22 มีนาคม 2567 จากกรณีคนร้ายป่วนใต้ สร้างสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัตตานี ยะลา สงขลา และนราธิวาส ปฏิบัติการเผาสถานที่ต่างๆช่วงคืนวันที่ 21 ต่อเนื่องถึงก่อนเข้าวันที่ 22 มี.ค. เบื้องต้นได้รับรายงานเกิดเหตุ 20 จุด ก่อนที่ล่าสุดเมื่อเวลา 13.45 น. จะพบว่าเกิดเหตุจริงพุ่งถึง 44 จุด
ล่าสุด นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางถึงรัฐสภา โดย พลตำรวจเอกกิตติ์รัฐ พันธุ์เพชร รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (รอง ผบ.ตร.) ในฐานะรักษาราชการแทน ผบ.ตร. ที่ได้มารอรายงานสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังรักษาการ ผบ.ตร. รายงานว่า รักษาการ ผบ.ตร. จะลงพื้นที่ทันที โดยเชื่อว่า เป็นการแสดงกำลังเป็นประจำในช่วงเดือนรอมฎอน และเมื่อสักครู่ ได้ติดต่อถึงผู้บัญชาการทหารบก หรือ ผบ.ทบ. ซึ่งได้แสดงความเป็นห่วง และได้สั่งการต่อไปยังแม่ทัพภาคที่ 4 ให้ดูแลในเรื่องดังกล่าวแล้ว และจะต้องมีการรวบรวมข้อมูลตรวจสอบต่อไป
นายกรัฐมนตรี ยังยอมรับด้วยว่า ยังไม่ทราบว่า เหตุที่เกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกับวันครบรอบ 20 ปีเหตุการณ์ตากใบด้วยหรือไม่
ชี้เหตุป่วนพุ่ง 39 จุด ก่อกวนครบรอบ 20 ปี "ตากใบ"
พันเอก เอกวริทธิ์ ชอบชูผล โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน. ภาค 4 สน.) กล่าวถึงเหตุความไม่สงบ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ว่า เบื้องต้นรายงานพบ 30 กว่าแห่ง บางพื้นที่ยังไม่รายงานชัดเจน กำลังรวบรวมข้อมูลกันอยู่ ตอนนี้พบผู้เสียชีวิต 1 ราย ที่ปั๊มน้ำมันสร้างใหม่ใน อ.มายอ จ.ปัตตานี
ส่วนสถานการณ์ขณะนี้ฝ่ายความมั่นคง เชื่อว่า เป็นเรื่องของการสร้างสถานการณ์ก่อกวนในพื้นที่ ซึ่งครบรอบเหตุการณ์ 20 ปีตากใบ ในปฏิทินอิสลาม 11 รอบ ในช่วงรอมฎอน จะไม่ตรงกับของเราที่จะครบรอบในวันที่ 25 ตุลาคม 2567 จึงจะครบรอบ 20 ปี
ทั้งนี้ การข่าวระบุว่า ผู้ก่อเหตุเตรียมการมาพอสมควร หลายครั้งก็ได้รับการแจ้งเตือน และสามารถทำลายการเตรียมก่อเหตุได้ แต่เมื่อคืนมีหลายพื้นที่ จริงๆ ก็เฝ้าระวังอยู่ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้เป็นกลุ่มก่อกวน ไม่มีหมายจับ เพราะเป็นผู้ก่อเหตุหน้าใหม่ เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพราะฉะนั้นจะไม่อยู่ในระบบของทำเนียบผู้ก่อเหตุรุนแรง ก็ยากที่จะเข้าไปดำเนินการ
ส่วนเจ้าหน้าที่มีมาตรการอย่างไรกับผู้ก่อเหตุหน้าใหม่ หลังจากนี้ก็ต้องหาเบาะแส และความเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่ามีส่วนกับเหตุการณ์มากน้อยเท่าไร และพิจารณาจากหลักฐานในพื้นที่
อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวภายในกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เผยว่า ตั้งแต่ ตี 1 ของวันนี้ (22 มีนาคม 2567) อัพเดท จนถึงเวลา 13:45 น. พบเกิดเหตุความรุนแรง 44 เหตุ แยกเป็น
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขจุดก่อเหตุยังไม่นิ่ง อยู่ระหว่างตรวจสอบเพิ่มเติม พร้อมขยายผล เก็บวัตถุหลักฐาน เพื่อนำตัวผู้ก่อนเหตุรุนแรงมาดำเนินคดีต่อไป
เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นแรงงานหญิงชาวเมียนมา พนักงานร้านสะดวกซื้อ ในสถานีบริการเชื้อเพลิง ที่ อ.มายอ จ.ปัตตานี เสียชีวิตที่โรงพยาบาล
ผู้สื่อข่าวรายงานก่อนหน้านี้ ระบุว่า เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น.ที่ผ่านมา มีรายงานว่ากลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงได้ก่อเหตุสร้างสถานการณ์ความไม่สงบขึ้นพร้อมกันหลายจุด ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
จ.ยะลา เกิดเหตุขึ้น 11 จุดในพื้นที่ 5 อำเภอ ประกอบด้วย
จ.ปัตตานี เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น 3 จุด ในพื้นที่ 3 อำเภอ ประกอบด้วย
จ.นราธิวาส เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น 3 จุด ในพื้นที่ 2 อำเภอ ประกอบด้วย
ชี้ป่วนใหญ่ตรงตามรายงานลับ กอ.รมน.
