svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาหาร

‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่

พาชิมข้าวซอยฟิวชั่นเส้นราเมน ที่ ‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านลับฟีลคาเฟ่ริมแม่น้ำปิง จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมติดตามเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเมนูขึ้นชื่อเมืองเหนือ

วันหยุดช่วงเทศกาลปีใหม่ผ่านไปอย่างรวดเร็ว และแน่นอนว่าหนึ่งในสถานที่ที่นักท่องเที่ยวมุ่งหน้าไปมากที่สุดจนติดท็อป 5 ของประเทศไทย คือจังหวัดเชียงใหม่ เมืองแห่งล้านนาที่ยังทรงเสน่ห์และทรงคุณค่าทางวัฒนธรรม พร้อมพรั่งด้วยธรรมชาติ อากาศดี มีสิ่งศักด์สิทธิ์วัดวาอารามให้สักการะกราบไหว้เพื่อความเป็นสิริมงคล และที่หลายคนชื่นชอบคือเชียงใหม่เป็นเมืองที่อาหารอร่อยและมีเมนูขึ้นชื่อมากมาย โดยเฉพาะเมนูที่ใครไม่ได้กินเหมือนมาไม่ถึงอย่าง “ข้าวซอย”

‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่

ครั้งนี้เราพาไปเปิดประสบการณ์ชิมเมนูข้าวซอยสไตล์ฟิวชั่นกันที่ร้าน ‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านลับริมน้ำปิง ที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติ บรรยากาศนั่งสบายฟีลคาเฟ่ เปิดเป็นโอเพ่นแอร์ลับลมเย็นๆ มีเมนูอาหาร ของหวาน และขนม ตอบโจทย์คนชอบกินทั้งคาวหวาน ‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่

‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่ เมนูขึ้นชื่อของทางร้านยกให้เมนูข้าวซอยสไตล์ฟิวชั่นที่เลือกใช้เส้นราเมนแทนเส้นข้าวซอย ชุ่มฉ่ำด้วยน้ำซุปสุดกลมกล่อมเข้มข้น รสชาติค่อนข้างจัดจ้านแบบไม่ต้องปรุงเพิ่มก็ได้รสกำลังพอดี ออนท็อปด้วยเนื้อตุ๋นเปื่อยนุ่มๆ เสิร์ฟมาพร้อมเครื่องเคียงตามแบบฉบับต้นตำรับ ครบทั้งผักดอง หอมแดง มะนาว พริกคั่ว ปรุงรสได้ตามความชอบ

‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่ และที่ขายดีไม่แพ้กันคือ ข้าวซอยไก่ ใส่มาทั้งชิ้น เนื้อไก่นุ่ม มีความหอมกลิ่นย่างไฟนิดๆ เพิ่มอรรถรสแถมยกระดับให้ข้าวซอยไก่จานนี้ดูพรีเมียมขึ้น เหมาะเป็นเมนูรับแขกบ้านแขกเมืองในช่วงเปิดประเทศรับการท่องเที่ยวเลยทีเดียว 

 

 

 

‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่ ‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่ นอกจากนี้ ที่ร้าน ‘ข้าวซงข้าวซอย’ ยังมีเมนูเครื่องดื่มสมุนไพร และน้ำผลไม้โซดา รวมถึงเมนูอาหาร และของหวานอย่างอื่นไว้คอยบริการ สนนราคาเริ่มต้นเพียง 60 บาท แวะมาเชียงใหม่ก็ไปลิ้มลองเมนูข้าวซอยประยุกต์แบบนี้ได้ที่สี่แยกตลาดบ้านท่อ มุ่งหน้าไปทางบ้านเอื้ออาทรป่าตัน ริมท่าน้ำปิงวัดบ้านท่อ

‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่

พิกัด : Khao Song Khao Soi - ข้าวซง ข้าวซอย Chiang Mai 

เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 - 17.00 น.

