svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี "บทร้องเพลงชาติไทย"

นอกจากวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันรัฐธรรมนูญ วันที่ 10 ธันวาคม ยังมีเหตุการณ์สำคัญอื่นอีกด้วย วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปีเป็นการ ฉลองครบรอบ 81 ปี ย้อนรำลึกถึง "บทร้องเพลงชาติไทย" เมื่อครั้งแรกในสยามประเทศ เมื่อ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ประกาศใช้เพลงชาติไทยเพลงใหม่ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน

บทความโดย พิพิธภัณฑ์ธงชาติไทย
"ธงชาติและเพลงชาติไทย เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นไทย เราจงร่วมใจยืนตรง เคารพธงชาติ ด้วยความภาคภูมิใจในเอกราช และความเสียสละของบรรพบุรุษไทย" เสียงผ่านสื่อที่คนไทยได้ยินกันสองครั้งในแต่ละวัน คือเวลาแปดนาฬิกาและสิบแปดนาฬิกา ก่อนที่เสียงเพลงชาติไทยจะบรรเลง ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย


10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"


สิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลานั้น ไม่เพียงแต่เรื่องของการเมืองการปกครองแต่ยังมีผลกระทบไปถึงบทเพลงประจำชาติซึ่งแต่เดิมนั้นสยามยังคงใช้บทเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงประจำชาติ (Royal National Anthem) หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเป็นเพลงถวายพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ในฐานะที่องค์พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดและเป็นใหญ่บนแผ่นดินจึงถือเป็นเพลงสำหรับแผ่นดินไปโดยปริยายนั่นเองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแนวคิดเรื่องการก่อกำเนิดเพลงชาติสำหรับประชาชนอย่างจริงจังก็เกิดขึ้นซึ่งแต่เดิมนั้นยังเรียกกันว่าเพลงชาติสยามโดยมีหลักฐานยืนยันการอ้างถึงเพลงชาติในช่วงแรกสุดของประวัติศาสตร์อยู่ในรายงานการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 1 พ.ศ. 2476 หน้า 503 ถึงหน้า 505

ซึ่งหลังจากมีการเผยแพร่เนื้อร้องดังกล่าวได้ไม่นานนัก ก็มีคำสั่งจากกระทรวงธรรมการห้ามนักเรียนและประชาชนทั่วไปร้องบทร้องเพลงชาติดังกล่าว ด้วยเหตุที่มีคำว่า ยึดอำนาจ อยู่ในบทร้องนั่นเอง ซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในจดหมายของกระทรวงธรรมการเลขที่ 97/6373 ลงวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2476 โดยอธิบดีกรมศึกษาธิการได้แจ้งความไปยังธรรมการมณฑลนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ยังมีหลักฐานสำคัญเกี่ยวกับการห้ามร้องเพลงชาติ ด้วยบทร้องนี้พิมพ์อยู่ในผลการประชุมสภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2476 หน้า 503 มีการระบุชัดเจนว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงธรรมการได้สั่งห้ามนักเรียนร้องเพลงชาติ เพราะมีคำว่ายึดอำนาจเห็นว่าเป็นคำแสลง ลงนามผู้บันทึก พระยาศรยุทธเสนี วันที่ 2/5/77

10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"


10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"







10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"




10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"





10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"



และด้วยเหตุที่มีคำว่า "ยึดอำนาจ" อยู่ในบทร้องเพลงชาติที่ ขุนวิจิตรมาตรา ประพันธ์ขึ้นทำให้กระทรวงธรรมการจำเป็นต้องออกคำสั่งห้ามร้องบทร้องเพลงชาติดังกล่าว




ในที่สุดรัฐบาลจึงได้มีคำสั่งประกาศให้มีการจัดประกวดเพลงชาติด้วยบทร้องอย่างใหม่ขึ้นโดยต้องเป็นบทร้องที่มีเนื้อหาปลุกใจ สมัครสมานสามัคคี และต้องไม่มีคำใดๆที่ส่อให้รู้สึกหรือทำให้เกิดทัศนคติในแง่ลบต่อระบอบการปกครองอย่างใหม่ซึ่งได้มีการประกาศให้มีการประกวดในปี พ.ศ. 2476 และต่อมาในปี พ.ศ. 2477รัฐบาลได้คัดเลือกบทร้องของขุนวิจิตรมาตราซึ่งเป็นการประพันธ์บทร้องใหม่และเพิ่มเติมในส่วนของบทร้องที่ประพันธ์โดยนายฉันท์ ขำวิไล เข้าไปด้วยซึ่งจากการประกวดเพลงชาติในครั้งนั้น สยามก็ได้มีเพลงชาติอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกโดยมีการประกาศไว้เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2477 ลงชื่อ นายพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"



