svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ชี้ช่องทางจับโจรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

"ตะเวนโรงพัก" สัปดาห์นี้จะพาไปดูการทำงานด้านต่าง ๆ ของตำรวจ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ว่ามีหน้าที่รับผิดชอบงานอาชญากรรมด้านใดบ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้ประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อได้ทราบถึงช่องทางในการเข้าร้องทุกข์เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินคดี

ทุกวันนี้อาชญากรรมที่เกิดขึ้นในประเทศมีเพิ่มหลายรูปแบบ อาชญากรรมกทางเศรฐษกิจก็เป็นหนึ่งที่อาชญากรมักแฝงตัวอยู่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเองก็มีหน่วยงานที่รับผิดชอบทางด้านนี้โดยเฉพาะ คือ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ(ปอศ.) ที่มี พล.ต.ต.ไมตรีฉิมเฉิด นั่งเป็นผู้บังคับการ โดยแบ่งออกเป็น 5 กองกำกับการบวกกับ 1 กองอำนวยการอำนวยการ


เรามารู้จักหน้าที่ของแต่ล่ะกองกำกับเริ่มที่ กองกำกับการ 1ที่รับผิดชอบด้านทรัพย์สินทางปัญญา , กองกำกับการ 2 รับผิดชอบเกี่ยวการเรื่องภาษี , กองกำกับการ 3 รับผิดชอบด้านสินทรัพย์ทางดิติตอล เช่น หุ้น เงินสกุลดิจิตอล , กองกำกับการ 4รับผิดชอบเกี่ยวกับคดีฉ้อโกง และ ธุรกิจที่เป็นการสวมรอยจากบุคคลต่างด้าว หรือนอมินี , กองกำกับการ 5รับผิดชอบด้านการเงิน การธนาคาร หนี้นอกระบบ ส่วนกองกำกับการอำนวยการทำหน้าที่สนับสนุนทุกด้านให้กับกองบังคับการทั้งนี้ในแต่แต่ละกองกำกับจะดูคดีที่เกี่ยวข้องหน้างานตัวเองทั่วประเทศ


ทุกกองกำกับทำงานเหมือนแขนขาให้กับกองบัญชาการมีความสามารถเฉพาะด้านแตกต่างกันไป ในสัปดาห์นี้จะมาชำแหละหน้างานและผลงานของกองกำกับการ5 ที่มี พ.ต.อ.ภาดล จันทร์ดอน เป็นผู้กำกับการ

"แนวทางการบริหารงานนั้นมุ่งเน้นให้ตำรวจในกองกำกับทำงานในลักษณะเชิงรุก ซึ่งอาชญากรรมเกี่ยวกับสถาบันการเงินนั้นมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบใหม่อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นกรณีกระเป๋าเงินอิเล็คทรอนิกซ์ ช่องทางการชำระเงิน อีเพย์เม้นต์ ต่าง ๆ ตำรวจจึงเน้นในการสืบสวนจับกุมบรรดาเหล่ามิจฉาชีพสมัยใหม่"พ.ต.อ.ภาดล เล่าด้วยความมุ่งมั่น

ชี้ช่องทางจับโจรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ


พ.ต.อ.ภาดล เล่าต่อไปอีกว่า อย่างที่ผ่านมา ตำรวจกองกำกับการ5ได้จับกุมแอพลิเคชั่นปล่อยเงินกู้ซึ่งแรกเริ่มเดิมทีก็ไม่เคยพบเห็นมาก่อน แต่ก่อนคนปล่อยเงินกู้ก็จะเป็นพวกแก็งหมวดกันน็อกธรรมดา ซึ่งผู้กู้ยืม กับผู้ปล่อยเงินกู้ก็ต้องพบเจอหน้ากัน พอโลกมีวิวัฒนาการมีการพัฒนาขึ้น ทำให้ผู้กู้กับผู้ปล่อยเงินกู้ก็ไม่ต้องมาพบเจอหน้ากัน


