svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กาฬสินธุ์-ประมงยันปลาหมอยักษ์เป็นของฟาร์มเมืองน้ำดำ

กาฬสินธุ์ - ประมงกมลาไสย ยันพันธุ์ปลาหมอเป็นของฟาร์มเมืองน้ำดำ ที่พัฒนาสายพันธุ์ร่วมกันกับฟาร์มเอกชนมาตั้งแต่ปี 2550 และยังเป็นฟาร์มและผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานปลอดภัย


กรณีมีภาพข่าวปลาหมอพันธุ์ยักษ์ของโปโลฟาร์มบนหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง แต่ถูกแอบอ้างว่าเป็นผลงานวิชาการของศูนย์พัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร ส่งผลกระทบต่อธุรกิจของฟาร์มนั้น
เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2558 ที่โปโลฟาร์ม เลขที่ 89 หมู่ 10 บ้านโปโล ต.กมลาไสย อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ นายธนูสินธุ์ ไชยศิริ นายอำเภอกมลาไสย พร้อมด้วยนายนิติพัฒน์ เตียนพลกรัง ประมง จ.กาฬสินธุ์ เดินทางเข้าไปพบกับนางนิตยา กัณฑิศักดิ์ เจ้าของโปโลฟาร์ม หลังมีภาพปรากฏโชว์ปลาหมอพันธุ์ยักษ์ของทางฟาร์มบนหน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง แต่ถูกแอบอ้างว่าเป็นผลงานวิชาการของศูนย์พัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำชุมพร

กาฬสินธุ์-ประมงยันปลาหมอยักษ์เป็นของฟาร์มเมืองน้ำดำ


นางนิตยา กัณฑิศักดิ์ กล่าวว่า ตลอด 10 ปี มีความพยายามพัฒนาสายพันธุ์ปลาใหม่ ๆ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาในพื้นที่ ทำให้พ่อค้าแม่ค้ามีรายได้เพิ่มขึ้น แต่มีภาพข่าวถูกกล่าวหาว่าหลอกลวงลูกค้า ส่งผลให้เกิดเป็นความเสียหาย เพราะลูกค้าเสียความเชื่อมั่น
นางเสาวลักษณ์ กล่าวว่า ยืนยันว่าฟาร์มโปโล ได้ร่วมวิจัยและทดลองการผสมพันธุ์ปลาหมอข้ามสายพันธุ์จริง โดยสำนักงานประมงอำเภอกมลาไสย ได้ให้ความรู้และส่งเสริมการพัฒนาสายพันธุ์ปลาหมอมาตั้งแต่ปี 2550 ทางฟาร์มให้ความร่วมมือ ทั้งเป็นวิทยากรเสริม เป็นแหล่งเรียนรู้การทำการประมง และนำพันธุ์ปลาหมอมาพัฒนาพันธุกรรมมื่อพัฒนาสำเร็จตั้งชื่อว่า สายพันธุ์โปโลฟาร์มกาฬสินธุ์เจ๊นิด ซึ่งได้ตั้งชื่อตามพื้นที่กำเนิดของสายพันธุ์ และเป็นเกียรติกับผู้ที่เสียสละตนเองศึกษาค้นคว้าวิจัยจนพบสายพันธุ์ปลาหมอยักษ์มีขนาด 800 กรัม ถึง 1 ก.ก.ใช้เวลาเลี้ยง 120 วันเท่านั้น และได้ยังได้รับมาตรฐานอาหารปลอดภัยของกรมประมงด้วย

กาฬสินธุ์-ประมงยันปลาหมอยักษ์เป็นของฟาร์มเมืองน้ำดำ


ปลาหมอสายพันธุ์โปโลฟาร์มกาฬสินธุ์เจ๊นิด เป็นที่รู้จักเป็นอย่างดีตามท้องตลาดว่ามีคุณสมบัติเด่นคือตัวใหญ่ หัวเล็ก ขึ้นสัน ต่างจากสายพันธุ์อื่น และออกจำหน่ายตามท้องตลาดทั้งที่เป็นปลาเนื้อและเป็นลูกปลาอย่างจริงจังในปี 2552 หลังจากพัฒนาสายพันธุ์จนนิ่งแล้ว เมื่อปีที่แล้ว เคยแนะนำให้ทางฟาร์มไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์ไว้ แต่ฟาร์มอยากให้เป็นวิทยาทานแก่สถาบันการศึกษาและนักศึกษาที่ยังหวังให้มีการพัฒนาต่อยอ นางเสาวลักษณ์กล่าว
นายธนูสินธุ์ กล่าวว่า ได้รายงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทราบ กรณีหาทางออกของปัญหาเป็นสิทธิของนางนิตยา ที่สามารถดำเนินการได้ตามดุลยพินิจของเจ้าของฟาร์ม เนื่องจากได้รับความเสียหาย และแนะนำให้ทางฟาร์มปลาจดลิขสิทธิ์ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเช่นนี้อีกทั้งนี้ เขต อ.กมลาไสย ถือเป็นพื้นที่ที่มีการเลี้ยงปลาหมอแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