สอบถามโทร. 095 740 0365

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Khao Song Khao Soi - ข้าวซง ข้าวซอย

 

 

 เปิดที่มาและประโยชน์ ‘ข้าวซอย’ เมนูขึ้นชื่อเชียงใหม่

นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่อาหารไทยได้รับการเผยแพร่ไปสู่นานาชาติและเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ซึ่ง "ข้าวซอย" ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งใน Soft power ด้านอาหารของประเทศ ที่จะนำความเป็นไทยไปสู่การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจ ซึ่งนอกจากข้าวซอยก็ยังมีอาหารอีกหลายประเภท เช่น ต้มข่าไก่ ต้มยำ เป็นต้น 

‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่

คำนิยามที่ได้ยินกันมาเนิ่นนานว่า “อาหารไทยอร่อยที่สุดในโลก”ไม่ใช่เรื่องเกินจริง

เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน ปี 2564  เว็บไซต์ซีเอ็นเอ็น หนึ่งในสื่อยักษ์ใหญ่ของโลกได้ประกาศรายชื่อ 50 อันดับ เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก (The World's 50 Best Foods) และผลที่ออกมาคือ ‘แกงมัสมั่น’ จากประเทศไทย ยืนหนึ่งในอันดับที่ 1 ร่วมกับ ‘ต้มยำกุ้ง’ และ ‘ส้มตำ’ ที่ถูกจัดให้อยู่ในอันดับที่ 8 และ 46

ล่าสุด เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม ปีที่ผ่านมา TasteAtlas เว็บไซต์รวบรวมสูตรอาหารและรีวิวจากนักวิจารณ์อาหาร รวมถึงบทความวิจัยเกี่ยวกับส่วนผสมและอาหารยอดนิยม โดยนำเสนอแผนที่อาหารทั่วโลกแบบอินเทอร์แอคทีฟ และเมนูประจำถิ่นในพื้นที่ต่างๆ ได้ประกาศรายชื่อ 100 อันดับอาหารประเภทซุปจากทั่วโลก และประเทศไทยก็ยืนหนึ่งอีกครั้ง

โดยครั้งนี้อันดับที่ 1 ตกเป็นของเมนู ‘ข้าวซอย’ เมนูที่เป็นดั่งซิกเนเจอร์ของทางภาคเหนือของไทย ด้วยน้ำซุปกะทิหอมๆ ที่ผสมผสานความพื้นบ้าน ในน้ำซุปมีจากส่วนผสมหลักคือ กะทิและพริกแกงแดง เสิร์ฟพร้อมกับบะหมี่ไข่เส้นแบน และเนื้อสัตว์ที่สามารถเลือกได้ แต่ที่นิยมหลักๆ ประกอบด้วย หมู ไก่ และเนื้อวัว ตกแต่งด้วยเส้นบะหมี่กรอบและผักโรย ซึ่งสามารถปรุงรสได้ด้วยมะนาวสด ผักดอง หอมแดง และพริกผัดน้ำมัน เป็นเมนูที่ชวนน้ำลายสุดๆ

สำหรับเมนู “ข้าวซอย” เป็นอาหารพื้นบ้านทางภาคเหนือ มีลักษณะคล้ายเส้นบะหมี่ในน้ำแกงกะหรี่ ที่มาของอาหารนี้ไม่แน่นอน แต่เชื่อกันว่ามาจากที่มาสองแหล่งคือ ได้รับอิทธิพลจากการค้าขายกับชาวจีนฮ่อ หรือได้รับอิทธิพลจากอาหารในประเทศพม่า

