svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"เฉลิม" แจงยิบ ปมคดีบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส รัฐบาลลุงตู่เอื้อประโยชน์หรือไม่

ห่างหาย ไปนานกับ "เฉลิม" อยู่บำรุง ที่ล่าสุดเจ้าตัวได้โพสต์เฟซบุ๊ก ชี้แจงปมคดีบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ที่ นำเข้าบุหรี่หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากร ซึ่งตอนนี้ล่าสุด ศาลชั้นต้นได้ตัดสินปรับบริษัท ฟิลลิปมอร์ริส เป็นจำนวนเงิน 1,200 ล้านบาท จากฐานเดิม 25,000 ล้านบาทแล้ว

 

กราบเรียนพี่น้องประชาชนที่เคารพรักทุกท่าน


กระผม ร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง ได้ห่างหายจากพี่น้องไปนานพอสมควร เพราะไม่ได้เป็นผู้แทนราษฎรจึงเข้าไปแสดงบทบาทในสภาผู้แทนราษฎรไม่ได้ คงเฝ้ามองและติดตามการเมืองอย่างใกล้ชิด มาวันนี้ผมมีความดีใจที่ผมได้เป็นคนอภิปรายคดีบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส นำเข้าบุหรี่หลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรและสำแดงเท็จซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ แต่เป็นบริษัทของประเทศอเมริกา

 

\"เฉลิม\" แจงยิบ ปมคดีบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส รัฐบาลลุงตู่เอื้อประโยชน์หรือไม่

 

ซึ่งผมเป็นคนอภิปรายจนกระทั่งมีการฟ้องร้องกันมายาวนานบัดนี้ศาลชั้นต้นได้ตัดสินปรับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เป็นจำนวนเงิน 1,200 ล้านบาท จากฐานเดิม 25,000 ล้านบาท แต่เนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ได้ใช้มาตรการช่วยเหลือบริษัท ฟิลลิปมอร์ริส โดยนำร่างพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ไปแก้ไขในคณะสมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ทั้งๆที่รู้ว่าเมื่อแก้ไขกฎหมายแล้วภาษีจะถูกลด บริษัท ฟิลลิปมอร์ริสจะได้ประโยชน์ ซึ่งผมมีข้อเท็จจริงโดยย่อที่จะกราบเรียนท่านดังต่อไปนี้


กรณี บริษัท ฟิลิป มอร์ริส (ไทยแลนด์) ลิมิเต็ด จำกัด
บริษัทดังกล่าวนี้ นำเข้าบุหรี่แล้วสำแดงเท็จ เพราะบุหรี่ที่นำเข้ามีราคาแพง แต่สำแดงราคาถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรจึงมีการร้องทุกข์ดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส และได้มีการแต่งตั้งเป็นคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ โดยมีพนักงานอัยการ สำนักงานคดีพิเศษเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการสอบสวนด้วย ในชั้นต้นคณะกรรมการดีเอสไอและตัวแทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นควรสั่งฟ้องบริษัท ฟิลิป มอร์ริส ในความผิดฐานหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงค่าภาษีอาการ โดยสำแดงเท็จ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27


พนักงานสอบสวนคดีพิเศษส่งเรื่องไปที่สำนักงานอัยการคดีพิเศษ ซึ่งมีอธิบดีอัยการสำนักงานคดีพิเศษในฐานะตัวแทนจากสำนักงานอัยการ เข้าร่วมพิจารณาในคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งเคยมีความเห็นควรสั่งฟ้องในคณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษก่อนแล้ว แต่กลับมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เรื่องจึงไปที่คณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษเพื่อมีความเห็นแย้งตามกฏหมายอีกครั้งหนึ่ง แต่คณะกรรมการสอบสวนคดีพิเศษก็มีมติยืนยันตามความเห็นเดิมคือสั่งฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ในข้อหาฐานความผิดเดิม และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดชี้ขาด


ต่อมา ร้อยตำรวจเอกเฉลิม อยู่บำรุง สมาชิกพรรคเพื่อไทยได้เป็นผู้อภิปรายเรื่องนี้ในสภาฯ เป็นเวลา 2 ชั่วโมง เป็นที่สนใจของนักธุรกิจและประชาชนโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นกรณีที่ประเทศไทยได้รับความเสียหายอย่างมาก จึงมีการติดตามในเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด โดยอภิปรายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ในขณะคดีอยู่ในระหว่างการชี้ขาดของอัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส โดยให้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา เป็น 2 คดี


คดีแรก รวมราคาบุหรี่และค่าอากร 20,210,209,582.50 บาท


คดีที่สอง รวมราคาบุหรี่และค่าอากร 4,953,456,655.93 บาท


ต่อมามีการยึดอำนาจโดย คสช. ได้มีการเคลื่อนไหวจากฝ่ายรัฐบาลในขณะนั้นเพื่อแทรกแซงการดำเนินคดีของพนักงานอัยการ โดยมีนายวิษณุ เครืองามเป็นผู้ดำเนินการ


เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 ที่ทำเนียบรัฐบาลนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เรียกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าไปปรึกษาหารือที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีแนวโน้มจะทำอย่างไรก็ได้ เพื่อให้บรรเทาความเสียหายให้กับบริษัท ฟิลิป มอร์ริส แต่สุดท้ายการประชุมวันนั้นก็ยุติลง เพราะมีเจ้าหน้าที่ไม่เห็นด้วยหลายคน

 

\"เฉลิม\" แจงยิบ ปมคดีบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส รัฐบาลลุงตู่เอื้อประโยชน์หรือไม่


การกระทำในลักษณะเช่นนี้ยืนยันได้ว่า รัฐบาลแทรกแซงการทำงานของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะพนักงานอัยการซึ่งน่าจะเป็นความผิดต่อกฏหมาย ต่อมามีการปล่อยข่าวเป็นระยะๆ จากนายวิษณุ เครืองามว่า หากมีการดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอริส ต่อไปอาจจะเป็นปัญหาเกี่ยวกับ WTO อาจเป็นเหตุให้ประเทศไทยถูกฟ้องร้องได้


แต่สุดท้ายพนักงานอัยการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องก็ไม่ยินยอม เพราะยึดกฎหมายไทยเป็นหลัก เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการกีดกันทางการค้า เป็นเพียงกรณีบริษัท ฟิลลิป มอริส นำเข้าบุหรี่มาในประเทศไทยโดยการสำแดงเท็จ อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27


พนักงานอัยการจึงได้ยื่นฟ้องบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ต่อศาลอาญา เป็น 2 คดี1.คดีหมายเลขดำที่ อ.185/2559 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2559 รวมราคาบุหรี่และค่าอากร 20,210,209,582.50 บาท


2.คดีหมายเลขดำที่ อ.232/2560 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2560 รวมราคาบุหรี่และค่าอากร 4,953,456,655.93 บาท


รวมเป็นค่าบุหรี่และค่าอากรทั้งสิ้น 25,163,666,311.43 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้จะนำมาเป็นฐานคูณด้วย 4 ตาม พรบ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ซึ่งจะเป็นเงินค่าภาษี ค่าอากร ค่าปรับ รวมจำนวน 100,654,665,245.72 บาท


ในขณะที่คดีกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลนั้น นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือหารือถึงพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส โดยผ่านนายวิษณุ เครืองามรองนายกรัฐมนตรี


ครั้งที่ 1. เมื่อ 23 กรกฎาคม 2561 โดยระบุข้อพิจารณาว่า  ข้อพิพาทระหว่างไทยกับฟิลิปปินส์ที่เกี่ยวกับ WTO เกิดจากการที่กฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง อาทิ มาตรา 27 ของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ที่ใช้ถ้อยคำเปิดช่องให้ผู้บังคับใช้กฎหมายสามารถตีความไปในทางที่ไม่สอดของกับการประเมินราคาศุลกากรไทย อาจจำเป็นต้องพิจารณาทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การเปิดประเมินราคาศุลกากรของไทยสอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ


 

ครั้งที่ 2. เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2562 โดยระบุข้อพิจารณาว่า ขอให้อัยการสูงสุดพิจารณาทำให้คำสั่งไม่ฟ้องกลับมามีผลใหม่ยุตติการฟ้องคดีอาญากับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริสทบทวนการตีความและการบังคับใช้กฎหมายหากบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส แพ้คดีอาญาในไทยซึ่งในคดีใบขนสินค้าบุหรี่นำเข้าจากฟิลิปปินส์มูลค่าประมาณ 84,000 ล้านบาท ตามคำฟ้องของพนักงานอัยการ แต่ตามพระราชบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ฉบับใหม่ อัตราโทษปรับจะลดลงเหลือประมาณ 290-2,320 ล้านบาท


แต่อย่างไรก็ตามกระบวนการวิ่งเต้นช่วยเหลือบริษัท ฟิลลิป มอร์ริสซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาตามความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 ซึ่งอัตราโทษสูงปรับถึงสี่เท่าของราคาสินค้ารวมภาษี หลังจากนั้นมีที่ไทยการช่วยเหลือกันโดยนำเอา พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2496 มาตรา 27 เข้าที่ประชุม สนช.เพื่อแก้ไขให้บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เสียภาษีตามที่ศาลอาญามีคำพิพากษาแทนที่จะเรียกเก็บภาษีได้ หลายหมื่น ล้านแต่กลับเรียกเก็บได้เพียง 1,200 ล้าน ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวนี้ จำนวนเงินตรงตามเป้าหมายการช่วยเหลือบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ตามที่นายดอน ปรมัตถ์วินัยมีหนังสือแจ้งให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีทราบดังกล่าวมาแล้วเป็นที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวนี้ เป็นไปโดยประสงค์ต่อผลและเล็งเห็นผล เพื่อช่วยเหลือบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เพราะเหตุการณ์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้

 

