทางมาถึง ท่าอากาศยาน 6 สนานบินดอนเมือง โดยมีเจ้าหน้าที่จากกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เดินทางมาด้วย เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของผู้เสียหาย
โดย "ซิงซิง" อยู่ในสภาพอิดโรย แต่เบื้องต้นจากแววตาค่อนข้างสบายใจ ซึ่งเจ้าตัวเองได้ใส่หมวกปิดคลุมใบหน้าเอาไว้
"ซิงซิง" พูดเป็นภาษาจีน แปลเป็นไทยได้ว่า "ขอบคุณที่ได้รับการช่วยเหลือ พร้อมย้ำว่า ตัวเองปลอดภัยดี พร้อมขอบคุณคนไทย"
ขณะที่ พล.ต.อ.ธัชชัย เปิดเผยว่า หลังจากนี้ได้นำตัว ซิงซิง เข้าไปที่ ศูนย์คัดแยกและส่งต่อผู้เสียหายระดับชาติ ดอนเมือง เพื่อเข้าสู่กระบวนการคัดกรอง และส่งต่อให้กับสถานทูตจีน แล้วก็ญาติ เพื่อเดินทางกลับประเทศ ซึ่งทางครอบครัวดีใจมากหลังจากที่เราช่วยเหลือเขากลับมา และวันนี้ไม่ต้องมีขั้นตอนการสอบปากคำในฐานะเหยื่อเพิ่มเติมแล้ว
ทั้งนี้ จากการสอบปากคำ ซิงซิง เบื้องต้นพบว่า เป็นขบวนการหลอกระหว่างคนจีนกับคนจีน เหตุเกิดที่ประเทศจีน เพื่อหลอกไปประเทศ 3 ซึ่งผู้เสียหายได้ไปพูดคุยผ่านแอปพลิเคชั่น WeChat กับบุคคลหนึ่งเป็นชาวจีน หลอกลวงว่าจะให้มาทำงานแคสติ้ง และขณะนี้ยังไม่มีคนไทยเข้าไปเกี่ยวข้อง มีแค่ที่ซิงซิงใช้เส้นทางการเดินทางโดยใช้แท็กซี่คนไทยไปส่งยัง จ.ตาก เท่านั้น
พล.ต.อ.ธัชชัย เปิดเผยอีกว่า จากแนวทางการสืบสวนเชื่อว่า ตอนเขามาจากเมืองจีน น่าเชื่อว่า สมัครใจมา เพื่อเดินทางไปแคสงานที่ประเทศที่ 3 และมาลงที่ไทย ก่อนเดินทางต่อ ไปประเทศที่ 3 แล้วพอไปถึงผ่านด่าน 3 ด่าน คือ ด่านตม.1ด่าน และด่านตรวจ ร่วมตำรวจร่วมกับทหาร เป็นด่านความมั่นคง โดยไม่พบความผิดปกติ และผู้เสียหาย ก็แสดงตนด้วยพลาสปอร์ต กับเจ้าหน้าที่และเดินทางมาคนเดียว
จากนั้นเมื่อข้ามไปฝั่งประเทศเพื่อนบ้าน กลับแตกต่างกัน เพราะผู้เสียหาย ถูกให้ไปฝึกเป็นสแกมเมอร์ โดยการฝึกพิมพ์ข้อความ เพื่อให้หลอกคนจีน โดยฝึกอยู่ประมาณ 2-3วัน แต่ยังไม่ได้เป็นการฝึกให้สนทนาหรือพูดโทรศัพท์ โดยผู้เสียหาย อยู่ในสภาพที่หวาดกลัว แต่ไม่มีการถูกทำร้ายร่างกาย
ตอนที่เจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือ เป็นการประสานกับชนกลุ่มน้อย เพื่อให้นำตัวผู้เสียหายออกมา และตอนเจ้าหน้าที่เข้าไป จะมี 2 จุด จุดแรกมีคนจีน 10 คน ส่วนอีกจุดที่ช่วยเหลือซิงซิงออกมา มีคนจีนอยู่จำนวน 50 คน
ส่วนกรณีที่ผู้ก่อเหตุกล่าวอ้างบริษัทในประเทศไทยคือ GMM GRAMMY นั้นทางผู้เสียหายไม่รู้จัก GMM GRAMMY คืออะไรเพราะใน WeChat เป็นการตั้งชื่อขึ้นมาเองเขียนว่า GMM GRAMMY ตามด้วยชื่อของคนจีนที่ติดต่อมา โดยอ้างตัวเป็นผู้กำกับหนัง ซึ่งตัวผู้เสียหายไม่ทราบเลยว่าคืออะไร แต่มองว่าเป็นการกล่าวอ้างจากผู้ก่อเหตุผ่าน WeChat