ความเชื่อที่ว่ามาจากวัฒนธรรมอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากการทำการค้าขายกับพ่อค้าชาวจีนฮ่อ หรือชาวจีนที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่มีถิ่นอาศัยอยู่ในมณฑลยูนนาน ชิงไห่ และก่านซู ของประเทศจีน หรือที่เรียกว่า จีนฮ่อ หรือแข่ฮ่อ (แข่ เป็นภาษาไต ใช้เรียกชาวจีน) ผู้อธิบายคำว่า “ฮ่อ” ไว้หลายทฤษฎี เช่น คำนี้มาจากคำว่า “หุย” ซึ่งเป็นภาษาจีน หมายถึงชนชาติที่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเป็นพวกมองโกลที่มาจากเอเชียตะวันตกและเอเชียกลาง ปัจจุบันคือประเทศคาซัคสถาน, กีรจีสถาน, ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน พวกเขาประกอบอาชีพค้าขายและขนส่ง

ก่อนปลายศตวรรษที่ 19 จีนฮ่อได้เปิดเส้นทางค้าขายระหว่างชุมชนแถบนี้กับมาตุภูมิของตน 3 เส้นทาง และเส้นทางที่ผ่านเมืองเชียงใหม่จัดเป็นเส้นทางหลักที่สำคัญและมีการตั้งถิ่นฐาน ภายหลังตั้งถิ่นฐานก็ประกอบอาชีพที่ตนถนัด คือทำการค้าขาย ส่วนหนึ่งก็ขายอาหาร เหมือนกับคนไทยที่ไปตั้งหลักแหล่งอยู่ต่างประเทศ อาชีพแรกๆ ที่มักจะทำคือเปิดร้านอาหาร ชาวฮ่อก็เปิดร้านข้าวซอย โดยสมัยนั้นเขาทำเส้นบะหมี่กันสด ๆ แล้วลงหม้อต้มเลย ด้วยกระบวนการเอา แป้งข้าวสาลี ไข่ เกลือ น้ำ มาผสมกันแล้วนวดจนเข้ากันดีแล้วกดรีดให้เป็นแผ่น ซอยแผ่นแป้งให้เป็นเส้น จึงเรียกว่า “ข้าวซอย” มาจนกระทั่งประมาณปี พ.ศ. 2475 ชุมชนเมืองเชียงใหม่มีขนาดโตขึ้นมาก มีตลาดวโรรส หรือที่คนเชียงใหม่เรียกว่า “กาดหลวง” เป็นตลาดกลางของเมืองเชียงใหม่ ตอนนั้นมีร้านข้าวซอยฮ่อร้านหนึ่งมาตั้งอยู่ทางหลังตลาดบริเวณแถวศาลเจ้ากวนอู ในตรอกข่วงเมรุ

ข้าวซอยสมัยนั้นเป็นอาหารที่มีลักษณะคล้ายเส้นบะหมี่ในน้ำซุป แต่เดิมข้าวซอยไม่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ เรียกว่าข้าวซอยน้ำใส ต่อมาได้มีการพัฒนาให้เข้ากับลักษณะความชอบของคนไทยมากขึ้นด้วยการเติมส่วนผสมของกะทิ พริกแกงข้าวซอยมีส่วนผสมของเครื่องเทศ เช่น เฉาก่อ จันทร์แปดกลีบ คัวเจียว โรยหน้าด้วยเส้นข้าวซอยทอดกรอบ กินกับเครื่องเคียงเช่น หอมแดงสดที่มีรสชาติเผ็ดร้อนแก้โรคไข้หวัด ผักกาดดองมีรสเปรี้ยว หวานตัดกับความหวานมันของน้ำแกง และพริกป่นผัดน้ำมัน พร้อมมะนาวฝาน เพื่อลดความมันของกะทิ ส่วนน้ำพริกข้าวซอยฮ่อ มีส่วนผสมของเครื่องเทศที่เรียกว่า ลูกชะโก ส่วนผักดองของแกล้มกันนั้นต้องดองเอง ใช้พริกป่นอย่างดี สั่ง รากซู (ผักที่มีหัวอยู่ใต้ดิน) มีเครื่องปรุงรส เช่น พริกผัดน้ำมัน น้ำมะนาว น้ำปลา น้ำตาล สำหรับตำรับดั้งเดิมเนื้อที่ใช้เป็นเนื้อไก่หรือเนื้อวัว แต่ในปัจจุบันร้านอาหารหลายแห่งได้มีการใช้เนื้อหมูแทน อาหารจานนี้มักไม่ค่อยมีจำหน่ายในร้านอาหารไทยในต่างประเทศ จะพบบ่อยก็แต่ทางภาคเหนือของไทย

อีกความเชื่อที่ว่า ข้าวซอยน่าจะได้รับอิทธิพลจากอาหารของพม่า ที่ประเทศพม่ามีอาหารเมนูหนึ่ง ชื่อว่า "อนโน เขาสะเว" (Ohn-No Khao Swe) เป็นอาหารจานเด่นของพม่า หน้าตาคล้ายข้าวซอย แต่ไม่ได้ใส่เครื่องเทศมากเหมือนของไทย เส้นก็คล้ายกันคือจะใช้เส้นที่ทำจากแป้งสาลี กินกับพริกแห้งคั่วน้ำมัน และโรยด้วยเส้นทอดกรอบ

จากการสืบค้นและรวบรวมจากหนังสือแล้วนำมาผนวกกับข้อมูลที่ได้จากการสอบถามจากคนเก่าแก่ในแต่ละพื้นที่โดย ออสติน บุช  ชี้ให้เห็นเบาะแสว่า ข้าวซอยในยุคนั้นเป็นเส้นหมี่ที่ทำจากข้าว ไม่ใช่จากเส้นหมี่ที่ทำจากข้าวสาลีและไข่ ราดด้วยเนื้อวัวบดที่ผัดกับผักดองต่างๆ ไม่ใช่ด้วยแกงเนื้อชิ้นใหญ่ๆ ที่เห็นในปัจจุบัน และคนขายข้าวซอยในปัจจุบันก็เห็นต้องกันว่า ข้าวซอยในยุคนั้นไม่ปรุงด้วยน้ำกะทิแบบที่เราคุ้นเคยในปัจจุบัน พร้อมกับตั้งข้อสังเกตถึงที่มาของคำว่า "ข้าวซอย" ว่า " น่าจะมาจาก ′เขาสะเว′ (Khao Swe) ปัจจุบันหมายถึง ′ก๋วยเตี๋ยว′ (Noodle) แต่ต้นกำเนิดของคำนี้เข้าใจว่าเป็นภาษาไทใหญ่ ที่อธิบายถึงวิธีการทำเส้นของสมัยก่อน จะเห็นได้ว่าที่เชียงใหม่มีข้าวซอยที่เรียกว่า ′ปาปาแซ′ (ที่ ′บ้านฮ่อ′ ถนนเจริญประเทศ 1 ย่านพักอาศัยของชาวจีนมุสลิม) จะปรุงโดยการนำข้าวไปต้มนานๆ จนเป็นก้อน แล้วนำมาหั่นเป็นชิ้นๆ"

ซึ่งเมื่อเอ่ยถึงกะทิ ออสติน กล่าวว่า นี่ก็เป็นอีกสิ่งที่แสดงถึงการเป็นวัฒนธรรมนำเข้า เพราะมะพร้าวไม่สามารถเจริญงอกงามได้ในภูมิอากาศของภูมิภาคนี้ "ผมว่าเขาเลียนแบบ อนโน เขาสะเว ของพม่า ที่มีการใส่กะทิ อาหารจานคาวของภาคเหนือแทบจะไม่มีสักอย่างที่ใส่กะทิ”

‘ข้าวซงข้าวซอย’ ร้านข้าวซอยลับริมแม่น้ำปิง เชียงใหม่ คุณค่าทางโภชนาการ (Nutrition Facts) ปริมาณสารอาหารในข้าวซอย 100 กรัม

ให้พลังงาน           138.11 กิโลแคลอรี

ไขมัน             13.55   กรัม

โปรตีน            2.64    กรัม

ใยอาหาร         2.82    กรัม

กรดไขมันอิ่มตัว  9.41    มิลลิกรัม