เมื่อเวลา 18.00 น. วันที่ 15 เมษายน 2559 ที่โรงแรมแชงกรีล่าเชียงใหม่ ทางเนชั่นทีวีได้ประสานกับอาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและเวชศาสตร์ ซึ่งเป็นพระสหายของเจ้าชายรัชทายาทแห่งรัฐราชสถานโธละปุระ ประเทศอินเดีย พระนามมหาราชกุมารราณาศรีการัณทีป สิงห์ เพื่อข้อสัมภาษณ์ โดยเจ้าชายได้อนุญาตให้ทางให้เนชั่นทีวี สัมภาษณ์เป็นกรณีพิเศษ H.H. Maharajkumar Rana Shri Karandeep Singh Prince of Dholpur(มหาราชกุมารราณาศรีการัณทีป สิงห์)เจ้าชายรัชทายาทแห่งรัฐราชสถานโธละปุระ ประเทศอินเดีย เปิดเผยว่า
ประวัติของตนนั้น ไม่อยากเปิดเผยแต่ขอเป็นเรื่องส่วนตัว อยากจะบอกเพียงว่า ในอดีตอินเดียปกครองด้วยระบบกษัตริย์ พระอัยกาเป็นเจ้าผู้ปกครองรัฐพระองค์สุดท้ายก่อนระบบกษัตริย์จะหมดไป มีพระธิดาพระองค์เดียว คือพระมารดาของพระองค์ ทำให้พระองค์เป็นรัชทายาทแห่งรัฐราชสถานโธละปุระ ประเทศอินเดีย ปัจจุบันครอบครัวของพระองค์ใช้ชีวิตอย่างสามัญชน ยังคงต้องทำงานและทำธุรกิจ สมบัติบางส่วนได้คืนให้กับรัฐบาลอินเดียเป็นผู้ดูแล และบางส่วนได้เก็บไว้เพื่อต้องการอนุรักษ์ ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ สถานะที่ดำรงอยู่ ณ ปัจจุบันจึงถือเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ติดตัวมาเท่านั้น สำหรับเหตุการณ์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในโลกโซเซียล เชื่อว่าอีกไม่เกิน 15 วัน คนก็จะลืมและกลับมาใช้ชีวิตเหมือนปกติ
ส่วนเรื่องการฟ้อนเล็บส่วนตัวมองว่าเป็นโอกาสและประสบการณ์อันดีงามอย่างของชีวิตที่ได้ทำสิ่งนี้ และยินดีที่ได้เขาร่วมฟ้อนเล็บ เนื่องโอกาสเฉลิมฉลอง 2559 สมโภช 60 รอบนักษัตร 720 ปี เมืองเชียงใหม่ และมองว่าการแสดงออกนี้ ถือเป็นเรื่องที่งดงาม อีกทั้งยังได้ผลตอบรับที่ดีจากคนรอบข้าง รวมไปถึงมิตรสหาย และขอย้ำชัดว่า รู้สึกประทับใจมากที่ได้ฟ้อนเล็บในครั้งนี้ และมองว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากสำหรับนาฏศิลป์ไทย โดยเฉพาะการแสดงโขนและละคร เนื่องจากนาฏศิลป์ไทยมีความคล้ายคลึงกับการแสดงของอินเดีย โดยเฉพาะชุดการแสดงรามเกียรติ์ อันเป็นวรรณคดีสำคัญเรื่องหนึ่งของไทย ทั้งนี้สำหรับนาฏศิลป์ไทยนั้น รู้สึกประทับใจตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ยลโฉม และคิดมาโดยตลอดว่า หากมีโอกาสและเวลาจะหาเวลาร่ำเรียน กระทั่งได้สหายที่เชียงใหม่ ชัดชวนให้ร่วมเรียนการฟ้อนรำ รวมถึงแสดงการฟ้อนเล็บ และพบว่าสิ่งที่ทำอยู่เป็นความประทับใจและมีความสุขเป็นอย่างยิ่ง
ขณะที่ปัจจุบันตนได้กลายเป็นที่กล่าวขานถึง จากประชาชนชาวไทยนั้น บอกตามตรงว่า มีความรู้สึกหวาดกลัวเล็กน้อย เพราะโดยนิสัยส่วนตัวเป็นคนสบาย สามารถนั่งรถ ลงเรือ ขึ้นเครื่อง ขี่มอเตอร์ไซค์ ได้ดั่งคนปรกติทั่วไป และการที่กลายเป็นกระแสในสังคมคนไทยนั้น รู้สึกว่า ประชาชนชาวไทยน่ารักและให้เกียรติกันเป็นอย่างมาก อีกทั้งการเป็นบุคคลที่ประชาชนอยากรับรู้นั้น มองว่า อึดอัดเล็กน้อย แต่ท้ายที่สุดแล้วคนไทยน่ารักมากครับ