เป็นที่น่าสังเกตว่า เหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในห้วงคืนที่ 10 ต่อเนื่องวันที่ 11 ของเดือนรอมฎอน หรือเดือนแห่งการถือศีลอดของพี่น้องมุสลิม ซึ่งฝ่ายความมั่นคงมีแผนปฏิบัติการ “รอมฎอนสันติสุข” ควบคุมไม่ให้เกิดเหตุรุนแรง และมีการตกลงกรอบการทำงานร่วมกันกับกลุ่มบีอาร์เอ็นบนโต๊ะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการออกมา
ก่อนหน้านี้ฝ่ายความมั่นคงโดย พล.ท.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 เคยออกมาประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าว่า ปีนี้อาจไม่เกิด “รอมฎอนสันติสุข” เพราะมีการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงของกลุ่มก่อความไม่สงบ
ขณะที่ฝ่ายภาคประชาสังคมก็ประเมินว่า การที่ฝ่ายความมั่นคงปฏิบัติการปิดล้อม ตรวจค้น และยิงปะทะ ก่อนวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหาคดีความมั่นคง 2 รายในพื้นที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 14 มี.ค.67 สุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดการตอบโต้จากบีอาร์เอ็น
ก่อนหน้านี้ เมื่อวันอังคารที่ 19 มี.ค.67 ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ศปป.5 กอ.รมน.) นำโดย พล.ท.ธัชพล เปี่ยมวุฒิ ผู้อำนวย ศปป.5 ได้นำคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลางลงพื้นที่ไปเป็นสักขีพยานในพิธีมอบทุนการศึกษาและอุปกรณ์การกีฬาแก่เยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมรับทราบปัญหา และขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของหน่วยงานความมั่นคง
หลังกิจกรรมได้มีการปิดห้องเพื่อบรรยายสรุปสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยเน้นในห้วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเริ่มต้นวันแรกของเดือน เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา
รายงานของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ระบุว่า มีเหตุยิงปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่กับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ทำให้ฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิต 2 ราย
จากนั้นมีการแห่ศพ มีไลฟ์สดทางสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้มีมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก มีการสร้างกระแสกันอย่างกว้างขวาง มีการเปิดรับบริจาคเงินจาก “ชมรมพ่อบ้านใจกล้า” เพื่อช่วยครอบครัวผู้เสียชีวิต สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงและแนวร่วมที่ยังดำรงความมุ่งหมายในการต่อต้านรัฐ เรียกร้องเอกราชกันอย่างเปิดเผย และมีฝ่ายการเมือง กับภาคประชาสังคม ออกมาเคลื่อนไหวสอดรับและขยายผลอย่างชัดเจน
รายงานของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ระบุด้วยว่า หากมองในมิติความมั่นคง และการดูแลความปลอดภัยพื้นที่ จะเห็นได้ว่ายังมีสมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเข้ามาหลบซ่อนตัวเพื่อเตรียมก่อเหตุร้ายในห้วงเดือนรอมฎอนจริง และจากการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง พบความเคลื่อนไหวถึง 184 ภาพข่าว หรือพูดง่ายๆ คือ 184 จุด สะท้อนถึงความพยายามก่อความไม่สงบ แม้จะยังไม่เกิดเหตุรุนแรงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม
ไทม์ไลน์ป่วน 3 จังหวัดชายแดนใต้
ศูนย์ปฏิบัติการตำรวจแห่งชาติส่วนหน้า ได้สรุปรายงานเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่ 00.10 น. ของวันที่ 22 มี.ค.66 โดยไล่เรียงตามลำดับเวลาในการรับแจ้งเหตุรวม 15 เหตุการณ์ ดังนี้