ปรากฏว่ารัฐบาลวิ่งเต้นเพื่อช่วยเหลือจนกระทั่งมีการผลักดันการแก้กฎหมายให้ สนช แก้ไขเป็นประโยชน์กับบริษัท ฟิลิป มอร์ริส ได้สำเร็จ โดยไม่ได้คำนึงประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ ส่วนประเทศชาติจะได้รับความเสียหายถึง 9 หมื่นกว่าล้านไม่ให้ความสำคัญเลย


นอกจากนี้แล้ว ผลของการแก้ไขกฎหมายให้เป็นประโยชน์แก่คนโกงภาษีชาติดังกล่าวนี้แล้ว ในอนาคตประเทศไทยยังต้องเสียหายต่อไปอีกอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากสูญเสียรายได้จากคนโกงภาษีที่เดิมต้องเสียค่าปรับจาก 4 เท่า จากค่าสินค้ารวมค่าอากร แต่เมื่อแก้กฎหมายแล้วได้เพียงค่าปรับจากค่าอากรที่ค้างเท่านั้น การแก้กฎหมายเช่นนี้ ประเทศชาติไม่ได้รับผลประโยชน์แต่อย่างใด การเสียค่าปรับน้อยลงจากการแก้กฎหมายให้เสียค่าปรับน้อยลง มีแต่จะทำให้มีผู้สำแดงเท็จมากขึ้น ในอนาคตต่อเนื่องจากนี้มีแต่ทำให้ประเทศไทยได้รับความเสียหายฝในกรณีที่มีการสำแดงเท็จอย่างประมาณค่ามิได้ ซึ่งการกระทำของรัฐบาลนี้เป็นการกระทำที่เรียกได้ว่าขายชาติ เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นโกงชาติ


การกระทำของนายดอน ปรมัตถ์วินัย ซึ่งเป็นถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กลับมีความพยายามช่วยเหลือคนต่างชาติโกงภาษีของชาติบ้านเมือง โกหกเรื่อง บริษัท ฟิลลิป มอร์ริส นำเข้าบุหรี่โดยสำแดงภาษีเท็จว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับ WTO ซึ่งจากคำพิพากษาของศาลจะเห็นได้ว่าเป็นเรื่องที่ไทยถูกต่างชาติโกงภาษี ศาลจึงมีคำพิพากษาปรับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส

 

\"เฉลิม\" แจงยิบ ปมคดีบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส รัฐบาลลุงตู่เอื้อประโยชน์หรือไม่


เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะร้อยตำรวจเอก ดร.เฉลิม อยู่บำรุง อภิปรายเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ต่อมาเมื่อ นายวิษณุ เครืองาม ได้เป็นรองนายกรัฐมนตรี อ้างว่าบริษัทร้องขอความเป็นธรรมต่อพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายวิษณุฯ จึงเรียนหน่วยงานมาประชุมทั้งหมด 18 หน่วยงาน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 ซึ่งขณะนั้นคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาล นายวิษณุฯ ไม่มีอำนาจที่จะเรียกหน่วยงานเข้ามาประชุมเพื่อให้ความเป็นธรรมหรือช่วยเหลือใดๆ ก็ทำไม่ได้ถือว่าเป็นการแทรกแซงนอกจากนี้ ยังมี นายดอน ปรมัตถ์วินัย ทำหนังสือขอความเป็นธรรมถึงนายกรัฐมนตรีโดยผ่าน นายวิษณุ เครืองาม ถึงสองครั้ง


ครั้งที่ 1 วันที่ 23 กรกฎาคม 2561


ครั้งที่ 2 วันที่ 7 มีนาคม 2562


ซึ่งการกระทำเช่นนี้ไม่ใช่หน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแล้วอ้างเรื่อง WTO และรัฐบาลประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งความเป็นจริงแล้วบริษัท ฟิลลิปมอร์ริส เป็นของประเทศอเมริกา แต่มีฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และคดีนี้ นายวิษณุฯ พร่ำพูดตลอดว่าจะเป็นการขัดแย้งต่อ WTO ซึ่งความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องการกีดกั้นการค้าเป็นเรื่องของบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส นำสินค้าราคาแพงเข้ามาแล้วสำแดงเท็จว่าเป็นของถูกเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี


สุดท้ายจะเห็นว่ารัฐบาลพยายามช่วยเหลือ และใช้ สนช.เป็นเครื่องมือ ซึ่งความเป็นจริงย่อมรู้แล้วว่าอัยการดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส ถ้าแก้กฎหมายสำเร็จจะทำให้บริษัทเสียภาษีน้อยลงอย่างเทียบเคียงไม่ได้เรื่องนี้อาจจะต้องมีการร้องทุกข์ดำเนินคดี เพราะถือว่าประสงค์ต่อผลและเล็งเห็นผลที่จะก่อให้เกิดประโยชน์กับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส แล้ววันนี้ก็ต้องใช้ตามกฎหมายใหม่ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส จากประเทศอินโดนีเซีย ก็จะได้สิทธิ์เช่นเดียวกันแลในเร็ววันนี้ผมอาจจะแสดงความเห็นทางการเมืองมากขึ้น


ด้วยความเคารพรัก


จากผม ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง