svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

คนเลี้ยงสัตว์ต้องระวัง! "ไข้กระต่าย" โรคร้ายที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

รู้จักกับโรค "ไข้กระต่าย" โรคติดเชื้อที่มีพาหะมาจากสัตว์เลี้ยงหน้าตาน่ารักอย่างกระต่ายหรือกระรอก ซึ่งผู้เลี้ยงต้องระวัง เพราะหากติดเชื้ออาจถึงกับเสียชีวิตได้

เพจเฟซบุ๊ก PDRC ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้โพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับ "ไข้กระต่าย" โดยระบุข้อความดังนี้...
ไข้กระต่าย (Rabbit fever)
ท่านเคยได้ยินหรือรู้จักโรคนี้หรือไม่ ไข้กระต่าย เป็นที่รู้จักกันดีคือโรคทูลารีเมีย (Tularemia)เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Francisella Tularensis หากติดเชื้ออาจถึงกับเสียชีวิตได้ หากท่านชอบเลี้ยงกระต่าย กระรอก หนู ก็ให้ศึกษาเชื้อและโรคนี้ไว้
โรคไข้กระต่ายหรือโรคทูลารีเมียนี้เป็นโรคที่พบได้ไม่บ่อย มีรายงานเคสน้อย ประเทศไทยเราเองเคยมีรายงานเคสแรกเมื่อนานมาแล้ว เมื่อปี 2551 พบที่ประจวบคีรีขันธ์ ผู้เสียชีวิตดังกล่าวเป็นเพศหญิง อายุ 37 ปี มีประวัติสัมผัสกระต่าย โดยติดเชื้อแบคทีเรีย F. tularensis
โรคทูลารีเมียเป็นโรคที่พบในสัตว์ฟันแทะ เช่น กระต่าย กระรอก หนู อาจพบในนก แกะ สุนัข และแมว มีพาหะคือ เห็บ หมัด ที่ดูดเลือดกระต่าย หรือสัตว์ฟันแทะที่มีเชื้อ แล้วกระโดดไปเกาะและกัดอีกตัวทำให้ติดเชื้อกัน
สามารถแพร่จากสัตว์สู่คนได้ จากการสัมผัสกับสารคัดหลั่งต่างๆของสัตว์ที่ติดเชื้อ ถูกเห็บและเหลือบกวางกัด การหายใจเอาเชื้อเข้าไป หรือดื่มน้ำที่มีการปนเปื้อน
ลักษณะอาการมีหลายรูปแบบ อาทิ แผลที่ผิวหนังบริเวณที่มีการติดเชื้อ อาการบวมและเจ็บที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้และขาหนีบ มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ และอ่อนเพลีย


ไข้กระต่ายชนิดต่อมน้ำเหลืองบวมมีอาการคล้ายไข้กระต่ายชนิดแผลที่ผิวหนังและต่อมน้ำเหลือง แต่ไม่มีแผล
ไข้กระต่ายชนิดตาอักเสบและต่อมน้ำเหลืองบวม จากการสัมผัสเชื้อแล้วนำมือมาเช็ดตาโดยที่ไม่ได้ล้างมือให้สะอาด ทำให้มีอาการปวดตา ระคายเคืองตา ตาบวม ตาอักเสบ ตาแดง มีขี้ตา ต่อมน้ำเหลืองบริเวณหน้าใบหูบวม
ไข้กระต่ายชนิดคอหอยส่วนบนอักเสบ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ส่งผลต่อปาก คอ และระบบทางเดินอาหาร มีอาการเจ็บคอ แผลในปาก อาเจียน ท้องเสีย มีไข้ ต่อมทอนซิลอักเสบ และต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอบวม
ไข้กระต่ายชนิดปอดบวม เกิดจากการสูดดมฝุ่นหรือละอองที่มีเชื้อแบคทีเรียปะปนอยู่เข้าไป เป็นประเภทที่รุนแรงที่สุด รวมถึงเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายผ่านกระแสเลือดไปสู่ปอด มีอาการไอแห้ง เจ็บหน้าอก หายใจลำบาก ทำให้เกิดโรคปอดบวม
ไข้กระต่ายชนิดไข้ไทฟอยด์ มีไข้ขึ้นสูง อ่อนเพลีย อาเจียน ท้องเสีย ม้ามโต ตับโต ปอดบวม เป็นประเภทที่รุนแรงและพบได้ยาก
การตรวจวินิจฉัย

  • แม้ว่าโรคนี้อาจรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากตรวจพบความผิดปกติได้เร็วและรับการรักษา ผู้ป่วยก็สามารถหายเป็นปกติได้
  • ลักษณะอาการคล้ายกันกับโรคอื่น ๆ จึงทำให้ยากต่อการวินิจฉัย ผู้ป่วยจึงควรแจ้งให้แพทย์ทราบ หากมีประวัติเลี้ยงกระต่าย หนู กระรอก ถูกเห็บหรือเหลือบกวางกัด หรือเคยสัมผัสกับสัตว์ที่ตายแล้ว
  • นำตัวอย่างเลือดหรือเสมหะ มาเพาะเชื้อ
  • การตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยา และทางชีวโมเลกุล
  • การรักษา
  • เชื้อไวต่อยา streptomycin, tetracycline, chloramphenicol, cipofoxin หรือ doxycyclin

  • การป้องกัน

  • กรณีท่านที่เลี้ยงสัตว์ฟันแทะ ไม่ควรตื่นตระหนกเกินกว่าเหตุ เพราะกระต่าย กระรอก หนูไม่มีเชื้อโรคนี้ทุกตัว สามารถเลี้ยงดูเล่นได้ เพียงแต่ควรซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และควรหมั่นรักษาความสะอาดสัตว์ อาหารสัตว์ รักษาโรคต่างๆและพาไปพบสัตวแพทย์เป็นประจำ
  • ล้างมือทำความสะอาดทุกครั้ง โดยเฉพาะมือที่มีบาดแผล หลังจากสัมผัสกับสัตว์
  • ไม่ควรคลุกคลี หรือกอดหอมสัตว์
  • การเลี้ยงในเชิงอุตสาหกรรมควรใส่รองเท้าบู๊ต เสื้อกาวน์ ถุงมือ และหน้ากากในการป้องกัน