svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

โครงการ"ปลานิลจิตรลดา”ครบ50ปี จาก50ตัว สู่2แสนตันต่อปี สร้างรายได้กว่าแสนล้านบาท

ทำเนียบ/15มี.ค.59 --- ม.ร.ว.ดิศนัดดา เผยโครงการ ปลานิลจิตรลดา ครบ50ปี เริ่มต้นจาก "ในหลวง ทรงทดลองเลี้ยง 50 ตัว ปัจจุบันแจกปชช. 2 แสนตันต่อปี สร้างรายได้กว่าแสนล้านบาท

เมื่อเวลา 10.00 น. ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง และมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ กล่าวถึงนิทรรศการ 50 ปี ปลานิลจิตรลดา ที่จัดแสดงให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ชมที่ด้านหน้าตึกบัญชาการ1 ทำเนียบรัฐบาลว่า โครงการดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเลี้ยงปลานิลที่พระตำหนักจิตรลดา จากนั้นทรงรับสั่งให้กรมประมงโดยนายปรีดา กรรณสูต อธิบดีกรมประมงในขณะนั้น นำไปดำเนินการขยายพันธุ์ต่อ จนขณะนี้มีการแจกพันธุ์ปลาให้ประชาชนไปแล้วประมาณ 2 แสนตันต่อปี และลองคูณกับ 50-60 บาทต่อกิโลกรัม จะเท่ากับ 1 แสนล้านบาท ที่ทำให้ชาวบ้านมีรายได้และมีกิน ดังนั้นอย่ามองเผินๆและมองสั้นๆ ซึ่งนี่คือจุดเริ่มต้นที่ทรงทดลองเลี้ยง 50 ตัวเท่านั้น ดังนั้นเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องประชารัฐ แต่เป็น ราชาประชารัฐ
ม.ร.ว.ดิศนัดดา กล่าวชี้แจงกรณีที่ประชาชนมีความเข้าใจผิดว่าเป็นปลาพระราชทานแล้วไม่กล้านำไปรับประทานว่า นี่คือความเข้าใจผิดของประชาชน เพราะเราได้ปลาแล้วจะนำไปตั้งบนหิ้งพระไม่ได้ เพราะปลาจะตาย ดังนั้นเมื่อในหลวงทรงพระราชทานสิ่งของไปแล้วทรงต้องการช่วยชาวบ้าน ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยไม่ต้องไปซื้อกินและถ้าเหลือค่อยแบ่งปันหรือขายเพื่อเป็นรายได้ต่อไป

โครงการ\"ปลานิลจิตรลดา”ครบ50ปี
จาก50ตัว สู่2แสนตันต่อปี สร้างรายได้กว่าแสนล้านบาท


ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับที่มาของปลานิลจิตรลดา ระบุในเว็บไซต์ของกรมประมง www.fisheries.go.th โดยระบุว่า เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปลาน้ำจืดในตระกูลทิลาเปีย (tilapia) จำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำปลาดังกล่าวไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต

โครงการ\"ปลานิลจิตรลดา”ครบ50ปี
จาก50ตัว สู่2แสนตันต่อปี สร้างรายได้กว่าแสนล้านบาท



ต่อจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายปลาลงเลี้ยงในบ่อดิน และต่อมาในเวลาประมาณ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่าในบ่อที่เลี้ยงมีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อดินเพิ่มขึ้นเป็น 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2508 ได้ทรงปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่กรมประมงทำการตรวจสอบการเจริญเติบโตของปลาทุกเดือน ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า ปลาชนิดนี้เจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก มีขนาดเฉลี่ยถึง 178.8 กรัม ในระยะเวลา 6 เดือน

โครงการ\"ปลานิลจิตรลดา”ครบ50ปี
จาก50ตัว สู่2แสนตันต่อปี สร้างรายได้กว่าแสนล้านบาท


ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลูกปลาดังกล่าว ขนาดความยาว 35 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว จากบ่อดินในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา แก่กรมประมงเพื่อนำไปขยายพันธุ์ ณ แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลางบางเขน จังหวัดพระนครและสถานีประมงต่างๆ 15 แห่ง ทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้ดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน และได้พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า ปลานิล

โครงการ\"ปลานิลจิตรลดา”ครบ50ปี
จาก50ตัว สู่2แสนตันต่อปี สร้างรายได้กว่าแสนล้านบาท


เมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้ว กรมประมงจึงได้แจกจ่ายพันธุ์ปลานิลให้แก่ราษฎรเพื่อนำไปเพาะเลี้ยงตามความต้องการ และกรมประมงได้กำหนดให้วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2510 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดระยะเวลา 1 ปี 5 เดือน นับแต่วันที่กรมประมงได้รับพระราชทานปลานิลมาเป็นวันแจก ปลานิลพระราชทาน ให้แก่ราษฎร โดยในระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2510 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2513 รวมระยะเวลาประมาณ 3 ปี กรมประมงได้แจกจ่ายพันธุ์ปลานิลไปเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 5,093,900 ตัว

โครงการ\"ปลานิลจิตรลดา”ครบ50ปี
จาก50ตัว สู่2แสนตันต่อปี สร้างรายได้กว่าแสนล้านบาท


อนึ่ง หลังจากที่ได้พระราชทานปลานิลให้แก่กรมประมงเพื่อนำไปเพาะขยายพันธุ์แล้ว ยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรมประมงนำพันธุ์ปลานิลที่ทรงเพาะไว้ไปแจกจ่ายแก่ราษฎรอีกเป็นประจำทุกเดือน จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2512 รวมเป็นพันธุ์ปลาทั้งสิ้น 92,269 ตัว แม้กระนั้นก็ดี จำนวนพันธุ์ปลานิลที่ได้ยังไม่เพียงพอแก่ความต้องการของพสกนิกรที่ต้องการนำพันธุ์ปลานี้ไปเพาะเลี้ยง โดยเฉพาะที่แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลางบางเขน ได้มีราษฎรมาติดต่อขอรับพันธุ์ปลานิลเดือนละไม่ต่ำกว่า 100,000 ตัว ความทราบถึงใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อขนาดใหญ่ในสวนจิตรลดาเพิ่มขึ้นอีก 1 บ่อ เพื่อช่วยเร่งผลิตพันธุ์ปลานิลให้เพียงพอแก่ความต้องการของพสกนิกรของพระองค์ต่อไป

โครงการ\"ปลานิลจิตรลดา”ครบ50ปี
จาก50ตัว สู่2แสนตันต่อปี สร้างรายได้กว่าแสนล้านบาท


ต่อมาในปี พ.ศ.2527 ได้ทำการปรับปรุงบ่อให้มีขนาดใหญ่ขึ้นแต่จำนวนลดลงเหลือเพียง 7 บ่อ และได้ใช้ในการผลิตพันธุ์ปลานิล ซึ่งนับว่าเป็นปลานิลสายพันธุ์แท้พันธุ์หนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกในนามว่า ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา

โครงการ\"ปลานิลจิตรลดา”ครบ50ปี
จาก50ตัว สู่2แสนตันต่อปี สร้างรายได้กว่าแสนล้านบาท