สำหรับผลงานการจับกุมที่ผ่านมาของกองกำกับการ5มีน่าสนใจหลายคดี อาทิ

-จับกุม อดีตพนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง เอาบัตรเครดิตรจองเจ้านายตัวเองไปใช้ ซึ่งเมื่อยอดเงินที่ใช้ไปทางฝ่ายการเงินของบริษัทก็เป็นคนชำระให้ ระยะเวลา1ปี วงเงินที่ใช้ค่อเดือนละประมาณ5แสนบาท จนทำให้ได้รับความเสียหายประมาณ 6 ล้านบาท

-จับกุมพนักงานฝ่ายรับชำระเงินของบริษัทเครือข่ายให้บริการสัญญาณโทรศัพท์ ได้นำเอาข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของลูกค้า ไปสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ ทั้งสินค้าแบรนด์เนม สิ้นค้าจากต่างประเทศ แล้วนำมาจำหน่ายทางออนไลน์ ในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด มูลค่าความเสียหายรวมกว่า10ล้านบาท

ชี้ช่องทางจับโจรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ


-จับกุมขบวนแก็งปลอมแปลงบัตรอิเล็คทรอนิกซ์สัญชาติจีน พบของกลางบัตรอิเล็คทรอนิกซ์ปลอม จำนวน28ใบ เครื่องแสกนแม่เหล็ก

ชี้ช่องทางจับโจรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ


-จับกุมบัตรโลน นั้นคือแอพลิเคชั่นปล่อยเงินกู้นอกระบบ ที่มีดอกเบี้ยโหด

-จับกุมผู้ต้องหาชาวจีน ขบวนการเปิดแอพลิเคชั่นปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยโหด "ทรู แคช โปร"

ชี้ช่องทางจับโจรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ


นี่เป็นเพียงบางส่วนบางคดีที่หยิบยกขึ้นมาให้เห็นภาพว่าตำรวจกองบังคับการปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ มีหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งหากประชาชนตกเป็นเหยื่อเกี่ยวกับอาชญากรรมลักษณะนี้สามารถเข้าแจ้งความได้ที่นี้ เพื่อติดตามคนร้ายและทรัพย์สินคืนมา


สุดท้ายพ.ต.อ.ภาดล ฝากเตือนไปยังประชาชนว่า ตอนนี้เป็นห่วงหลัก ๆ อยู่2เรื่อง อย่างแรกที่มีประชาชนไปกู้ยืมเงินจากพวกแอพลิเคชั่นปล่อยเงินกู้นอกระบบ ซึ่งทำให้เหล่ามิจฉาชีพเข้าสู่ข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเบอร์โทรศัพท์ แล้วเวลาจะกู้เงินต้องถ่ายภาพบัตรประจำตัวประชาชนของตนเองส่งไปให้นั้น ทำให้สามารถนำไปใช้ก่อเหตุอาชญากรรมอื่น ๆ ได้ บางรายถูกนำข้อมูลเหล่านี้ไปตั้งวงแชร์ออนไลน์ กระทั่งต้องกลายเป็นผู้ต้องหา โดยไม่รู้ตัว อย่างไรก็ดีหากเดือดร้อนด้านการเงิน ขอแนะนำให้ไปใช้ในช่องทางที่ถูกต้องดีกว่า ถึงแม้แอพลิเคชั่นเหล่าจะได้เงินรวดเร็วทันใจ แต่ก็ไม่คุ้มค่ากับความสูญเสียที่จะเกิดขึ้น

ชี้ช่องทางจับโจรอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ

"ส่วนอีกเรื่องคือเรื่องของบัตรอิเล็คทรอนิกซ์ ที่น่าเป็นห่วงนั้น เวลาใช้บัตรเหล่านี้ตามสถานที่ต่าง ๆ ต้องไม่ให้คาดสายตา อาจตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพโดยไม่รู้ตัวได้เช่นกัน"พ.ต.อ.ภาดล กล่าวทิ้งท้าย