ดร.กษมา ประสงค์เจริญ ผู้อำนวยการวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จากกรณีที่ เจ้าชายแห่งรัฐ Rajasthan ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย H.H. Maharajkumar Rana Shri Karandeep Singh Sahib, Prince of Dholpur ที่เสด็จมาเชียงใหม่และเสด็จร่วมฟ้อนเล็บ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลอง สมโภช 60 รอบนักษัตร 720 ปี เมืองเชียงใหม่ จนเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในโลกโซเชียล และมีการวิพากษ์วิจารณ์กันถึงเจ้าชายในเรื่องของฐานันดรของเจ้าชาย
ตนเอง่ได้รับเสด็จเจ้าชายหลายครั้งทั้งจากเดินทางมาเป็นการส่วนพระองค์และเดินทางมาอย่างเป็นทางการ โดยมีทางกงสุลอินเดีย ประจำจังหวัดเชียงใหม่ ให้การรับรองทุกครั้งที่เสด็จมาที่เชียงใหม่ ปัจจุบันทางอินเดียไม่มีระบบกษัตริย์ หรือสุลต่าน แต่สมเด็จแม่ของเจ้าชายเป็นธิดาของเจ้าผู้ครองนครที่ทางอินเดียยังให้ความเคารพยกย่องอยู่ ทั้งนี้เจ้าชายโปรดที่จะเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ แต่เมื่อทางกงสุลทราบว่าจะเสด็จมาจะไปรับรองทุกครั้ง ซึ่งเจ้าชายได้รับการดูแลเป็นอย่างดี เพื่อดูแลรักษาความปลอดภัยรวมทั้งอำนวยความสะดวกให้กับเจ้าชาย ในส่วนของการศึกษาทางด้านนาฏศิลป์ เจ้าชายให้ความสนใจอย่างมาก โดยให้ความสนใจศึกษาและร่ำเรียนทางด้านโขน ซึ่งได้ฝึกเป็นพระราม นอกจากนั้นยังให้ความสนใจด้านประวัติศาสตร์ผ้าทอโบราณ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถอย่างสูงทางด้านนาฏศิลปะ และประวัติศาสตร์ จึงยืนยันได้ว่าท่านเป็นเจ้าชายจากอินเดียจริง
สำหรับการที่มีข่าวออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงฐานันดรของเจ้าชาย เป็นเรื่องที่คนทั่วไปไม่รู้ ซึ่งไม่สามารถที่จะห้ามไม่ให้พูดถึงได้ ซึ่งโดยปกติเจ้าชายไม่ชอบที่จะเสด็จอย่างเป็นทางการ แต่ชอบที่จะเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ จึงทำให้เกิดการเคลือบแลงสงสัยกันได้ ดร.กษมา กล่าว
ด้านนายวัลลภ นามวงศ์พรหม กรรมการสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จากการที่มีข่าวของเจ้าชาย แห่งรัฐRajasthan ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย H.H. Maharajkumar Rana Shri Karandeep Singh Sahib, Prince of Dholpur และได้เสด็จมาร่วมฟ้อนเล็บ เพื่อฉลองเชียงใหม่ 720 ปี โดยมีทางวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่เป็นผู้ฝึกซ้อมเพื่อร่วมแสดงฟ้อนเล็บ จนเป็นกล่าวถึงโดยทั่วไป ต่างวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นเจ้าชายจริงหรือไม่นั้น ยืนยันว่าเจ้าชายที่ได้รับการยกย่องจากทางอินเดีย แต่แต่ปัจจุบันได้ใช่ชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป และโปรดที่จะเสด็จเป็นการส่วนพระองค์ ซึ่งน่าจะเป็นเช่นเดียวกับเจ้านายฝ่ายเหนือของล้านนา ซึ่งมีเชื้อสายเจ้าผู้ครองนคร การเดินทางเข้ามาของเจ้าชายจึงได้รับการรับรองจากหน่วยงานต่างๆ ของจังหวัดเชียงใหม่
นาย Ranjeet Singh ประธานชมรมชาวอินเดีย เชียงใหม่ กล่าวว่า ในเรื่องเจ้าชายจากอินเดีย ที่มาเยือนเชียงใหม่ จากที่เคยไปร่วมงานเลี้ยงของกงสุลอินเดีย ได้รับการแนะนำจากท่านกงสุลอินเดียจังหวัดเชียงใหม่ ว่าเป็นเจ้าชายรัชทายาทแห่งโธละปุระ ประเทอิยเดีย ซึ่งไม่ได้ทำการสอบถามเพิ่มเติม รับทราบเพียงแต่ว่าป็นเจ้าชายรัชทายาทเท่านั้น ส่วนการเข้ามาฟ้อนเล็บที่จังหวัดเชียงใหม่ ทราบเพียงแต่ว่าทางกงสึลอินเดียจังหวัดเชียงใหม่ให้การรับรองอยู่