svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ช็อกโลก ศรีลังกาขึ้นค่าไฟกว่า 800% ประกาศหยุดขายน้ำมัน 2 สัปดาห์

ทางการศรีลังกาประกาศขึ้นค่าไฟกว่า 800% พร้อมประกาศหยุดขายน้ำมันนาน 2 สัปดาห์ เพื่อรับมือวิกฤติพลังงานในประเทศ หลังส่งรัฐมนตรีพลังงานไปรัสเซียและกาตาร์ เพื่อขอซื้อน้ำมันราคาถูก ขณะที่น้ำมันสำรองในประเทศใกล้หมด

บริษัทฯ ซึ่งผูกขาดการขายไฟฟ้าที่ดำเนินการโดยรัฐของศรีลังกาซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนัก ประกาศขึ้นราคาค่าไฟมากถึง 835% สำหรับลูกค้าที่มีรายได้น้อย ซึ่งยิ่งซ้ำเติมการดิ้นรนเอาชีวิตรอดของชาวศรีลังกาที่ประสบปัญหาเศรษฐกิจล่มสลายอยู่ก่อนหน้านี้

คณะกรรมการการไฟฟ้าของศรีลังกา (ซีอีบี) สูญเสียเงินไป 6.5 หมื่นล้านรูปีในไตรมาสแรก ทำให้ขอขึ้นราคาสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยถึง 835% เนื่องจากปัจจุบัน ผู้ที่ใช้ไฟฟ้าน้อยกว่า 30 กิโลวัตต์ต่อเดือน จะจ่ายค่าไฟ 54.27 รูปี หรือราว 0.15 ดอลลาร์ ซึ่งซีอีบีพยายามจะขึ้นค่าไฟเพิ่มเป็น 507.65 รูปี หรือราว 1.44 ดอลลาร์

นายจานาคา รัตนยาเก ประธานคณะกรรมการสาธารณูปโภคของศรีลังกา ยอมรับว่า

ผู้บริโภคในประเทศส่วนใหญ่ไม่สามารถรับผิดชอบภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมากเช่นนี้ได้ จึงเสนอขอเงินอุดหนุนโดยตรงจากกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยให้ค่าไฟที่เพิ่มขึ้นเหลือน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจากตัวเลขที่ซีอีบีร้องขอ

ช็อกโลก ศรีลังกาขึ้นค่าไฟกว่า 800% ประกาศหยุดขายน้ำมัน 2 สัปดาห์

ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลศรีลังกาเสนอให้มีการตัดไฟ 13 ชั่วโมงต่อวัน ก่อนที่เวลาตัดไฟจะลดลงเหลือ 4 ชั่วโมงต่อวัน หลังจากฝนที่ตกลงมาช่วยเติมเต็มแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำ

ช็อกโลก ศรีลังกาขึ้นค่าไฟกว่า 800% ประกาศหยุดขายน้ำมัน 2 สัปดาห์

นอกจาก “ค่าไฟ” ที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างมากมายมหาศาลแล้ว  รัฐบาลศรีลังกายังประกาศยุติการขายเชื้อเพลิงทุกชนิดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เว้นแต่ในการให้บริการที่จำเป็นเท่านั้น โดยให้มีผลทันทีในวันจันทร์ (27 มิ.ย.)ที่ผ่านมา

โฆษกรัฐบาลศรีลังกา ระบุว่า ปริมาณสำรองน้ำมันและเชื้อเพลิงลดลงสู่ระดับต่ำสุด ซึ่งไม่เพียงพอสำหรับการใช้งานอีกแม้แต่หนึ่งวัน การห้ามการขายน้ำมันทั้งเบนซินและดีเซลก็เพื่อเก็บไว้ใช้สำหรับกรณีฉุกเฉิน พร้อมทั้งขอโทษประชาชนที่เกิดปัญหาขาดแคลนพลังงาน

คำถามที่น่าสนใจ.."ศรีลังกา"มาอยู่ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ได้อย่างไร?

ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี รานิล วิกรมสิงเห  Ranil Wickremesinghe แห่งศรีลังกากล่าวกับรัฐสภาเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่าเศรษฐกิจศรีลังกา ณ เวลานี้ พังทลายแล้ว จากภาวะหนี้สินจำนวนมาก ทำให้ไม่มีเงินตราต่างประเทศจ่ายค่าอาหารและเชื้อเพลิง รวมทั้งสินค้านำเข้าของจำเป็นอื่นๆ ซ้ำเติมการที่รัฐบาลศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ต่างประเทศอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว 

รานิล วิกรมสิงเห นายกรัฐมนตรีศรีลังกา ซึ่งเพิ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 25 พฤษภาคม 2022 ได้ขอความช่วยเหลือจากอินเดียและจีนที่อยู่ใกล้เคียงและจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ย้ำว่าภารกิจสำคัญที่ศรีลังเผชิญ คือการพลิกฟื้นเศรษฐกิจศรีลังกาที่กำลังมุ่งหน้าไปสู่ จุดต่ำสุด

แม้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก จะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 กันทั้งหมดทั่วโลก แต่ปัญหาเศรษฐกิจศรีลังกากลับซับซ้อนกว่านั้น เมื่อความขัดแย้งทางการเมืองภายในและการคอร์รัปชั่นในแวดวงการเมืองและระบบราชการหยั่งรากลึก จนกัดกร่อนศรีลังกามาอย่างต่อเนื่องหลาย 10 ปี 
ช็อกโลก ศรีลังกาขึ้นค่าไฟกว่า 800% ประกาศหยุดขายน้ำมัน 2 สัปดาห์

ช็อกโลก ศรีลังกาขึ้นค่าไฟกว่า 800% ประกาศหยุดขายน้ำมัน 2 สัปดาห์

โดยเฉพาะในปี 2019 เหตุระเบิดฆ่าตัวตายในโบสถ์และโรงแรมในช่วงเทศกาลอีสเตอร์ ได้สังหารชีวิตผู้คนไปมากกว่า 260 คน ทำให้การท่องเที่ยวที่ซึ่งเป็นเงินตราต่างประเทศที่สำคัญถูกทำลายอย่างย่อยยับ เมื่อถูกซ้ำเติมด้วยการระบาดของโควิด-19 จึงทำให้สถานการณ์เกินเยียวยา

ขณะที่บรรดา นักเศรษฐศาสตร์โลกวิเคราะห์ว่า วิกฤตเศรษฐกิจศรีลังกาเกิดจากปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก เช่น การจัดการที่ผิดพลาดและการทุจริตเป็นเวลาหลายปี ประชาชนชาวศรีลังกาส่วนใหญ่มุ่งเป้าความเดือดดาลไปที่ประธานาธิบดีโคตาบายา ราชปักษา และพี่ชายของเขา อดีตนายกรัฐมนตรีมหินดา ราชปักษา ที่ลาออกหลังจากการประท้วงต่อต้านรัฐบาลนานหลายสัปดาห์ จนกลายเป็นความรุนแรงไปทั่วประเทศ

ช็อกโลก ศรีลังกาขึ้นค่าไฟกว่า 800% ประกาศหยุดขายน้ำมัน 2 สัปดาห์ ปกติแล้ว ศรีลังกาไม่ได้ขาดแคลนอาหาร เนื่องจากเป็นประเทศที่มีทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมค่อนข้างสมบูรณ์ แต่ราคาพลังงานและต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทำให้เกษตรกรไม่มีแรงจูงใจในการผลิต หรือต้องประสบภาวะขาดทุน จนทำให้อาหารไม่เพียงพอ 

แต่รัฐบาลกลับไม่สามารถนำเข้าอาหารจากต่างประเทศมาได้เพราะขาดเงินตราต่างประเทศ ทำให้ชาวศรีลังกาต้องเจอภาวะหิวโหย โครงการอาหารโลกของสหประชาชาติ FAO ระบุว่า เกือบ 9 ใน 10 ครอบครัวงดอาหารเป็นบางมื้อ ในขณะที่ 3 ล้านคนต้องได้รับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมฉุกเฉิน

อย่างไรก็ตามความช่วยเหลือใดๆ จาก IMF หรือธนาคารโลก รวมทั้งประเทศต่างๆ ที่รัฐบาลศรีลังกากำลังร้องขอ จะมาพร้อมกับเงื่อนไขที่เข้มงวด เพื่อให้แน่ใจว่าความช่วยเหลือไม่ได้รับการจัดการอย่างผิดพลาดจากระบบการเมืองและราชการที่ถือได้ว่า ไร้ประสิทธิภาพมากที่สุดแห่งหนึ่ง  ซึ่งจนกว่าจะถึงวันนั้น ประชาชนชาวศรีลังกา ก็ยังต้องเผชิญกับภาวะการขาดแคลนสิ่งจำเป็นต่อ

ย้อนไปเมื่อ 31 มี.ค. 2565 สำนักข่าวรอยเตอร์ได้รายงานความคืบหน้าวิกฤตเศรษฐกิจครั้งรุนแรงที่สุดของประเทศศรีลังกา ล่าสุด รัฐบาลประกาศดับไฟตามถนนแล้วเพื่อประหยัดพลังงาน หลังศรีลังกาไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้เพียงพอจนต้องประกาศดับไฟวันละ 13 ชั่วโมงทั่วประเทศ
มาตรการล่าสุดของทางการศรีลังกาตอกย้ำความยากลำบากของประชาชนกว่า 22 ล้านคน ที่กำลังเผชิญกับภาวะค่าครองชีพพุ่งสูง ภาวะขาดแคลนสิ่งอุปโภคและบริโภค ขณะที่รัฐบาลนั้นมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมาผลิตกระแสไฟฟ้า

 

ช็อกโลก ศรีลังกาขึ้นค่าไฟกว่า 800% ประกาศหยุดขายน้ำมัน 2 สัปดาห์ นอกจากนี้ พลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนของศรีลังกา ก็ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ ทั้งปริมาณน้ำยังอยู่ในภาวะวิกฤตเนื่องจากฝนไม่ตก ตอกย้ำด้วยภาวะเงินเฟ้อที่พุ่งสูงถึงร้อยละ 18.7 ของเดือนมี.ค. เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว นับเป็นอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดของชาติ
นางปวิธรา วันเนียราชชี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า น้ำมันดีเซลมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งรัฐบาลซื้อด้วยเครดิตจากทางการอินเดียกำลังถูกส่งมาใช้ผลิตไฟฟ้า โดยมีกำหนดจะมาถึงในวันพรุ่งนี้ (1 เม.ย. 65)

นางติมัณธา แมทธิว ผู้อำนวยการบริษัทที่ปรึกษาการตลาด เฟิร์สต์ แคปิตอล รีเสิร์ช กล่าวเตือนว่า น้ำมันที่สั่งซื้อเข้ามานั้นจะไม่ช่วยแก้ไขปัญหาใดๆ อาจจะได้เพียงให้รัฐสามารถผ่อนผันระยะเวลาตัดไฟต่อวันให้สั้นลงได้เท่านั้น

นางแมทธิว ระบุว่า สิ่งที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้คือน้ำฝน โดยศรีลังกาจะต้องรอจนกว่าเข้าฤดูมรสุมในเดือนพ.ค.นี้ ประชาชาชาวศรีลังกาจะต้องเผชิญกับอากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนนี้ไปอย่างที่รัฐบาลไม่สามารถทำอะไรได้
ทั้งนี้ วิกฤตดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการประกาศลดภาษีของรัฐบาลผนวกกับผลกระทบจากภาวะบอบช้ำทางเศรษฐกิจจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19 วินัยการเงินการคลังของรัฐที่ขาดประสิทธิภาพ ทำให้เงินสำรองระหว่างประเทศลดลงถึงร้อยละ 70 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา

ช็อกโลก ศรีลังกาขึ้นค่าไฟกว่า 800% ประกาศหยุดขายน้ำมัน 2 สัปดาห์

โดยเหลือเพียง 2.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 7.6 หมื่นล้านบาท ทำให้รัฐบาลศรีลังการ้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ รวมทั้งอินเดีย และจีน