10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"




10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"



10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"





แต่ด้วยเหตุที่คนไทยยังไม่คุ้นเคยกับเพลงชาติเหมือนอย่างที่คนเก่าคนแก่คุ้นเคยกับการฟังเพลงสรรเสริญพระบารมีในงานมหรสพต่างๆ จึงไม่ค่อยมีคนไทยในสมัยนั้นให้ความสนใจเพลงชาติเลยประกอบกับท่วงทำนองเพลงชาติก็ยังไม่ชินหู ทำให้สำนักงานโฆษณาการซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง (ปัจจุบันคือกรมประชาสัมพันธ์)จึงได้มีจัดการหารือและประชุมกันเพื่อแก้ปัญหาคนไทยไม่รู้จักเพลงชาติโดยมีการลงมติให้มีการทำแผ่นเสียงเพลงชาติขึ้นซึ่งถือเป็นการบันทึกเสียงเพลงชาติเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติสยามกันเลยทีเดียวและแผ่นเสียงเพลงชาตินี้ต้องส่งไปผลิตถึงประเทศเยอรมนี โดยบริษัทโอเดียน เรคคอร์ดโดยมีการบันทึกเสียงสองหน้า หน้าแรก เป็นเพลงชาติที่ประพันธ์บทร้องโดยขุนวิจิตรมาตราส่วนหน้าที่สอง เป็นเพลงชาติที่ประพันธ์บทร้องโดยนายฉันท์ ขำวิไล

10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"


10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"




10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"


ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว คนไทยก็ควรร้องเพลงชาติด้วยบทร้องดังกล่าวนี้จนถึงปัจจุบันแต่เนื่องจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีการประกาศนโยบายรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ว่าด้วยเรื่องการเปลี่ยนชื่อประเทศจากประเทศสยามเป็นประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ทำให้บทร้องเพลงชาติซึ่งมีคำร้องว่า "สยาม" ได้รับผลกระทบไปด้วย ทำให้สำนักโฆษณาการ(ในขณะนั้น) ได้ประกาศให้มีการประกวดบทร้องเพลงชาติขึ้นใหม่อีกครั้ง

10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"



10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"



10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"

ซึ่งการประกวดบทร้องใหม่ในครั้งนี้ พันเอกหลวงสารานุประพันธ์ได้ทดลองประพันธ์บทร้องเพื่อส่งเข้าประกวดในนามของกองทับบกและได้ทดลองร้องเพื่อให้สอดคล้องกับทำนองเพลงชาติของพระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร) ซึ่งใช้เป็นทำนองหลักสำหรับเพลงชาติมาแต่ต้นโดยมีการแก้ไข ปรับปรุงเพื่อให้มีถ้อยคำกระชับและได้ใจความจนกระทั่งมีการส่งบทร้องใหม่นี้เข้าประกวดในนามของกองทัพบกซึ่งมีคณะรัฐมนตรีเป็นกรรมการตัดสินผลปรากฏว่าบทร้องเพลงชาติของกองทัพบกได้รับการคัดเลือกต่อมารัฐบาลได้ประกาศให้ใช้บทร้องเพลงชาตินี้อย่างเป็นทางการใน วันที่10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 โดยให้ใช้ทำนอง (เดิม) ของพระเจนดุริยางค์ (ปิติวาทยะกร) และใช้ร้องเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ดังมีบทร้องดังนี้
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย
เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน
อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล
ด้วยไทยล้วนหมาย รักสามัคคี
ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด
เอกราชจะไม่ให้ใครข่มขี่
สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี
เถลิงประเทศชาติไทยทวี มีชัย ชโย


10 ธันวาคม ฉลองครบรอบ 81 ปี \"บทร้องเพลงชาติไทย\"




ต่อมาในปี พ.ศ. 2562 รัฐบาลได้จัดทำวีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติไทย (MV) เวอร์ชั่นแรกบนแผ่นดินรัชกาลที่ 10 และถือได้ว่าเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่วีดิทัศน์ประกอบเพลงชาติไทยได้ถูกนำเสนอด้วยความละเอียดสูงสุดถึงระดับ 4K โดยใช้ออกอากาศเพื่อให้คนไทยยืนตรงเคารพธงชาติในเวลาแปดโมงเช้า และหกโมงเย็นของทุกวัน